ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่ายาแพทย์แผนไทยโบราณล้วนหายไปพร้อมการเติบโต ทางด้านการแพทย์ปัจจุบันที่การกระจายตัวอย่างแพร่หลายในชุมชน หรือเมืองต่าง ๆ จึงทำให้มี บุคคลบางกลุ่มบางประเภทนำยาเคมีเข้ามาใช้ในการบำรุงตนเองเพื่อชะลอวัยและบำรุงให้ร่างกายมี การเจริญเติบโต และรักษาโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะมีการนำยาเคมีเข้ามาบำบัดโรคเป็น จำนวนมาก ทั้งการต้มดื่มรับประทานเป็นยาชนิดผง และยาชนิดน้ำแต่ประสิทธิภาพของแต่ละตัวยา จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้ก็ยังมีชาวบ้านที่ใช้ยาสมุนไพรนา ๆ ชนิดในการรักษาโรคของ ตนเอง เช่น การรักษาโรคซาง เพราะลักษณะอาการของโรคซางนั้นผู้ป่วยจะมีร่างกายผอม กล้ามเนื้อลีบ เกิดแผลบริเวณผิวปาก โดยโรคซางนั้นเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุได้ เนื่องจากการทำงานใน ระบบของร่างกายมีความเสี่ยงและอาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน โดยส่วนใหญ่แล้วคนในชุมชนบ้านควน หมู่ ที่ 14 ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อาชีพหลักคือ การสวนปาล์ม และเก็บยางพารา อีกทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สู่ความพอเพียงที่ยั่งยืน โดยการปลูกพืชผักสมุนไพรเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้าน จึงมีการคิดค้นที่จะผลิตยาสมุนไพรจากฝีมือคนในพื้นที่จะเน้นการรักษาโดย วิธีการทางธรรมชาติ เช่น การใช้พืชสมุนไพร ทั้งพืชสมุนไพรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและพืช สมุนไพรที่มีการปลูกไว้รับประทานและเพื่อรักษาโรคด้วยตนเอง สมุนไพรได้รับการสืบทอดมาจาก รุ่นสู่รุ่น ซึ่งผ่านการอบรมเลี้ยงดูมาจากรุ่นปู่ย่าตายายโดยการปลูกฝังในการดูแลตนเองโดยเฉพาะ เน้นการบำบัดโรคมากกว่าการพึ่งยาสมัยใหม่ โดยยาสมุนไพรที่ชาวบ้านผลิตขึ้นมานั้นเกิดจากสูตร ตำรับยาโบราณมีทั้งสมุนไพรที่ผลิตเป็นยาซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งต้นเช่น ก้าน ใบ ราก หรือลำ ต้น ในทางกลับกันผู้คนกลับมองข้ามพืชสมุนไพร เพราะเชื่อว่าสมุนไพรที่ขึ้นตามป่าเขา ไม่สามารถ รักษาให้หายได้จริงจึงเกิดการโต้แย้งกันในทางการแพทย์ระหว่างแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผน

นายสมจิต เย็นบ้านควน

เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ด้านแพทย์แผนไทย/แพทย์พื้นบ้าน เชี่ยวชาญโดยใช้กรรมวิถีภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายยทอดมาจากบิดามาดา ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย เพื่อผลิตยาลูกกลอนสมุนไพรรักษาโรคซาง รักษาไข้หวัด ร้อนในเริ่มทำมาประมาณ 40 กว่าปี












นางสมจิตร พริกบางกา

งานนหัตกรรมจักสานและเย็บปักถักร้อย นางสมจิตร พริกบางกา อยากจะให้งานหัตกรรมจักสานและเย็บปักถักร้อยคงอยู่ต่อไปในอนาคตและการพัฒนาต่อยอดหัตถกรรมเหล่านี้และยินดีที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ให้แก่ผู้สนใจและรักในงานหัตกรรมเหล่านี้

กระเป๋าจากเส้นพลาสติก

เป็นสินค้าที่ผลิตด้วยมือล้วนมีรูปแบบมากมายซึ่งมีฝีมือในการสานที่ปราณีต สามารถทำตามแบบที่ลูกค้าต้องการได้และตัวผลิตภัณฑ์มีความคงทน แข็งแรง น้ำหนักเบา สะดวกแก่การใช้สอย ดูแลรักษาง่าย ไม่เกิดเชื้อรา สีสันสวยงาม ตัวผลิตภัณฑ์แฝงไว้ซึ่งงานฝีมือของภูมิปัญญาท้องถิ่น มีรูปแบบที่หลากหลายสามารถผลิตตามความต้องการของผู้ใช้งาน จากอุปกรณ์วัตถุพลาสติกคุณภาพดี เนื้อละเอียดเหนียว ไม่กักเก็บฝุ่น จึงเป็นที่นิยมซื้อเป็นของฝากของนักท่องเที่ยว


การจักสารกระจูด

การจักสารกระจูด คือ เป็นหัตถกรรมหรือวัฒนธรรมที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมีมาตั้งแต่สมัย โบราณที่คนสมัยก่อนได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะน าเอาวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในชีวิตเพื่อให้เกิด ประโยชน์ สร้างรายได้ในชีวิตประจ าวัน ซึ่งจะมีการนาเอากระจูด มาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้ ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดมีชื่อเสียง