วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speakers)

                                                                           รองศาสตราจารย์ เอกศักดิ์  ยุกตนันทน์ 
                                                           คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หัวข้อบรรยาย

"ปรัชญาการศึกษา อำนาจ ความรู้ และการศึกษาเชิงวิพากษ์"

บทคัดย่อ

ในที่นี้ผู้บรรยายจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “หลักสูตรซ่อนเร้น” ซึ่งหมายถึงการจัดการทุกอย่างในโรงเรียนที่กำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน บางอย่างจะเป็นสิ่งที่เป็นทางการ เป็นรูปแบบการจัดการ เช่นระเบียบ วินัยนักเรียน การจัดชั้นเรียน การจัดแถว การจัดโต๊ะ เพื่อให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่ที่สำคัญกว่าคือรูปแบบจิตสำนึกของครู ซึ่งปรากฏอยู่ในการนิยามและการให้คุณค่าต่อตัวเองของครู เช่น ครูคือผู้รู้ ครูคือพ่อแม่ที่สอง นิยามเหล่านี้จะถูกตรวจสอบว่าซ่อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไรไว้บ้าง และมีผลต่อความสามารถในการคิดของนักเรียนอย่างไร

Abstract

I will discuss “hidden curriculum,” which means all kinds of school management that defines power relation between the educators and the students. Some of them are concrete official methods of organization, for example, rules and regulations for students’ conduct; how to arrange desks and chairs in the classroom so that it is teacher-centered.

More importantly is the teacher’s form of consciousness. This is manifested in the value-laden definition of “what is a teacher?” Usually the answers are; the knower, the next parent. Power relation in these definitions will be scrutinized. The affect on students’ thinking propensity will be explained.


                                                                          รองศาสตราจารย์ ดร.ขจรศักดิ์  บัวระพันธ์
                                                                      สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้  มหาวิทยาลัยมหิดล 

หัวข้อบรรยาย

"ทำไมครูต้องทำวิจัยในชั้นเรียน"

บทคัดย่อ

ครู คือ หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการเชิงระบบในการสร้างความรู้อันเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ครูสามารถเข้าใจและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียนของตนได้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนได้รับการยอมรับและบรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยในมาตรา24(5) กล่าวถึง การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวย ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา 30 กล่าวถึง การให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา และมาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัย และพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นอกจากนั้น ตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานที่ 9 สมศ. ระบุให้ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีตัวบ่งชี้ที่ 7 ให้ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลที่ได้ไปใช้พัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียนยังเป็นเครื่องแสดงว่า วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องปรับปรุงพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและพัฒนาสังคมอยู่เสมอ และการจะพัฒนาองค์ความรู้นั้นจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวิจัยซึ่งเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล การวิจัยในชั้นเรียนยังเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในวิชาชีพของครูเนื่องจากครูต้องทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งถือว่าเป็นความความภาคภูมิใจแห่งวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ครูพึงต้องตระหนักว่า กระบวนการวิจัยและกระบวนการจัดการเรียนรู้มิได้แยกออกจากกัน หากแต่กระบวนการทั้งสองได้เกิดขึ้นอย่างผสมผสมกลมกลืนกัน อุปมาเสมือน “ปาท่องโก๋ วิจัย-การสอน” เพราะครูต้องจัดการเรียนรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยไปด้วยในขณะเดียวกัน หากครูท่านใดทำวิจัยในชั้นเรียนไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนรู้ตามปกติจนสามารถสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ ครูท่านนั้นก็จะก้าวไปเป็น “ครูนักวิจัย” อย่างเต็มภาคภูมิ


Abstract

Teachers are at heart of the learning reform according to the National Education Act (NEA) B.E. 2542 (B.C. 1999) because teachers are responsible for delivering effective teaching and learning for learners in order to help them develop with their full potential. Classroom research is regarded as a systematic process in helping teachers understand their teaching and further develop the best teaching and learning for their students. The importance of classroom research has been mentioned in Section 24(5) of the 1999 NEA as enabling instructors to create the ambiance, environment, instructional media, and facilities for learners to learn and be all-round persons, able to benefit from research as part of the learning process. In Section 30, Educational institutions shall develop effective learning processes. In so doing, they shall also encourage instructors to carry out research for developing suitable learning for learners at different levels of education. In Section 60, the State shall promote research and development; production and refinement of technologies for education; as well as following-up, checking, and evaluating their use to ensure cost-effective and appropriate application to the learning process of the Thai people. In addition, the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA) states in Quality Standard 9 that teachers should be able to teach effectively and emphasize learners as the most important. Up to this, Indicator 7 mentions that teachers should conduct research for developing instructional media usage and student-centered learning. Teaching profession is widely accepted as a highly regarded profession and teachers needs the continuous development of bodies of knowledge for society. Regarding this, classroom research can be utilized as a major tool for teachers to maintain their teaching profession because research process is a universal, systematic process for discovering more effective teaching and learning. In addition, classroom research is one of requirements for the promotion of teachers’ teaching career. However, teachers must be aware that classroom research is not separated from their teaching because while teachers teach they can collect data for research. When teachers can effectively integrate a research process in a teaching process; they will be proudly called a teacher researcher.


