แหล่งเรียนรู้ ในตำบลบ้านแพง

ตัวอาคารทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีบานหน้าต่างโดยรอบด้านละ 3 บาน ลักษณะเป็นบานทึบสี่เหลี่ยมเปิดแบบเปิดคู่ แต่งเป็นกรอบซุ้มวงโค้งฉาบเรียบ ตกแต่งลายปูนปั้นยอดวงโค้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงหน้าวัว และทำเส้นคิ้วล้อไปกับวงโค้งทางด้านบน ใต้หน้าต่างติดตั้งขอบบัวหน้ากระดานปูน ส่วนมุขกลางด้านหน้าทั้งชั้นบนและชั้นล่างไม่มีบานหน้าต่าง โดยตกแต่งเป็นซุ้มวงโค้งก่อโชว์อิฐที่เจาะช่องลูกกรงวงรีเรียงกัน 5 วง เอกลักษณ์ของกุฏิวัดโพธิ์ศรีเป็นอาคารศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียลที่หลักแนวคิดและเทคนิคการก่อสร้างจากช่างญวนในรุ่นปลายพุทธศตวรรษที่ 25 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะในปี พ.ศ.2561


แหล่งเรียนรู้ในตำบลบ้านแพง

กุฏิวัดโพธิ์ศรี (บ้านแพงใต้)

วัดโพธิ์ศรี หรือวัดโพธิ์ศรีบ้านแพงใต้ สร้างในปีพ.ศ. 2409 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2478 ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานสำคัญคือกุฏิที่สร้างในปีพ.ศ. 2460 สมัยพระสิมมา เจ้าอาวาสรูปแรกลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อิทธิพลศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียลโดยรับผ่านมาทางประเทศเวียดนาม ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าออกมุขกลาง ด้านหน้าอาคารหันหน้าอาคารสู่ถนนทางทิศตะวันออกชั้นล่างของกุฏิส่วนที่เป็นมุขก่อซุ้มงวดโค้งในลักษณะเรียงอิฐวงโค้งโชว์ลายอิฐ และใช้เสาซ้อนเข้าไปรับซุ้มวงโค้ง ด้านล่างซุ้มวงโค้งแต่ละวงจะเป็นช่องวงรีเรียงกัน 5 วง อันเป็นลักษณะงานช่างเวียดนามที่พบมากในจังหวัดนครพนม โดยวงโค้งตอนกลางด้านหน้าใช้เป็นทางเข้าออก ภายหลังด้านหน้ามุขได้ต่ออาคารทรงแปดเหลี่ยม ที่ตีไม้ระแนงไขว้กันเป็นช่องตารางในส่วนของผนัง สำหรับตัวอาคารหลักชั้นล่างแบ่งเป็นพื้นที่ออกเป็น 3 แถว ตามแนวยาวของตัวอาคาร แต่ละแถวก่อผนังกั้นและทำซุ้มโค้งเป็นช่องประตูเข้าออกไม่มีบานประตู ในแต่ละแถวแบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด รวมจำนวนห้องชั้นล่างทั้งหมด 9 ห้อง โดยมีบันไดทางขึ้นชั้นบนบริเวณเป็นมุขกลาง ลักษณะเป็นบันไดไม้และมีประตูกั้นเหนือบันไดแบบเปิดขึ้นด้านบน ในส่วนชั้นบนกุฏิทำมุขด้านหน้าใช้เป็นระเบียง ตกแต่งด้วยเสาซ้อนเข้าไปรับวงคงที่ก่อโชว์อิฐ ด้านล่างวงโค้งเจาะเป็นช่องลูกกรง ลักษณะเป็นวงรีเรียงกัน 5 วง ส่วนตัวอาคารหลักที่แบ่งเป็น 3 แถว ในชั้นล่างได้ยุบรวมห้องกลางในแถวที่ 1 กับแถวที่ 2 เพื่อใช้เป็นห้องโถงใหญ่เป็นพื้นที่ไหว้พระสวดมนต์ ท้ายห้องประดิษฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา ส่วนห้องกลางในแถวที่ 3 ที่ต่อจากห้องโถงใหญ่ใช้เป็นห้องของท่านเจ้าอาวาส ภายในห้องมีบันไดไม้ขนาดเล็กใช้เป็นทางขึ้นลงเฉพาะเจ้าอาวาส รวมจำนวนของห้องกุฏิชั้นบนมี 8 ห้อง