ความสัมพันธ์ของ
อาณาจักรขอม และ เจนละ

ความสัมพันธ์ของอาณาจักรขอมและเจนละ

(พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๙)


อาณาจักรเจนละ หรือเจิ้นละ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาจักรหลินยี่(จามปา)

ปัจจุบันนี้คือประเทศกัมพูชาและดินแดนภาคอิสานตอนใต้ของประเทศไทย แถบลุ่ม

แม่น้ำมูล ซึ่งเป็นพิ้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ เดิมนั้นอาณาจักรเจนละ

เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาได้มีกำลังกล้าแข็งจึงประกาศอิสรภาพใน

พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เจ้าชายจิตรเสน แห่งอาณาจักรเจนละ(ต่อมาครองราชย์เป็นพระเจ้า

มเหนทรวรมัน)ได้ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรฟูนัน แถบฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล

ในระหว่าง พ.ศ. ๑๑๑๐–๑๑๕๐ ในสมัยนั้นพระโอรสของพระองค์คือพระเจ้าอิศานวรมัน

ได้ทำการปราบปรามและครอบครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันได้ทั้งหมด ทรงตั้ง

เมืองอิศานปุระ ขึ้นทางเหนือของเมืองกัมปงธม โดยมีปราสาทสัมโบร์ไพรกุกเป็น

สัญลักษณ์ชนชาติเจนละ เป็นต้นตระกูลของเขมรโบราณหรือขอม พลเมืองของ

อาณาจักรเจนละประกอบด้วยชนเผ่าขอมในเขมร และขอมที่อพยพมาตามลำแม่น้ำโขง

กับพวกจามจากเมืองจำปาศักดิ์ ชนชาตินี้ได้รับวัฒนธรรมสืบมาจากอาณาจักรฟูนัน

เช่น การสร้างวัดบนภูเขา การใช้น้ำเพื่อการเกษตร และลัทธิที่นับกษัตริย์นั้นเป็นผู้แทน

อารยธรรมจากอินเดีย อาณาจักรเจนละ ตั้งศูนย์กลางอยู่ตอนเหนือของทะเลสาปเขมร

มีเมืองหลวงอยู่ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน ชนชาติเจนละแบ่งออกเป็นสองพวกคือ

พวกเจนละบก อยู่ในที่สูง อยู่บริเวณดินแดนลาวตอนใต้ เช่น เมืองโคตรบอง

เมืองเศรษฐปุระ(บริเวณปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก) เมืองสุวรรณเขต แขวงท่าแขก

ประเทศลาว ลงมาถึงแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ส่วนพวกเจนละน้ำ

อยู่บริเวณทะเลสาปเขมรประกอบด้วย เมืองสวายเรียง เมืองกระเตี้ย และเมืองเสียมราฐ

เมืองศรีมโหสถ(อยู่ในอำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี)

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๗อาณาจักรขอมมีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วแหลมทองหรือ

ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีการสร้างปราสาทหินขึ้นตามยุคสมัยไว้หลายแห่ง เช่น

ปราสาทภูมิโปน ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (สมัยสัมโบร์ไพรกุก

อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒) ปราสาทสังข์ศิลปชัย ที่ ต.บ้านจารย์ อำเภอสังขะ

จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเขาน้อยตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

(สมัยไพรกะเม็ง อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓) ปราสาทเขาพระวิหาร

ใกล้จังหวัดศรีสะเกษ(พุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑) ปราสาทเมืองต่ำที่

จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖) ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา

(ศิลปะปาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ปราสาทพนมรุ้งที่

จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่๒) ปราสาทเมืองสิงห์

ที่กาญจนบุรี(พุทธศตวรรษที่ ๑๘) นอกจากนี้ยังมีปรางค์สามยอด ที่ลพบุรี

เมืองศรีเทพที่เพชรบูรณ์ และเมืองศรีวัตสะปุระ ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีอีกด้วย

อาณาจักรขอมที่เคยยิ่งใหญ่นี้ได้เสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยชนชาติไทย

มีผู้นำคนสำคัญคือ ขุนบางกลางหาว และขุนผาเมือง ทำการร่วมกันยึดอำนาจจากขอม

ที่เมืองสุโขทัยและครองดินแดนบางส่วนของขอมไว้ ยุคสมัยของอาณาจักรเจนละและ

อาณาจักรขอม


สมัย ประมาณ พ.ศ. กษัตริย์สำคัญ

อาณาจักรเจนละ

พนมดา ๑๑๐๐–๑๑๕๐

สัมโบร์ไพรกุก

(อิศานปุระ) ๑๑๕๐–๑๒๐๐

ไพรกะเม็ง ๑๑๘๐–๑๒๕๐

กำพงพระ ๑๒๕๐–๑๓๕๐

กุเลน ๑๓๗๐–๑๔๒๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒

พะโค ๑๔๒๐–๑๔๔๐ พระเจ้าศรีอินทรวรมันที่ ๑

อาณาจักรขอมโบราณ( เมืองพระนคร)

บาเค็ง ๑๔๔๐–๑๔๗๐ พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑

เกาะแกร์ ๑๔๗๐–๑๔๙๐

แปรรูป ๑๔๙๐–๑๕๑๐

บันทายศรี ๑๕๑๐–๑๕๕๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕

คลัง ๑๕๑๐–๑๕๖๐ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑

ปาปวน ๑๕๖๐–๑๖๓๐ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒

นครวัด ๑๖๕๐–๑๗๒๐ พระเจ้ายะโสวรมันที่ ๒

บายน ๑๗๒๐–๑๗๘๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒

พ.ศ. ๑๓๕๕ พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๓๔๕–๑๓๙๓) ทรงรวบรวมดินแดน

ที่เคยเป็นเจนละบกและเจนละน้ำ สถาปนาอาณาจักรเจนละเป็นอิสระจากราชวงศ์

ไศเลนทร์ในชวา พ.ศ. ๑๔๓๒ พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๓๒–๑๔๔๓)

ทรงสร้างเมืองยโสธรปุระ เป็นเมืองหลวง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครธม หรือ

พระนครหลวงหรือพระนคร พุทธศตวรรษ ๑๕–๑๖ ได้มีการบูรณะปราสาทตาเหมือนธม

ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒

พ.ศ. ๑๕๘๒ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๕๔๕–๑๕๙๓) แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ

ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา ทรงขยายอำนาจมายังดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยยึดครอง

ดินแดนอาณาจักรทวารวดีไว้ราว พ.ศ.๑๕๘๕ ทรงสร้างปราสาทเขาพระวิหารขึ้นบนภูเขา

ห่างจากนครหลวงเกือบ ๓๐๐ กิโลเมตร (ปัจจุบันเขาพระวิหารนี้อยู่ในเขตเขมร

ใกล้อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงสร้างปราสาทหิน

สระกำแพงใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ หลังจากที่

พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ สวรรคตลง อาณาจักรขอมโบราณก็อ่อนแอลง พระเจ้าอนิรุทธ์

กษัตริย์ของพวกมอญจากพุกาม ได้แผ่อำนาจมาครอบครองดินแดนอีสานปุระ

ไปถึง คอคอดกระ

พ.ศ. ๑๖๒๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงสร้างปราสาทนครวัด และสามารถเอาชนะ

อาณาจักรจามปา แล้วขยายอิทธิพลมาทาดินแดนอิสานปุระ(ปัจจุบันคือภาคตะวันออก

เฉียงเหนือของไทย) พ.ศ.๑๖๓๙–๑๘๑๓ เกิดสงครามครูเสดในยุโรป เนื่องจาก

พระสันตปาปา ได้ชักชวนชาวคริสต์จากประเทศต่าง ๆ ยกทัพไปตีเมืองเยรูซาเล็ม

ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระเยซู พ.ศ. ๑๖๕๑ มีการสร้างปราสาทหินพิมาย เป็นวัดใน

พระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ศิลปะแบบปาปวน คล้ายกับที่ปราสาทหินนครวัด

มีการสลักหินแบบพุทธศาสนานิกายมหายานไว้ด้วย นับเป็นปราสาทหินที่มีขนาด

ใหญ่โตมาก พ.ศ.๑๖๕๕( ค.ศ.1112 ) สมัยพระเจ้ายะโสวรมันที่ 2 นั้นได้ มีการขยาย

อาณาเขตไปทางตะวันตกถึงดินแดนอาณาจักรมอญทวารวดี ดินแดนสุวรรณภูมิ

ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และทำการต่อสู้รุกรานพวกจามที่เป็นเพื่อนบ้าน

พ.ศ.๑๗๒๐ อาณาจักรเขมรอ่อนแอลง จึงทำให้พวกจามปาเข้ายึดทำลายเมืองหลวง

ยโศธรปุระของอาณาจักรขอมได้ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ได้ยกกำลังเข้าสู้รบจนมีชัยชนะพวกจาม และสู้รบกับพวกดายเวียด นับเป็นสมัยที่

อาณาจักรเขมรได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กลับคืนมา พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ทรงสร้างเมืองพระนคร(นครธม) และปราสาทบายนขึ้นแทนเมืองยโศธรปุระ

ที่ถูกพวกจามปาทำลาย พ.ศ. ๑๗๓๔ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์องค์สุดท้าย

ของเมืองพระนคร ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ขึ้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระนครหลวง

พระองค์ให้สร้างศิลาจารึกสำคัญไว้ที่ปราสาทนี้ด้วย คือจารึกปราสาทพระขรรค์

ซึ่งมีข้อความกล่าวถึง พระพุทธรูปชัยพุทธมหานาถ จำนวน ๒๓ องค์

ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างแล้วส่งพระราชทานไปประดิษฐานตามเมืองต่าง ๆ

เช่น นครชัยศรี (ศรีวิทยาปุระ) ลพบุรี(ลโวทยะปุระ) สุพรรณบุรี (สุวรรณปุระ)

ราชบุรี (ชัยราชปุระ) เพชรบุรี (ศรีชัยวัชรปุระ) และเมืองสิงห์ เป็นต้น

จารึกปราสาทพระขรรค์แห่งนี้ยังได้ระบุถึงที่พักคนเดินทาง(ผู้จาริกแสวงบุญ) ๑๒๑ แห่ง

ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางเดินที่มีอยู่ในอาณาจักรขอม (คล้าย

ที่พักม้าใช้ ส่งหนังสือของจีน) ๕๗ แห่ง คืออยู่บนถนนจากเมืองพระนครหลวง

ไปราชธานีของราชอาณาจักรจามปา ๑๗ แห่ง อยู่บนถนนจากยโสธรปุระ

ไปปราสาทหินพิมาย (ค้นพบแล้ว ๘ แห่ง) และอีก ๔๕ แห่งบนเส้นทางเดินไปตาม

เมืองต่างๆ ซึ่งบางแห่งยังหาไม่พบว่าอยู่ที่แห่งใด (เช่นปราสาทตาเมือน อำเภอกาบเชิง

จังหวัดสุรินทร์) นอกจากนี้จารึกปราสาทพระขรรค์ ยังระบุด้วยว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ทรงให้สร้างสถานพยาบาล ๑๐๒ แห่ง (อโรคยาศาล)ทั่วราชอาณาจักรขอม(ในปัจจุบันมี

การค้นพบอโรคยาศาลดังกล่าวแล้วราว ๓๐ แห่ง) สถานพยาบาลดังกล่าว อยู่ใต้ความดูแล

ของพระไภษัชคุรุไพฑูรย์ประภา สำหรับอโรคยาศาลที่ค้นพบในประเทศไทยได้แก่

ปรางค์กู่ที่จังหวัดชัยภูมิ ปราสาทเมืองเก่าที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ปรางค์ครบุรี อยู่ที่ตำบลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทตาเมือนตู๊จ ที่อำเภอกาบเชิง

จังหวัดสุรินทร์ เมื่อครั้งสมัยขอมมีอำนาจนั้นได้สร้างเมืองพระประแดง ให้เป็นเมืองหน้าด่าน

