แหล่งเรียนรู้
การเลี้ยงปลาหมอชุมพร
ความรู้
- ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ปลาหมอ
- วิธีการเลี้ยง และการขยายพันธุ์
- การดูแลรักษา
- การแปรรูป
คุณธรรม
- ความเสียสละ มุ่งมั่น
- ความอดทน ตรงเวลา
- ความรับผิดชอบ
โรงเรียนเราเลี้ยงปลาหมอชุมพร ซึ่งมีความแข็งแรง และทนต่อสภาพน้ำได้ดี เมื่อสภาพอุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลง หรือน้ำที่ไม่ค่อยสะอาด เราใช้เวลาเลี้ยงปลาหมอ 5 เดือน ด้วยการให้กินอาหารสำเร็จรูปทุกวัน วันละ 2 เวลา เช้ากับเย็น ในการเลี้ยงปลาหมอชุมพรพวกเราต้องอาศัยความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความอดทน และเสียสละเพราะเราต้องมาให้อาหารปลาหมอทุกวัน
ปลาหมอที่เราเลี้ยงมีจำนวน 10,000 ตัว ซึ่งมีความเหมาะสมกับขนาดของบ่อที่ใช้เลี้ยง บ่อที่เลี้ยงมีความกล้ากว้างยาว = 120 × 50 เมตร ซึ่งกว้างพอสำหรับจำนวนปลาหมอเมื่อโตเต็มวัย อาหารที่เราใช้เลี้ยงเราจะให้วันละสองเวลา เพื่อให้ประหมอได้กินอิ่มและเจริญเติบโตตามอายุ และกำหนดเวลา เดิมบ่อน้ำมีปัญหา นำไม่สะอาด มีกลิ่น และไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และโรงเรียนของเราก็มีบ่อน้ำอยู่แล้ว เราจึงได้นำมาใช้เลี้ยงปลา ซึ่งต้องเป็นปลาที่ทนต่อสภาพน้ำได้ดี เราจึงเลือกเลี้ยงปลาหมอค่ะ
การให้เลี้ยงปลาหมอเราต้องมีการวางแผนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการดูแลปลาหมอ มีการติดตามและประเมินผลการทำงาน เมื่อปลาหมอโตเต็มที่เราก็จับขายทำให้เรามีรายได้ และนำมาเป็นเงินหมุนเวียนในกิจกรรมต่อไป ซึ่งทำให้พวกเราได้รู้จักกัน ทำงานร่วมกัน ปลาหมอทำให้สภาพแวดล้อมของบ่อน้ำดีขึ้น มีชีวิตชีวามีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และในการจับปลาหมอเราใช้เครื่องมือที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น แห อวน มอง และเรียนรู้วิธีการหวานแห การตกเบ็ด และการวางตาข่าย ซึ่งแต่ละวิธีจะมีครู รุ่นพี่ มาสอนค่ะ
คู่มือแหล่งเรียนรู้
คู่มือแหล่งเรียนรู้ปลาหมอชุมพร
เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและจำหน่ายปลาหมอชุมพร
- ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ปลาหมอ
- วิธีการเลี้ยง และการขยายพันธุ์
- การดูแลรักษา
- การแปรรูป
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาหมอชุมพร วิธีการดูแล การให้อาหาร การแปรรูป และการมีรายได้จากการขายผลผลิต
- ฝึกการทำงานร่วมกัน การสอดแทรกคุณธรรมความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นในการทำงาน การมีน้ำใจช่วยเหลือกัน
- เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจับปลา การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มีอาชีพในท้องถิ่น
- บริเวณโดยรอบบ่อปลาสะอาดปลอดภัย สวยงาม