ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปสมุนไพร

ชื่อเรื่อง การผลิตและแปรรูปสมุนไพร

ชุมชน บ้านโนนแต้ ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ด้วยสภาพพื้นที่บ้านโนนแต้ ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสมุนไพรอยู่หลายชนิด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ถ่ายทอดมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เมื่อมีการใช้สมุนไพรเพิ่มมากขึ้นจึงเริ่มมีการปลูกเพื่อทดแทนและเพื่อความสะดวกในการใช้งาน มีการเก็บสมุนไพรในท้องถิ่นตามธรรมชาติและสมุนไพรที่แต่ละครัวเรือนปลูกไว้ ต่อมาจึงมีการรวมตัวของผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพร จัดตั้งเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน บ้านโนนแต้ ม.10 ขึ้น ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกสมุนไพรจำนวน 23 แปลง รวม 5 ไร่ 3 งาน ใช้สำหรับปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ ได้แก่ ขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก ว่านรางจืด ไพล ฟ้าทะลายโจร ดีปลี มะรุมและหญ้านางแดง เป็นต้น ทางกลุ่มยังรับแปรรูปสมุนไพร อบแห้งด้วยโรงอบสมุนไพร รับซื้อสมุนไพรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อนำมาแปรรูป ผลิตและจำหน่ายต่อไป นอกจากนี้ ยังเปิดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้บริการถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานแก่สมาชิก องค์กรภาครัฐ นักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ที่สนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

เป็นการผลิตและแปรรูปสมุนไพร ในรูปแบบบดผง โดยมีส่วนประกอบที่ประกอบไปด้วย

1. รางจืด 2. ฟ้าทะลายโจร 3. ดีปลี 4. หญ้านางแด 5. ขมิ้นชัน 6. ว่านชักมดลูก 7. มะรุม

โดยจำหน่ายทั้งรูปแบบเป็นกิโลกรัม และบรรจุแคปซูลอัดเม็ด โดยสมุนทั้งหมดที่นำมาผลิตและจำหน่าย ปลูกในพื้นที่ที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน GAP และควบคุมการผลิตโดยผู้ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย

เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนด้านสมุนไพร จึงจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อปลูกอนุรักษ์ฟื้นฟูพืชสมุนไพร และแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ เช่น แคปซูล ขี้ผึ้งสมุนไพร และสมุนไพรบดผง เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชน ฯลฯ ทางวิสาหกิจจึงเปิดให้บริการเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้บริการถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานแก่สมาชิกกลุ่ม บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งสาธิตวิธีการปลูก การใช้งานสมุนไพร การแปรรูป และทัศนศึกษาสวนสมุนไพร

ชุมชนตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่นำทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่มาพัฒนาเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร โดยเน้นการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งแบ่งปันผลกำไรส่วนหนึ่งคืนสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน ในพื้นที่ยังมีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ โดยพบว่าในป่าชุมชนมีสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งคนในชุมชนได้ทำการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่เพื่อนำมารักษาอาการเบื้องต้นของโรคต่างๆ เช่น ขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก ย่านางแดง ขิง และได้นำสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนด้านสมุนไพร จึงจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อปลูกอนุรักษ์ฟื้นฟูพืชสมุนไพร และแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ เช่น แคปซูล ขี้ผึ้งสมุนไพร และสมุนไพรบดผง เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชน ฯลฯ ทางวิสาหกิจจึงเปิดให้บริการเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้บริการถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานแก่สมาชิกกลุ่ม บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งสาธิตวิธีการปลูก การใช้งานสมุนไพร การแปรรูป และทัศนศึกษาสวนสมุนไพร

ผู้เขียน นายวันชัย สารพันธ์

ผู้ให้ข้อมูล นางจาตรียาพร วงษา