สมัยโลหะ
สมัยโลหะ
(METAL AGE) อายุ ๕,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตรสมัยโลหะนั้น เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่ธาตุโลหะขึ้นมาจากดินและสกัดจากหิน
มาถลุงหลอมใช้ เช่น เหล็ก ทองแดง รู้จักที่จะนำโลหะหลายชนิด มาหลอมรวมกันด้วยความร้อนจนเกิดเป็นโลหะชนิดใหม่
ที่มีคุณสมบัติดีขึ้นกว่าเดิม คือ สำริด(หรือสัมฤทธิ์ ) ซึ่งเป็นโลหะผสมของทองแดง ๘๕% กับดีบุก ๑๕% และอาจมีตะกั่วปน
แทรกเข้าไปในบางครั้ง
คุณสมบัติของสำริดนั้นทำให้มนุษย์สามารถนำมาหล่อหรือทุบตีเป็นเครื่องมือสำริดได้ดีกว่า เหล็กที่ใช้อยู่เดิม
เครื่องมือสำริดจึงมีรูปลักษณะแตกต่างกันเช่นขวานทำเป็นบ้องสำหรับใส่ด้าม หอก กำไล เบ็ด ใบหอก ถ้วยหรือขัน
และกลองมโหระทึก ที่มีการสร้างตัวกบซ้อนกันและทำลวดลายบนตัวกลอง ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้สร้างเครื่องมือ
เครื่องใช้สำหรับบุคคลสำคัญของชุมชน ซึ่งจะพบว่ามีการทำลวดลายกำไล เครื่องประดับสำริดเช่น แหวน
ลุกกระพรวน ตุ้มหู เป็นต้น
ส่วนเครื่องมือที่ทำจากเหล็กนั้นยังนิยมใช้อยู่โดยการถลุงแร่เหล็กแล้วนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
โดยตรงเช่น ใบหอก ดาบ มีด ขวาน ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแกร่งกว่าสำริด และเหมาะสำหรับใช้งานล่าสัตว์มากกว่า
มนุษย์สมัยโลหะนิยมการฝังศพ โดยให้หันหัวไปทางทิศเหนือนอนหงายเหยียดตรง รู้จักขุดหลุมสร้างบ้าน
ใต้ถุนสูงมีหลักแหล่งที่อยู่ค่อนข้างถาวรไม่เดินทางร่อนเร่เหมือนมนุษย์สมัยเครื่องมือหิน รู้จักเก็บเมล็ดพันธ์สำหรับ
เพาะปลูกข้าวและปลูกฝ้ายในที่ลุ่ม รู้จักการทอผ้า การหล่อสำริด ทำลูกปัดจากหินเป็นเครื่องประดับ
ทำเครื่องปั้นมีลวดลายเขียนสีสำหรับใช้ในพิธีฝังศพ รู้จักเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร
แหล่งที่เป็นถิ่นฐานของมนุษย์สมัยใช้เครื่องมือโลหะในแผ่นดินไทยนั้นพบว่ามีอยู่หลายแห่ง ได้แก่
แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีพบโครงกระดูกของมนุษย์ที่มีอาวุธ กลองสัมริดและเครื่องประดับ
ที่ทำด้วยสำริด และพบโลงศพที่ขุดต้นไม้เป็นรูปเรือ ที่ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ และบ้านดอนตาเพชร
อำเภอพนมทวน (อายุราว ๔,๐๐๐ ปี)
จังหวัดลพบุรีพบแหล่งถลุงเหล็กและทองแดงโบราณหล่อขนาดใหญ่ ที่บ้านโคกเจริญ บ้านท่าแค
บ้านโนนป่าหวาย โนนหมากลา นิลกำแหง เขาวงพระจันทร์ บ้านถลุงเหล็ก บ้านดีลัง และที่อ่างเก็บน้ำพิบูลสงคราม
ซึ่งอยู่ในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี
จังหวัดอุดรธานีพบโครงกระดูก ภาชนะดินเผาลายเขียนสี เครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก ที่บ้านเชียง
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยได้พบที่ฝังศพบริเวณใต้ถุนบ้านหรือในบริเวณเดียวกับบ้าน
มีภาชนะดินเผาลายเขียนสี และเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก อยู่ในที่ฝังศพ พบกระดูกสัตว์ต่าง ๆ
กว่า ๖๐ พันธ์ เช่นปลา กบ เต่า หอย วัว ควาย เสือและเก้ง เป็นต้น
จังหวัดสกลนคร พบกำไล หัวลูกศร ขวานและกระดึงสำริดที่บ้านดอนธงชัยและบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดหนองคายพบแหล่งแร่ทองแดงที่ภูโล้น ริมแม่น้ำโขง อำเภอสังคม
จังหวัดมุกดาหารพบกลองมโหระทึกสำริด อายุราว ๒,๐๐๐ ปี ที่บ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล
จังหวัดขอนแก่นพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน ๒๑๗ โครง และเครื่องประดับเครื่องใช้ทำจากสำริดผสมดีบุก
เช่น กำไล ตุ้มหู ขวานมีบ้อง และเบ้าหลอมสำริดทำจากหินทราย อายุราว ๔,๕๐๐ ปี ที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก
อำเภอภูเวียง (มีแหล่งทำสำริดโบราณ อายุราว ๕,๐๐๐ ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ พบที่ ถ้ำงวงช้าง อำเภอเชียงดาว
จังหวัดราชบุรีพบที่บ้านโคกพลับ ตำบลโพธิ์หัก อำเภอบางแพ
นอกจากแหล่งสำริดดังกล่าวแล้วยังพบเครื่องมือรูปพร้าทำด้วยสำริดที่จังหวัดน่าน พบขวานสำริด
ที่จังหวัดเลยและพบกลองมโหระทึกสำริดที่บ้านชีทวน อุบลราชธานี อีกด้วย
ส่วนประเทศใกล้เคียงกันกับสุวรรณภูมินั้น ได้มีการสำรวจพบเครื่องใช้สำริดที่ชุมชนดองซอนในแคว้นตังเกี๋ย
ประเทศเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมดองซอน พบที่บริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว และพบในแคว้นเปรัก
ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเชื่อว่าอารยธรรมการใช้เครื่องมือสำริดนั้นได้เดินทางติดต่อถึงกันระหว่างดินแดนต่างๆ ได้
แหล่งโบราณคดีที่น่าเชื่อว่าเป็น ชุมทางการติดต่อของมนุษย์สมัยใช้เครื่องมือเหล็กมาจนถึง
สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘–๑๙ นั้นคือบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ที่กาญจนบุรี และเมืองสิงห์
<< ย้อนกลับ ต่อไป สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ >>