กิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนวิเชียรมาตุ 3
ที่มาและความสำคัญ
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท เนื่องในโอกาสพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ข้าราชการ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๓ "...ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คน ทุกคนเป็นดีได้ทั้งหมด การทำให้ บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ ทุกคนเป็นคนดี หาก แต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้..."
เพ็ญประภา ศรีประสม. (2560) กล่าวว่า ประเทศไทยยุค 4.0 หรือ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ ทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด“ประชารัฐ”ที่จะต้องช่วยกันทุกฝ่าย เพื่อเป็น“ประเทศพัฒนาแล้ว”อย่างแท้จริงฅ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562 : 2-3) กล่าวว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่ง หากได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสให้ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดความเป็นชาติสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เทียบเท่านานาอารยประเทศ เด็กและเยาวชนจึงเป็นความหวังในการจรรโลงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติให้อยู่คู่สังคมไทยองค์การสหประชาชาติ ได้มีการลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก ปีพุทธศักราช 2533 เพื่อให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยให้คำมั่นว่าจะให้การปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนให้เจริญ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ภายใต้การดูแลเลี้ยงดูจากครอบครัวด้วยความรัก ความอบอุ่น ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ให้การรับรองสิทธิพื้นฐานของเด็ก4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิต (Right to life) สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง (Right to be protected) สิทธิที่จะไดรับการพัฒนา (Right to be developed) สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right to participate) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม มีสิทธิ มีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมการพัฒนาสังคมทุกระดับ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ข้อมูล การร่วมแสดงความคิดเห็น การร่วมตัดสินใจ การร่วมตรวจสอบ โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรัฐบาลมีความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตย การใช้ธรรมาภิบาล ความสมานฉันท์และความพอเพียง ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในสังคมไทย โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562 : 4) การดำเนินงานสภานักเรียนเปรียบเสมือนเวทีสำหรับฝึกให้นักเรียนเป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ รู้จักการเป็นผู้ให้ ผู้รับ ผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่และเป็นประโยชน์ในการปกครองโดยช่วยแบ่งเบาภาระของครูได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย มุ่งเน้นให้เด็กคิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาเป็น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ อีกทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบันที่มุ่งเน้นความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา จะต้องขับเคลื่อนกิจกรรมสภานักเรียนสู่สถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจัดการศึกษาในระบบ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการศึกษาปกติ และกลุ่มการศึกษาทางเลือก ซึ่งกลุ่มการศึกษาปกติ จัดการศึกษาด้วยนวัตกรรมการสอนสร้างสรรค์เป็นฐานที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะอาชีพสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายชีวิตของตนเอง ส่วนกลุ่มการศึกษาทางเลือก เป็นการจัดการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ในการช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาโดยตรงได้เข้ามาเรียน ได้แก่ นักเรียนที่ออกกลางคันจากโรงเรียนอื่น ด้วยสาเหตุปัญหาต่าง ๆ รวมถึงนักเรียนที่ปฏิเสธห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียน ได้พัฒนาตนเองและสามารถจบการศึกษาได้ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด ในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียนของนักเรียนกลุ่มปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 นักเรียนมีทั้งหมด 160 คน นักเรียนมาโรงเรียนเป็นปกติ เรียนในชั้นเรียนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในด้านพฤติกรรมนักเรียน ทั้งด้านระเบียบวินัย ความสามัคคีในการอยู่ร่วมกัน ย่อมมีนักเรียนที่มีปัญหาอยู่บ้างเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะนักเรียนที่เข้ามาเรียนใหม่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำเป็นต้องได้รับแนะนำ การดูแลช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาในยามที่มีปัญหาทุก ๆ ด้าน นักเรียนที่มีปัญหาจนกระทั่งไม่สามารถเรียนห้องเรียนปกติก็จะได้รับการส่งต่อไปเรียนกลุ่มการศึกษาทางเลือกต่อไป ส่วนนักเรียนกลุ่มการศึกษาทางเลือก นักเรียนก็ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนักเรียน เช่น กีฬาสีของโรงเรียน กิจกรรมวันไหว้ครู และกิจรรมอื่นที่นักเรียนการศึกษาทางเลือกมาร่วมด้วย
สภานักเรียนโรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 ได้เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกนักเรียนทุกคนของโรงเรียน โดยมี น.ส.กิ่งมณี ศรีสุข ประธานสภานักเรียน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภานักเรียนเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งมีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการทำหน้าที่ผู้นำได้เป็นอย่างดี มีคณะกรรมการสภานักเรียนเป็นทีมงานที่เข้มแข็ง มีจิตอาสา ทุ่มเทในการทำงานให้กับโรงเรียนอย่าเต็มที่จนเป็นที่ประจักษ์ โดยมีกระบวนการทำงานเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการของนักเรียน โรงเรียน ชุมชน กำหนดกิจกรรมหลัก ๆ ของสภานักเรียนอันได้แก่ 1) กิจกรรมการประชุม วางแผนดำเนินการ 2) การตรวจสอบ ดูแลพฤติกรรมนักเรียน 3) การป้องการ แก้ไขปัญหานักเรียน 4) การส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหามากจนเกินที่จะช่วยเหลือแก้ไขได้ 5) การช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน และ 6) ประสานงานความร่มมือกับเครือข่าย ภายใต้ หลักความเป็นประชาธิปไตย หลักธรรมาภิบาล หลักสิทธิเด็ก และหลักการทำงานเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นักเรียนเป็นพลเมืองเข้มแข็ง เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และได้รับโอกาสจบการศึกษา สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติความสุขได้