ผ้าทอมือบ้านป่าแดง

ผ้าทอพื้นเมืองเอกลักษณ์ของชาวไทยพวนบ้านป่าแดง

บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

การทอผ้ามัดหมี่บ้านป่าแดง จัดว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่งามตระการตา มีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้าน การทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของชาวบ้านป่าแดง โดยงานหัตถกรรมในอดีตเป็นการทอผ้าสำหรับใช้เองในครัวเรือน แต่ในปัจจุบันการทอผ้าได้กลายเป็นหัตถกรรมเชิงพาณิชย์และแปรสภาพเป็นอาชีพหารายได้เสริมสำหรับเกษตรกรบ้านป่าแดงที่มีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมผ้าทอพื้นเมืองบ้านป่าแดง เป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านและเป็นสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง มีลวดลายประดับที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปของตลาด มีกระบวนการทอผ้าอย่างประณีตบรรจง งดงามตระการตา สีไม่ตกจึงเป็นที่ต้องการของตลาด ชาวบ้านป่าแดงตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพหัตถกรรมประเภทการทอผ้า เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไว้ให้บรรพชนได้สืบสานต่อไป จึงสถาปนากลุ่มทอผ้าบ้านป่าแดงในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔-๒๕๒๕ บ้านป่าแดงเริ่มผลิตกี่ทอผ้า ๑๔ ตัว โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ส่งวิทยากรมาช่วยแนะนำให้คำปรึกษาทงานหัตถกรรมประเภทการทอผ้า ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐การทอผ้าบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นระดับประเทศ ประชาชน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพหัตถกรรมประเภทการทอผ้าและมีรายได้โดยเฉลี่ยวัน ๒๐๐ บาทต่อคนผ้าทอพื้นเมืองของป่าแดงนั้น ความกว้างของหน้าผ้าจะมีความกว้างมากกว่าผ้าทอของที่อื่น ลวดลายผ้าทอพื้นเมืองใกล้เคียงกับผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่นอื่น ๆ ของประเทศไทย เป็นลวดลายที่สืบสานต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ลายดอกพิกุล, ข้าวหลามตัด ,ลายนกกระจิบ, ลายเครือเถา, ลายเรขาคณิต และประเภทพิเศษที่มีตัวอักษรตามที่พึงประสงค์ของผู้บริโภค มีการดัดแปลงประยุกต์ลวดลายเองด้วยความคิดเห็นส่วนบุคคล โดยแต่ละครัวเรือนจะมีความชำนาญลายผ้าทอที่แตกต่างกันไป