ทางทะเลที่ปากน้ำเจ้าพระยา เชื่อว่ามีอายุเป็นพันปี จากข้อสันนิษฐานมาจากคำว่าพระประแดง

มาจากภาษาขอม “บาแดง” แปลว่า คนนำข่าว ทูต หรือ คนเดินหมาย เรื่องนี้

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เมืองพระประแดงที่ขอมสร้างขึ้นนั้น

ตั้งอยู่บริเวณตำบลราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ มิใช่ตรงบริเวณปากลัดในปัจจุบันนี้ เพราะสมัยนั้น

ปากน้ำเจ้าพระยาอยู่เพียงตัวเมืองพระประแดงที่ขอมสร้างเท่านั้น ต่อมาแผ่นดินได้งอกออกไป

ถึงบริเวณแหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการ ทำให้เมืองพระประแดงสมัยขอม หมดความสำคัญลงไป

และย้ายที่ตั้งไปไปที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งเป็นอำเภอพระประแดง จังหวัด

สมุทรปราการในปัจจุบัน แต่ต่อมาสมัยพระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างเมืองสมุทรปราการเป็น

เมืองหน้าด่าน แทนเมือง นครเขื่อนขันธ์ เมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ พระประแดงคงกลายเป็น

เมืองร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง และมาบูรณะใหม่เป็นนครเขื่อนขันธ์ ให้พวกมอญไปอยู่ในสมัย

รัชกาลที่ ๑ เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเล ภายหลังรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมื่อ

พุทธศตวรรษที่ ๑๘- ๑๙ นั้น พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ได้ถูกอิทธิพลของ

ศาสนาฮินดูเข้ามาแทนที่ ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ อาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจ

ทางด้านวัฒนธรรมและกำลังทหาร จึงทำให้ชนชาติไทยเข้ายึดกรุงสุโขทัยตั้งตัวเป็นอิสระ

ต่อมาสมัยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรขอมก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยานำโดย

ขุนหลวงพระงั่วยกทัพโจมตียึดเป็นเมืองขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๙๖ ต่อมาปี พ.ศ.๑๙๓๖

พวกเขมรแข็งเมืองจนสมเด็จพระราเมศวร กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาต้องส่งกองทัพไปยึดเมือง

พระนครหลวงของเขมรได้ ในพ.ศ.๑๙๗๔ อาณาจักรเขมรเกิดแข็งเมืองอีก

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓(เจ้าสามพระยา)ยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวงของเขมรได้อีก

เมืองพระนครหลวงของเขมรถูกทำลายจนต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนคร

ไปตั้งที่เมืองจตุรพักตร์(ที่ตั้งของกรุงพนมเปญปัจจุบัน) และต่อมาย้ายไปเมืองละแวก

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เจ้าพระยาละแวกแห่งเขมรชอบที่จะลอบยกทัพมาโจมตี

กรุงศรีอยุธยาในขณะที่มีศึกกับพม่าดังนั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงยกทัพไปตีกรุงละแวก

ได้สำเร็จ ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขมรตกอยู่ใต้อำนาจของฝรั่งเศส และ

เกิดสงครามระหว่างเขมรแดงนิยมคอมมิวนิสต์กับเขมรนิยมอเมริกัน อเมริกาส่งเครื่องบิน

มาทิ้งระเบิดทำให้คนตายไปมาก ต่อจากนั้นเมื่ออเมริกาถอนกำลังออก พวกเขมรแดงที่ได้รับ

การสนับสนุนจากจีนและรัสเซียภายใต้การนำของนายพอลพตได้อำนาจ เกิดการฆ่า

ล้างเผ่าพันธุ์ฝ่ายตรงข้าม คนตายอีกมากมาย และต่อมาก็เกิดการแตกแยกรบพุ่งกัน

ระหว่างเขมรสามฝ่ายอีกหลายสิบปีทำให้คนเขมรเกือบสิ้นชาติ




<< ย้อนกลับ ต่อไป อาณาจักรละโว้(ลวรัฐ) >>