                                                                             รองศาสตราจารย์ ดร.วีระสิทธิ์   อิ่มถวิล
                                                                        คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

หัวข้อบรรยาย

"การศึกษาในแง่มุมเชิงวิศวกรรม"

บทคัดย่อ

การบรรยายในวันนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ของนักศึกษาในอดีตและปัจจุบันในมุมมองของผู้บรรยาย ในอดีตสาขาวิศวกรรมศาสตร์เป็นสาขาที่ดึงดูดนักเรียนเก่งๆได้ดีมากทั้งมุมมองของผู้ปกครองและนักเรียน อาจจะเป็นเพราะว่าด้วยค่าตอบแทนที่สูงเมื่อเทียบกับสาขาอื่น นักเรียนที่มาเรียนวิศวกรรมศาสตร์มักมาจากนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในกลุ่มร้อยละ 5 บนของห้องเรียน นับตั้งแต่รัฐบาลได้เพิ่มเงินเดือนของผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีให้เป็นขั้นต่ำ 15,000 บาทในทุกสาขาวิชา ทำให้ความแตกต่างของเงินเดือนของผู้ที่จบจากสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาอื่นๆมีน้อยลง ทำให้ความน่าสนใจเรียนของสาขวิศวกรรมศาสตร์ไม่ดึงดูดอีกต่อไป ทำให้ได้นักเรียนที่มีคุณภาพปานกลางไปจนถึงต่ำมาเรียนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ส่งผลให้คณาจารย์ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการสอนนักศึกษา และเนื่องจากวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ต้องการนักเรียนที่มีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ที่ดีเยี่ยม จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนทั้งครูมัธยมและอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะต้องช่วยกัน บทบาทของครูมัธยมอาจจะต้องทำงานหนักมากขึ้นและหาเวลาเพิ่มเติมในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ระบบผลตอบแทนสำหรับอาจารย์ที่ทุ่มเท ต้อมมีความยุติธรรม ในมุมมองของผู้บรรยาย ด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ต้องมีสำหรับนักเรียน เราควรจะต้องเริ่มแก้ปัญหานี้อย่างไรและเมื่อมองไปข้างหน้า ประเทศจะมีความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่ในระยะยาว?

Abstract

This talk is to present the past, present, and trend of engineering education in Thailand from the speaker viewpoint. In the past, engineering education was very attractive to students and their parents. This may be due to its attractiveness in terms of high income and job security. Engineering profession was one of the highly paid jobs in the past compared to other professions. Recently, the Thai government has increased the minimum salary rate for graduates in every subject to 15,000 Thai baht shrinking the salary gap between engineers and others. Apart from the very narrow gap in salary, engineering students in the past were from top five ones in the classes and had good background in Mathematics and Physics. Successful engineering education requires students to be well-prepared in Mathematics and Physics. The number of students in each engineering discipline was about 40-50 which made it possible for close supervision by department members. Nowadays, the attractiveness of engineering profession has continuously decreased. This may be because of the difficulties of the subjects and/or the small difference between the incomes compared to other jobs. Education in engineering nowadays requires potential students but it comes out to the other way around. We, as teaching staffs, have to pay more attention and work harder in order to prepare our students in many aspects such as deep understanding of Mathematics, Physics and English. Self-studying capabilities are also needed in nowadays education as there are millions of useful online resources on the Internet. What shall we do with this current situation? Will Thailand survive and have competitive advantage in the long run? High school teachers play a very important role in student learning. They may have to dedicate some extra time slots for tutorial classes and evaluating the learning effectiveness of students especially in Maths and Physics. Reward system must also be fair for those who can make the students achieve real understand the subjects in Maths and Physics. From my point of view, having strong background in Maths, Physics, and English enables Engineering students to successfully learn any advanced subjects.


                                                                                      ดร.ไชยพงษ์     เรืองสุวรรณ 
                                                                          คณะวิทยาศาสตร์    มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

หัวข้อบรรยาย

"การสืบเสาะแสวงหาความรู้ที่ส่งเสริมการคิด"

บทคัดย่อ

การเรียนรู้และการคิดเป็นสองสิ่งที่เชื่อมโยงกันขณะที่ทำการสืบเสาะ ดังนั้นการสืบเสาะจึงถูกนำมาใช้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสนับสนุนการคิด วงจรการสืบเสาะหลายรูปแบบถูกประยุกต์เข้าสู่ห้องเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการตั้งคำถามและกระบวนการหาคำตอบของผู้เรียน การตั้งคำถามในการสืบเสาะเป็นสิ่งที่สร้างความความแตกต่างที่สำคัญของการเรียนรู้แบบเชิงรุกและแบบเชิงรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการเรียนรู้และใช้ได้ตลอดไป

Abstract

Learning and thinking are linked when doing inquiry. So, inquiry-based learning activity is used for promoting thinking. Many kind Inquiry learning cycles applied into the classroom for enhancing the problem posing and solving process of learners. Inquiry problem posing is an important key for active learning. Inquiry based learning is supporting the learners to understand their learning and thinking and apply for lifelong learning.


                                                                                            ดร.อภิสิทธิ์  ธงไชย  
                                                                  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หัวข้อบรรยาย

"การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด"

บทคัดย่อ

สังคมโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากทั้งด้านเทคโนโลยี และการสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเพื่อเข้าสู่การทำงานที่ไม่เพียงแต่มีความรู้เท่านั้น หากแต่จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญในศตวรรษนี้ ซึ่งมักเรียกกันว่าทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบด้วยทักษะหลัก 3 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม รวมถึงด้านชีวิตและอาชีพ ซึ่งทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเกิดได้จำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์งานใหม่ๆ โดยทักษะการคิดมีอยู่หลายอย่าง เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น การส่งเสริมทักษะการคิดสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยในการบรรยายนี้ เป็นการนำเสนอการจัดการเรียนรู้แนวบูรณาการที่นอกจากจะส่งเสริมทักษะการคิดแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ความเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ รวมทั้งความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงต้องอาศัยการบูรณาการความรู้และทักษะหลายอย่างเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถพัฒนาผลงานให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก คำสำคัญ: บูรณาการ ทักษะการคิด ทักษะในศตวรรษที่ 21


Abstract

Technology, communication and many other things in today’s world have been significantly changed from the past. The changes have impacted workforces in such a way that people need not only knowledge, but also skills in this century. These skills are often referred as 21st century skills which consist of three main areas: information technology, learning and innovation, and life and careers. The learning and innovation skills are related to thinking skills which are crucial in development and creation of innovation. Thinking skills are referred to several aspects such as critical thinking and creativity. There are many different approaches that could be used to foster thinking skills. In this presentation, integrative teaching and learning approach will be presented. This approach will not only nurture thinking skills, but also enhance meaningful learning, connection among subjects and real world relevance. In real world, integration of different knowledge and skills is used for developing work that will be able to compete with other in this century world.

Keyword: Integration, thinking skills, 21st century skills


                                                                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.จตุภูมิ  เขตจัตุรัส 
                                                                           คณะศึกษาศาสตร์    มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

หัวข้อบรรยาย

"การวัดและประเมินผลทักษะการคิดของผู้เรียน"

บทคัดย่อ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีจุดเน้นที่เปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อการวัดและประเมินตัวเนื้อความรู้ที่ผู้เรียนมีเหมือนเช่นที่เคยผ่านมา แต่มุ่งเน้นที่การประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้ เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนจึงอยู่ที่การพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การทางานเป็นทีม การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ บทบาทครูจึงได้เปลี่ยนไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงของห้องเรียน สังคมนักเรียน สังคมโรงเรียน และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ รวมทั้งการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ต้องเสริมสร้างความผูกพันต่อการเรียนของผู้เรียน ดังนั้นครูจึงต้องออกแบบการประเมินผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีวิธีการวัดและประเมินที่มีความถูกต้อง แม่นยา เชื่อถือได้ ครอบคลุมเป้าหมายของการพัฒนา ตลอดจนครูต้องเป็นนักออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ใช้สื่อและเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างความรู้สึกเป็นชุมชนการเรียนรู้ภายในห้องเรียน

Abstract

Measurement and evaluation of learners in the 21st century has focused on many aspects. It does not focus on measuring and assessing the body of knowledge that learners have, as they did before. But focus is on assessing the learning process that learners can apply to practice in real life. The goal of student development is to develop critical thinking processes, problem solving, creative thinking, teamwork, and learning how to learn. The teacher's role has changed in the changing context of the classroom, student society, school society, and learning environment. Including, the design of learning management that reinforces the student's learning commitment. Therefore, teachers must design effective and effective assessment of learners. There is a reliable and reliable way of measuring and evaluating the goals of development. The teacher must be a learning environment designer who can show students the full potential. Use media and learning support technology. Including an environment conducive to learning anytime anywhere. Create a sense of community learning within the classroom.