ทำให้ชาวบ้านป่าแดงตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพหัตถกรรมโดยเฉพาะการทอผ้า จึงมีมติเห็นชอบให้อนุรักษ์ผ้ามัดหมี่เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นทรัพย์สมบัติประจำบ้านป่าแดงซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญที่บรรพบุรุษได้สืบสานมาหลายช่วงอายุคน ควรมีการสืบสานสู่บรรพชนรุ่นต่อรุ่นปัจจุบันโรงเรียนบ้านป่าแดงได้จัดหลักสูตรงานหัตถกรรมประเภทการทอผ้าเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ดำเนินการฝึกสอนโดย อาจารย์นาตยา มะโนเครื่อง เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์งานหัตถกรรมประเภทการทอผ้าอีกช่องทางหนึ่ง และเมื่อผ้ามัดหมี่ได้ดำเนินการส่งศูนย์ทอผ้าบ้านป่าแดง ทำให้นักเรียนมีรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ในระดับหนึ่งระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงการศึกษาหรือในช่วงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คณะครูบาอาจารย์และนักเรียนที่สังกัดโรงเรียนวัดป่าแดงอนุรักษ์การใช้ผ้ามัดหมี่หรือผ้าทอ โดยกำหนดให้สวมใส่ผ้าทอไปโรงเรียนทุกวันพุธ เพื่อสร้างจิตสำนึกอันดีงามของเยาวชนที่มีต่อภูมิลำเนาที่เป็นบ้านเกิดและความภาคภูมิใจของตนที่มีต่อชาติพันธุ์ของตน รวมถึงความภาคภูมิใจต่อตนเองขั้นตอนการทอผ้าการทอผ้า หรือ “การทอ” จัดได้ว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมและหัตถกรรมหรืองานฝีมือประเภทหนึ่งที่มีมานับตั้งแต่สมัยโบราณกาล เป็นกรรมวิธีการผลิตผืนผ้า โดยใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนมาขัดประสานกันจนได้เป็นผืนผ้าสมบูรณ์แบบ แต่ต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือในกระบวนการทอผ้าที่เรียกว่า หูก หรือ กี่วัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตเนื่องจากสภาพพื้นที่บ้านป่าแดงเป็นพื้นที่ลุ่ม การประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้ำท่วมตลอดจึงไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกฝ้าย จึงต้องสั่งวัตถุดิบจากผู้ผลิตในกรุงเทพมหานครอุปกรณ์การผลิตเผือ ทำหน้าที่ ขึ้นด้ายยืนเพื่อเรียงเส้นด้ายให้ได้ขนาดหน้าผ้าที่ประสงค์ฟันหวี(ฟืม) ทำหน้าที่ ร้อยเส้นด้ายให้เรียงกันกังหัน ทำหน้าที่ หมุนด้ายยืนที่สะดวกในกระบวนการทอผ้าไม้ก้ามปู ทำหน้าที่ ควบคุมความกว้างของการเก็บตะกอไม้ทะนัดและไม้แซ่ ทำหน้าที่ รองรับเส้นด้ายย้ายจากการเก็บตะกอกรง ทำหน้าที่ สำหรับมัดหมี่กี่กระตุก ทำหน้าที่ ทอผ้า

ขั้นตอนที่ ๑ การกรอด้าย

การกรอเส้นด้ายหรือการปั่นกรอเส้นด้ายเข้าในหลอด(ท่อพลาสติก) มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ด้ายหลอดเล็กจะใช้สำหรับทอผ้าพื้น ด้ายหลอดใหญ่จะใช้สำหรับให้เป็นด้ายยืนด้ายหลอดใหญ่หรือด้ายยืนนั้น ช่างจะใช้เวลาปั่นกรอทั้งหมด ๗๖ หลอด ใช้ด้าย ๑,๑๒๐ เส้น จะได้ความกว้างของหน้าผ้าเมื่อทอออกมาแล้วประมาณ ๓๙ นิ้วครึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน แต่ดั้งเดิมเครื่องกรอเส้นด้ายยืน เรียกว่า ไน และระวิงหรือหลากรอเส้นด้ายใช้มือหมุน แต่ปัจจุบันช่างได้คิดค้นโดยนำมอเตอร์ไฟฟ้าของจักรเย็บผ้ามาใช้งาน การกรอด้ายช่างจะไล่ขึ้น-ลง สลับหัว-ท้ายไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ด้ายที่พันมีความเสมอกัน

ขั้นตอนที่ ๒ การเดินด้ายยืนหรือค้นเส้นด้ายยืน

- นำหลอดด้ายใหญ่ทั้งหมดไปตั้งบนแผงที่มีขาตั้งหลอดมีความยาวประมาณ ๑๐ เมตร

- นำปลายเส้นด้ายทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนขาหลอดมามัดรวมกันแล้วดึงไปมัดกับแคร่เดินเส้นด้าย โดยใช้ไม้ปลายแหลมตรึงเข้าเส้นด้ายกับหลักค้น ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวลงจนครบทุกหลัก เมื่อเดินเส้นด้ายครบแต่ละเที่ยวจะต้องเก็บไขว้เส้นด้ายด้วยการใช้หัวแม่มือเกี่ยวเส้นด้าย แล้วนำไปคล้องกับหลักเก็บไขว้

