ถิ่นฐานบ้านเมืองโบราณ
เมื่อมนุษย์สมัยโบราณจับกลุ่มตามเผ่าพันธ์และสร้างกลุ่มพวกของตนจนเป็นปึกแผ่น การกำหนดสังคม
ตามเผ่าพันธ์โดยอาศัยความเชื่อและอำาควบคุมบ้านเมืองให้รวมตัวเป็นศุนย์กลางนั้น ทำให้เกิดสังคมเมืองและ
พัฒนาขึ้นเป็นอาณาจักรขึ้นในที่สุด ผู้ปกครองหรือผู้ควบคุมเผ่าพันธ์จึงพยายามนำสิ่งที่เป็นความเจริญมา
ใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างอาณาจักรให้กว้างใหญ่ไพศาล และแผ่อำนาจครอบครองแผ้นดินไปยังสังคมเมือง
ที่ด้อยกว่า ผู้นำของอาณาจักรนิยมจึงนิยมที่จะยึดเอาแบบอย่างจากประเทศที่เจริญมาก่อน โดยเฉพาะการนำ
ความเชื่อทางลัทธิศาสนาและวิทยาการความรู้ต่างๆมาเรียนรู้เพื่อปรับใช้ในบ้านเมืองของตน
การขยายอำนาจของผู้ครองอาณาจักรโดยการทำสงครามสู้รบแย่งชิงผู้คน และแผ่นอิทธิพลทางการเมือง
เข้าไปยังดินแดนอื่นนั้น ได้ทำให้ผู้คนล้มตายด้วยการแย่งชิงข้าวปลาอาหารและผู้คน และดินแดน
ทำให้เกิดความเดือดร้อนและผลัดเปลี่ยนอาณาจักรอยู่เสมอ อาณาจักรอิสระในสมัยโบราณจึงสามารถเกิดขึ้นได้
และล่มสลายไปได้เช่นกัน
ดังนั้นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากการสงครามและสร้างความปึกแผ่นให้อาณาจักรเป็นอิสระภาพ
อย่างมั่นคงนั้น ผู้ครองประเทศจึงใช้การปกครองด้วยหลักของศาสนา และพระธรรมนูญ บรรดานักปราชญ์
หลายประเทศต่างค้นหาหลักการปกครองและนำศาสนาธรรมมาควบคุมสังคมหรือบ้านเมืองให้อยู่ร่วมกันด้วยความสุข
การเผยแพร่ศาสนาและสร้างลัทธิความเชื่อต่างๆขึ้น จึงเป็นวิธีการหนึ่งของผู้เป็นต้นแบบอารยธรรมหรือ
ผู้ชนะนั้นใช้เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ในฐานะมีรูปแบบสังคมเดียวกันและคบค้าสมาคมร่วมกันค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
ให้ยั่งยืนนานขึ้น
อาณาจักรทั้งหลายจึงใช้ศาสนาเป็นหลักในการกำหนดสังคมชาติ ศาสนาที่สามารถเผยแพร่หลักธรรมหรือ
คำสั่งสอนไปยังดินแดนต่างๆนั้น มี ศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม เป็นต้น
ค่านิยมในศาสนานั้นได้เข้าไปมีบทบาทกับสังคมประเทศ ทำให้เกิดขนบประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
ที่เหมาะสมกับชนชาติที่นับถือ
เมื่อความเชื่อทางศาสนานั้นมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเช่นนี้ การเผยแพร่หลักธรรม
คำสั่งสอนของศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ จึงถือเป็นภาระกิจสำคัญของประเทศที่บันถือศาสนานั้นๆ เพราะการแผ่อำนาจ
โดยใช้ศาสนาเป็นหลักชัยนั้นสามารถสร้างสังคมเดียวกันได้กว้างไพศาล เป็นสังคมโลกที่มีศาสนาเดียวกัน
เป็นหลักเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กษัตริย์หรือผู้นำอาณาจักรที่ใช้ศาสนาเป็นหลักชัยในการปกครอง
ประเทศนั้นย่อมได้รับการยกย่องถึงความพระมหาจักรพรรดิ์ ที่สามารถแผ่ธรรมานุภาพและพระเดชานุภาพไปทั่วสารทิศ
จนโลกมีศาสนาที่นำไปสู่ความสุขทั่วกัน
ศาสนาที่ได้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนและใช้เป็นหลักชัยในการสร้างอาณาจักรนั้น มีหลายศาสนาและหลายลัทธิ
สำหรับศาสนาที่สำคัญนั้นได้แก่
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่กำเนิดในอินเดียและเผยแพร่หลักธรรมไปยังดินแดนต่างๆในทวีปเอเซียและ
