โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพน้ำผักบุ้งแดงล้างสารฟอร์มาลิน

บทคัดย่อ

น้ำผักบุ้งแดงล้างสารฟอร์มาลิน

สารฟอร์มาลินเป็นสารเคมีปนเปื้อนในอาหารทะเล ถ้าบริโภคเข้าไปในปริมาณมากๆจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคต่างๆ การกำจัดสารฟอร์มาลินจะช่วยลดผลกระทบต่อผู้ที่บริโภคอาหารทะเลได้ งานวิจัยนี้มีวัติถุประสงค์ เพื่อทดสอบน้ำผักบุ้งแดง น้ำบริสุทธิ์ น้ำเกลือ น้ำใบรางจืด และน้ำผักคราดหัวแหวนล้างกำจัดสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล ซึ่งมีสมมติฐานว่าน้ำผักบุ้งแดง น้ำบริสุทธิ์ น้ำเกลือ น้ำใบรางจืด และน้ำผักคารดหัวแหวนมีสารที่สามารถช่วยกำจัดสารฟอร์มาลินและลดการเข้มข้นของสารฟอร์มาลินที่อยู่ในอาหารทะเล ดำเนินการทำน้ำผักบุ้งแดง โดยชั่งผักบุ้งแดงสดตามปริมารที่เราต้องการและน้ำบริสุทธิ์มาปั่นรวมกัน และดำเนินการทำน้ำใบรางจืด โดยชั่งใบรางจืดสดตามปริมารที่เราต้องการและน้ำบริสุทธิ์มาปั่นรวมกัน และดำเนินการทำน้ำผักผักคราดหัวแหวน โดยชั่งผักคาดหัวแหวนสดตามปริมารที่เราต้องการและน้ำบริสุทธิ์มาปั่นรวมกัน และใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำผักบุ้งแดงน้ำใบรางจืด และน้ำผักคราดหัวแหวน ไปแช่ในอาหารทะเลตามที่กำหนด และนำอาหารทะเลมาล้างน้ำบริสุทธิ์แล้วนำชุดตรวจสอบสารฟอร์มาลินมาตรวจสอบทำซ้ำโดยเปลี่ยนจากน้ำผักบุ้งแดงเป็น น้ำบริสุทธิ์ น้ำเกลือ น้ำใบรางจืด และน้ำผักคราดหัวแหวนตามลำดับ พบว่าน้ำผักบุ้งแดงมีประสิทธิภาพในการล้างสารฟอร์มาลินออกจากอาหารทะเลได้มากกว่า น้ำบริสุทธิ์ น้ำเกลือ น้ำใบรางจืด และน้ำผักคราดหัวแหวน

บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคอาหารทะเลเป็นประจำและมากขึ้นซึ่งในอาหารทะเลจะมีสารฟอร์มาลินเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้อาหารคงความสดและเก็บรักษาได้นาน ส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารประเภทที่เน่าเสียง่ายๆ แต่สารฟอร์มาลินก็เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเช่นกันซึ่งจะมีอาการตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายภายในที่สุด

วัตถุประสงค์

1.ศึกษาหาวิธีการล้างสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล

2.ลดการเกิดอันตรายเมื่อบริโภคอาหารทะเล

3.ได้รับความรู้ว่าอะไรที่ใช้ล้างสารฟอร์มาลินได้

สมมติฐาน

น้ำผักบุ้งแดง น้ำบริสุทธิ์ น้ำเกลือ น้ำใบรางจืด และน้ำผักคาดหัวแหวนมีสารที่สามารถช่วยกำจัดสารฟอร์มาลินและลดการเข้มข้นของสารฟอร์มาลินที่อยู่ในอาหารทะเล

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น ชนิดของผัก (ผักบุ้งแดง ใบรางจืด ผักคราดหัวแหวน)

ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพการชำระล้างสารฟอร์มาลิน

ตัวแปรควบคุม ปริมาณของน้ำผักที่ใช้ทดลอง จำนวนอาหารทะเลที่ใช้ทดลองต่อ 1 ชนิด ผัก


บทที่2

ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวข้อง

ผักที่ใช้กำจัดปลวก

ผักบุ้งแดง

ชื่อวิทยาศาตร์ : Ipomoea aquatica Forsk. เป็นพันธุ์ผักบุ้งท้องถิ่น และเป็นพันธุ์ผักบุ้งดั้งเดิมของไทย ซึ่งเป็นที่นิยมนำมารับประทาน และใช้ประกอบอาหารไม่แพ้พันธุ์ผักบุ้งจีน เนื่องจาก มีลำต้น และใบใหญ่ ให้รสกรอบหวาน เนื้อลำต้น และใบไม่เหนียว

สรรพคุณ

แก้ฟกช้ำ ถอนพิษยา แก้โรคประสาท ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา ชำระล้างสารพิษ

ใบรางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาในวงศ์เหงือกปลาหมอ มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆหรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ รางจืดได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่างๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ

สรรพคุณ

รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่าจอลอดี่เดอตัดลำต้นเป็นชิ้นเล็กพกติดตัว เชื่อว่าป้องกันงูได้

ผักคราดหัวแหวน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acmella oleracea จัดอยู่ในวงศ์ Asteraceae ผักชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้าน นิยมรับประทานกันมาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเป็นผักที่เป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพร และเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

สรรพคุณ

แก้ปวดศีรษะ แก้โลหิต เป็นพิษ ขับน้ำลาย แก้โรคในคอ แก้ปวดฟัน แก้โรคติดอ่างในเด็ก รักษาแผลในปากในคอ

แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต


บทที่3

วิธีดำเนินการ

วัสดุอุปกรณ์

1.บิกเกอร์ 7.ผักคราดหัวแหวน

2.แท่งแก้วคนสาร 8.ใบรางจืด

3.เกลือแกง 9.น้ำบริสุทธิ์

4.ตาชั่ง 10.ชุดตรวจสารฟอร์มาลิน

5.ผ้าขาวบาง

6.ผักบุ้งแดงสด

วิธีดำเนินการ

1.ชั่งผักบุ้งแดงสดในปริมาณ 40 กรัมและน้ำบริสุทธิ์ 40 มิลลิลิตรมาปั่นรวมกัน

2.นำใบรางจืดมาชั่งในปริมาณ 40กรัม และน้ำบริสุทธิ์ 40 มิลลิลิตรมาปั่นรวมกัน

3.นำผักคราดหัวแหวนมาชั่งในปริมาณ 40 กรัม และน้ำบริสุทธิ์ 40 มิลลิลิตรมาปั่นรวมกัน

4.ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำผักบุ้งแดง น้ำใบรางจืด และน้ำผักคราดหัวแหวน ใส่ไว้ในบิก เกอร์

5.นำเกลือเกง 30 กรัมผสมกับน้ำบริสุทธิ์ 40 มิลลิลิตรและใช้แท่งแก้วคนสารคนเกลือแกง ให้ละลาย

6.นำอาหารทะเลไปแช่ในน้ำผักบุ้งแดง น้ำใบรางจืด น้ำผักคราดหัวแหวน และน้ำเกลือแกง และนำอาหารทะเลมาล้างน้ำบริสุทธิ์แล้วนำชุดตรวจสอบสารฟอร์มาลินมาตรวจสอบ

บทที่4

ผลการดำเนินการและการอภิปรายข้อมูล














บทที่5

สรุปผลการดำเนินการและข้อเสนอแนะ

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคอาหารทะเลเป็นประจำและมากขึ้นซึ่งในอาหารทะเลจะมีสารฟอร์มาลินเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้อาหารคงความสดและเก็บรักษาได้นาน ส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารประเภทที่เน่าเสียง่ายๆ แต่สารฟอร์มาลินก็เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเช่นกันซึ่งจะมีอาการตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายภายในที่สุด

วัตถุประสงค์

1.ศึกษาหาวิธีการล้างสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล

2.ลดการเกิดอันตรายเมื่อบริโภคอาหารทะเล

3.ได้รับความรู้ว่าอะไรที่ใช้ล้างสารฟอร์มาลินได้