- เดินเส้นด้ายและเก็บไขว้เส้นด้ายสลับกันไปจนครบตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นนำเส้นด้ายออกจากเครื่องถักเครื่องเดินด้ายแล้วถักเส้นด้ายรวมกัน

- เส้นด้ายเก็บออกจากหลักเก็บไขว้ สอดเข้าฟันหวีจนครบทุกเส้น ใช้ไม้ไผ่แบนสำหรับคล้องเส้นด้ายเข้ากับฟันหวี

ขั้นตอนที่ ๓ การร้อยฟันหวีหรือการหวีเส้นด้าย

การหวีเส้นด้าย คือ การจัดเรียงเส้นด้ายให้เป็นระเบียบและตรวจสอบเส้นด้ายไม่ให้ติดกันหรือพันกันจนยุ่งก่อนที่จะนำเส้นด้ายเข้าสู่เครื่องทอผ้านำเส้นด้ายที่เดินครบทุกเส้นมาพันเข้ากับหลักบนม้าก๊อบปี้ ตอกสลักม้าก๊อบปี้ให้แน่นจากนั้นช่างร้อยฟันหวีจะทำหน้าที่คัดเส้นด้ายออกทีละเส้นเพื่อให้ด้ายตรงกับช่องฟันหวี แล้ววนำเส้นด้ายมาร้อยใน “ไม้ร้อยฟันหวี” ซึ่งมีลักษณะโค้งงอเหมือนเคียว แต่อันเล็กกว่าจะเป็นเหล็กหรือไม้ไผ่ก็ได้ โดยนำมาสอดร้อยเข้าไปในฟันหวีทีละเส้นจะเริ่มจากด้านซ้ายไปด้านขวา โดยฟันหวีจะมีทั้งหมด ๑,๑๒๐ ซี่ ความยาวเท่ากับ ๔๓ นิ้วครึ่ง ความกว้างของหน้าผ้าประมาณ ๓๙ นิ้วครึ่งเมื่อร้อยเส้นด้ายเข้าฟันหวีสำเร็จแล้ว ช่างจะดึงเส้นด้ายมาพันเข้ากับใบพัดม้วนด้ายหรือม้ากังหัน จากนั้นช่างจะฟันหวีจากม้ากังหันเข้าไปหาม้าก๊อบปี้ พร้อมกับใช้ไม้แหลมแหลมเส้นด้ายให้แยกออกจากกัน ป้องกันเพื่อไม่ให้เส้นด้ายพันกัน โดยจะกรีดเส้นด้ายจากใบพัดม้วนจนถึงตัวม้าก๊อบปี้ สำเร็จแล้วปล่อยสลักม้าก๊อบปี้ หมุนเส้นด้ายพันกับพัดจนครบทุกเส้น แล้วนำม้วนด้ายที่ได้รับการหวีเสร็จแล้วมาวางบน “กี่”(เครื่องทอผ้า)

ขั้นตอนที่ ๔ การเก็บตะกอ

การเก็บตะกอเป็นการเก็บด้ายยืน โดยจะนำด้ายที่ผ่านกระบวนการหวีมาแล้ว และใช้ด้ายขวา ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นด้ายที่มีความมันน้อยมาร้อยสลับกับด้ายยืน เพื่อทำหน้าที่สลับด้ายขึ้น-ลง โดยใช้เครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากไม้ไผ่ เรียกว่า ไม้ก้ามปู มาใช้ในการเก็บตะกอขั้นตอนการเก็บตะกอ

- นำม้วนด้ายที่ได้รับการหวีมาแล้ววางบนเครื่องทอผ้า(กี่) โดยวางม้วนด้ายให้เข้ากับสลักของเครื่องทอผ้า นำปลายเส้นด้ายมารวมกันทุกเส้นแล้วดึงมาผูกกับไม้รองเท้าด้านบนเครื่องทอผ้าให้ตึงแน่นเสมอกันทุกเส้น