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสดาของศาสนานั้นคือ สมเด็จสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้อริยสัจจสี่ และ
ประกาศศาสนาไปทั่วโลก
สมเด็จสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโทธนะ
และพระนางสิริมหามายาแห่งแคว้นกบิลพัสด์ ประเทศอินเดียหรือชมพูทวีปประสูติที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาลเมื่อ ๘๐ ปี
ก่อนพุทธกาล (เมื่อ ๖๒๓ ปีก่อนคริสตกาล) เจ้าชายพระองค์นี้ได้หนีออกบวช และบำเพ็ญทุกข์กริยา
ศึกษาธรรมเพื่อหาทางพ้นทุกข์จนค้นพบอริยสัจจ ๔ โดยทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองจนสำเร็จพระโพธิญาณ
เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตำบลพุทธคยา ต่อมาพระพุทธองค์ได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอนให้ผู้นับถือ
ได้ทำความดี ละเว้นความชั่วและทำใจให้บริสุทธิ์
หลักธรรมคำสั่งสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้านั้นคือ อริยสัจ๔ หรือความจริง ๔ ประการนั้น ได้แก่
๑.ทุกข์ คือสิ่งที่ไม่พึงพอใจทำให้เกิดการเศร้าโศกเสียใจ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
๒.สมุหทัย คือสาเหตุแห่งทุกข์หรือตัณหา ประกอบด้วยความอยากในความรักความใคร่
ความอยากเป็นอยากได้และความไม่อยากเป็นไม่อยากได้ไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
๓. นิโรธ คือ ทางดับทุกข์โดยดับที่ต้นเหตุแห่งทุกข์
๔. มรรค คือ ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุแห่ง ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๘ อย่างคือ เห็นชอบ
ดำริชอบ เจรจาชอบ พยายามชอบ เลี้ยงชีพชอบ ทำการงานชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ
หลังจากพระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์จึงเสด็จดับขันท์ปรินิพาน ที่เมืองกุสินารา
คือ วันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง เมื่อพระพุทธองค์มีพระชนได้ ๘๐ พรรษา วันนั้นจึงเริ่มนับเป็นปีเริ่มต้นพุทธศักราช
ดังนั้นแต่ละศาสนาจึงมีศักราชใช้ประจำศาสนา เมื่ออาณาจักรใดนับถือศาสนาใดก็สร้างศักราชตามศาสนาที่นับถือ
ซึ่งมีการเทียบศักราชกัน ดังนี้
พุทธศักราช นั้นนับหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเป็นปีเริ่มต้น และเกิดก่อนคริสตศักราช ๕๔๓ ปี
พุทธศักราชจึงมากกว่าคริสตศักราช ๕๔๓ ปี
จุลศักราช นั้นนับตั้งแต่สังฆราชบุพสโรหันครองประเทศพม่าเป็นปีเริ่มต้น จุลศักราช เกิดหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี
ดังนั้นพุทธศักราชจึง มากกว่า จุลศักราช ๑๑๘๑ ปี
สำหรับอาณาจักรสยามนั้นได้สร้างศักราชของรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มนับปีสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อพ.ศ.๒๓๒๕
เป็นปีเริ่มต้นรัตนโกสินทร์ศก พุทธศักราชจึงเกิดก่อน รัตนโกสินทร์ศก ๒๓๒๕ ปี
คริสต์ศาสนา
คริสต์ศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในอิสราเอล มีพระเยซู เป็นศาสดา ต่อมาอาณาจักรในทวีปยุโรปได้นับถือ
และเผยแพร่คริสตศาสนานี้ไปยังดินแดนต่างๆที่เดินทางไปติดต่อค้าขาย
เมื่อวันที่๒๔ ธันวาคม ปีที่ ๔ ก่อนคริสตกาลนั้น พระเยซูได้ประสูติที่เมืองเบธเลเฮม และได้ดำเนินชีวิตเผยแพร่
คำสั่งสอนอยู่ทางภาคเหนือของประเทศปาเลสไตน์ปัจจุบัน ตั้งแต่ปีพ.ศ.๕๗๐–๕๗๒( ค.ศ.27-29)
พระเยซูทรงสั่งสอนสานุศิษย์โดยมีหลักสำคัญหลายประการ เช่น จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านต้องการให้เขาปฏิบัติต่อท่าน
จงอภัยและให้ความรักต่อศัตรูของท่าน จงรักกันฉันพี่น้อง จงมีความเมตตาต่อผู้อื่น จงตอบแทนความชั่วด้วยความดี
จงมีความหักห้ามใจตนเอง จงอย่าโลภและอย่าเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก และ จงอย่าบูชารูปเคารพใด ๆ นอกจากพระเจ้า
พระเยซู ผู้นำคริสตศาสนานั้นภายหลังได้ถูกพวกโรมันจับกุมและตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์ที่เนินเขา
ใกล้กรุงเยรูซาเล็มใน พ.ศ.๕๗๒(ค.ศ.29) ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้๓๒ ชันษา
ต่อมาพ.ศ.๑๖๓๙–๑๗๙๕( ค.ศ.1096-1252)ได้เกิดสงครามครูเสดระหว่างพวกนับถือคริสต์กับ
พวกอิสลามในยุโรป ต่างยกกำลังเข้าไปแย่งชิงกรุงเยรุซาเล็ม ถือเป็นสงครามศาสนาครั้งแรก
ในระยะแรกนั้นคริสตศาสนาได้มีบาดหลวงเผยแพร่ศาสนาคริสตัง ต่อมาได้มีนิกายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย
นิกายที่สำคัญได้แก่ นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรแตสแตนส์ เป็นต้น
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในเอเซียกลาง และได้เผยแพร่ไปยังชนชาติมุสลิม ศาสดาของศาสนาคือ
พระมะหะหมัด
พระนาบีมูฮัมมัด ประสูติใน พ.ศ.๑๑๓(ค.ศ.570) ได้ประกาศศาสนาอิสลามขึ้น โดยมีพระคัมภีร์อัลกุรอาน
เป็นหลักสำคัญ ศาสนาอิสลามนั้นแบ่งออกหลายนิกาย เช่น นิกายชีอะห์(Shiites) นับถือกันในประเทศอิหร่าน อิรัค
อินเดีย ปากีสถาน ส่วนนิกายสุหนี่(Sunnites) แพร่หลายในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
พระคัมภีร์อัลกุรอาน(หรือพระคัมภีร์โกหร่าน)นี้ เป็นพระคัมภีร์ที่รวบรวมหลักคำสั่งสอนและจารีตประเพณี
ที่อิสลามิกชนพึงปฏิบัติ คือนับถือพระอัลลอฮ์เป็นพระเจ้าองค์เดียว โดยทำการสวดมนต์วันละห้าครั้ง
ถือบวชโดยอดอาหารและน้ำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกในเดือนรอมมะดอน ให้ทานผู้ขัดสนยากไร้
และไปนมัสการประกอบพิธีฮัจญ์ที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์กรุงเมกกะอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
ศักราชอิสลามหรือศักราชฮิชรา นับตั้งแต่พระมะหะหมัด เสด็จหนีออกจากเมืองเมกกะ
ตรงกับพุทธศักราช ๑๑๖๔ เป็นปีเริ่มต้นศักราช
นอกจากศาสนาสำคัญนี้แล้ว ยังมี ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู และลัทธิไวณพนิกาย
ที่มีแหล่งกำเนิดจากอินเดีย ศาสนาเชน ลัทธิของจื๊อ ลัทธิเต๋า จากจีน เผยแพร่เข้ามายังดินแดน
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ดังนั้นดินแดนสุวรรณภูมิจึงผสมผสานการนับถือจากศาสนาหลักแล้วยังมี
ความเชื่อจากศาสนาต่างๆ เช่น พราหมณ์ ฮินดู เต่า ขงจื๊อ ด้วย เป็นการสร้างอาณาจักรด้วยศาสนา
ที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่ในสมัยนั้นๆ โดยเฉพาะ อารยธรรมของอินเดียที่มีอิทธิพลค่อนข้างสูงในดินแดนสุวรรณภูมิ
<< ย้อนกลับ ต่อไป อารยธรรมอินเดียโบราณ>>