                                                                                      ดร.วราวรรณ   จันทรนุวงศ์ 
                                                  ศูนย์วิจัยการคิดฝางวิทยายน   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

หัวข้อบรรยาย

"โรงเรียนการคิด"

บทคัดย่อ

การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนการคิด (Thinking School) ที่อาศัยกระบวนการครูนักวิจัยเป็นฐานทั้งด้านแนวคิด มุมมองการบริหารจัดการ หลักสูตร ครูผู้สอน และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดของผู้เรียน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนทั้งการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ และการคิดเกี่ยวกับการรู้ของตน ด้วยการพัฒนาครูผู้สอนด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการสะท้อนผลแบบบ่งชี้นั้น ครูผ่านการพัฒนาทั้งความรู้ด้านการคิดและการวิจัยด้านการคิด การมีจิตสืบเสาะแสวงหาความรู้ การสร้างเครื่องมือวิจัยด้านการคิด การเขียนรายงานการวิจัยและการเผยแพร่ผลการวิจัย ครูสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้จริงในชั้นเรียนของตนในระยะต่อไปคือการพัฒนาทักษะการคิดและการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูมีความกระตือรือร้น มีความตระหนักอยู่เสมอ และเห็นว่าควรพัฒนาทักษะการคิดเป็นอย่างยิ่ง และพบว่ามีครูบางส่วนที่สามารถสร้างกิจกรรมในชั้นเรียนให้ผู้เรียนนำเสนอกระบวนการคิดของตนได้ แต่ต้องมีการกำกับติดตามชี้แนะอย่างต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ ครูที่ผ่านการพัฒนา มีการรายงานผลการวิจัยไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนจนเกิดความภาคภูมิใจ ได้รับคำชี้แนะในการทำวิจัย และมีเครือข่ายในการพัฒนาการคิดของผู้เรียนอย่างมาก โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งระดับชาติและนานาชาติ เนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น โครงการวิจัยนี้ จึงเป็นแบบอย่างสำหรับโรงเรียนอื่นที่ต้องการพัฒนาทักษะการคิด (Thinking & Learning Processes) ของผู้เรียนอย่างลุ่มลึกและได้ผลอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เกิดชุมชนการเรียนรู้(Professional Learning Community)ของครูในโรงเรียนอย่างละมุนค่อยเป็นค่อยไป และซึมซับเข้าไปในจิต ในชีวิตประจำวันของครู

Abstract

The Thinking school through the Explicit-reflective Thinking Workshop emphasis on the Teacher as Researcher perspective the supporting students’ thinking skill including of school management, school curriculum, teaching and learning processes. This school enhancing students’ thinking skills including analytic thinking, critical thinking, problem-solving thinking, creative thinking, and metacognitive thinking. The development of thinking teacher as researcher which was consisted of the thinking curriculum workshop, thinking skill and thinking research workshop, Inquiring and Investigating Minds Workshop, Thinking research tools Workshop, and Research Writing Workshop. Then, the explicit-reflective thinking workshop emphasis on teacher as researcher perspective could promote the teachers’ understanding on how to enhance their thinking skills and thinking research. The teachers attempted to create thinking research tools and were aware of students’ inquiring and investigating minds. They interested in writing and disseminating their thinking research in the national and international levels. In their classroom after workshop they applied knowledge from the workshop to develop students’ thinking skill in their classrooms covering all of thinking skills which consists of analytic thinking, critical thinking, problem-solving thinking, creative thinking, and metacognitive thinking. Teachers were eager to enhance students' thinking in a sustainable manner. Moreover, some teachers created new activities for students to present their thinking processes within direct supervision from the experts. They gained the guided and network to develop their students’ thinking. This study yields a new view of Thailand education and model to other schools that need to improve their students’ thinking. In addition, the approach employed in this study could gradually promote the professional learning community (PLC) for the teachers in school that subsequently helped improve teachers’ academic performance and had a positive effect on their life-long learning process.