สุวรรณภูมิ
ยุคมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

สุวรรณภูมิยุคมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์


แผ่นดินสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งโบราณคดีที่พบว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่โลกดึกดำบรรพ์
ซึ่งมีการขุดพบซากหินของลิงดึกดำบรรพ์ คือลิงที่มีลักษณะคล้ายอุรังอุตัง ตั้งชื่อใหม่ว่า“สยามโมพิเคทัสอีโอซีนิค”
เป็นสายพันธ์เดียวกับมนุษย์วานรที่พบในชวาและปักกิ่ง ซึ่งอยู่บนโลกเมื่อประมาณ ๓๕–๔๐ ล้านปี เป็นหลักฐานสำคัญ
ชิ้นเดียวที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด


มนุษย์วานรที่เกิดขึ้นในสุวรรณภูมินั้นได้วิวัฒนาการมาจนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจทางโบราณคดี
ได้พบเครื่องมือหินและโครงกระดูกของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทย
ในระยะแรกได้แบ่งเป็นยุคสมัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตามเครื่องมือหิน ไว้ดังนี้


สมัยหินเก่า(Palaeolithic PeriodหรือOld Stone Age)ราว ๕๐๐,๐๐๐–๑๐๐๐๐

สมัยหินกลาง ( Mesolithic Period ) อายุ ๑๐,๐๐๐-๗,๐๐๐

สมัยหินใหม่( Neolithic Period หรือ New Stone Age)อายุราว ๗,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปี

สมัยโลหะ (METAL AGE) อายุ ๕,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี




<< ย้อนกลับ ต่อไป สมัยหินเก่า >>