- ใช้ด้ายสีขาว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับการตะกอแล้วผูกติดกับไม้ที่ใช้เท้าเหยียบให้เส้นด้ายสามารถขยับขึ้นลงได้การเก็บตะกอผ้านี้ ช่างจะกลับม้วยด้ายยืนด้านบนขึ้นเพื่อทำการเก็บตะกอด้านล่างก่อน เพราะ การเก็บตะกอด้านล่างจะเก็บยากกว่าด้านบน เมื่อเสร็จแล้วจึงจะเก็บด้านบนทีหลัง

ขั้นตอนที่ ๕ การมัดลายมัดหมี่(การเตรียมมัดหมี่)

- ลายผ้าที่สวยงามจะต้องได้รับการออกแบบอย่างถูกวิธีตามกระบวนการทอผ้า หรือมีการประดิษฐ์คิดค้นประยุกต์ลวดลายให้เหมาะสมก่อนที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้า การประดิษฐ์ลวดลายผ้า ประกอบไปด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือ ๓ รายการ คือ สมุดกราฟ ๑ เล่ม, ดินสอดำ-ยางลบ และสีเทียน 1 กล่อง

กระบวนการออกแบบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑ ) ออกแบบผ้ามัดหมี่บนกระดาษกราฟด้วยดินสอดำตามแต่ความประสงค์ลวดลาย เช่น

- มัดหมี่ชนิด ๓ ลาย

- มัดหมี่ชนิด ๕ ลาย

- มัดหมี่ชนิด ๗ ลาย

- มัดหมี่ชนิด ๙ ลาย

๒ ) ระบายสีตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ด้วยสีเทียนเพื่อให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

วิธีการค้นลายผ้ามัดหมี่และมัดหมี่ ปฏิบัติได้โดย

- นำเส้นด้ายสำหรับมัดหมี่ นำเข้าหลักมัดหมี่โดยสอดสลักเข้าไปที่หัวและท้ายแล้วขึงให้ตึงกับหลักทั้ง ๒ ข้าง

- เอาเชือกฟางมัดด้ายหมี่ตามที่ออกแบบไว้ การมัดเพื่อป้องกันสีไม่ให้แทรกผ่านบริเวณที่มัด สีจะติดบริเวณที่ไม่มัด

ขั้นตอนที่ ๖ การย้อมด้ายมัดหมี่

๑) ต้มน้ำในกะละมังให้เดือดระยะเวลาประมาณ ๕ นาที ผสมสีเคมีตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ของผ้าทอแต่ละประเภทคนสีเคมีให้ละลายเข้ากับน้ำเดือดที่ต้มไว้

๒) นำเส้นด้ายหมี่สีขาวที่มัดเชือกฟางเสร็จแล้วมาแช่ในน้ำเปล่าธรรมดา เพื่อให้เส้นด้ายหมี่อิ่มตัว เพื่อเวลาในการย้อมเส้นหมี่สีจะได้แทรกเข้าไปในเส้นด้ายทั้งด้านในและด้านนอกเสมอกันทั้งเส้น

๓) นำด้ายมัดหมี่ที่ทำการมัดลายที่ต้องการย้อมแต่ละสีต้องการใส่ในกะละมังที่ผสมสีเคมีไว้แล้วเพื่อทำการย้อม ระหว่างย้อมให้ใช้ไม้ไผ่คนด้ายหมี่กลับไป-มาตลอดเวลา เพื่อให้สีที่ต้องการย้อมแทรกเข้าเส้นหมี่เสมอกันทุกเส้นไม่กระดำกระด่างไว้เวลาประมาณ ๕-๑๕ นาที จึงนำด้ายหมี่ขึ้นล้างด้วยน้ำเย็นไปซักตากให้แห้ง

๔) นำด้ายหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้วไปตากแดดให้แห้งสนิท นำมาแกะเชือกฟางออกเพื่อนำมามัดหมี่มามัดลายเพื่อย้อมสีอื่นที่ต้องการต่อไป ทำจนครบจำนวนสีที่ต้องการ การย้อมด้ายหมี่จะย้อมจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เช่น สีแดง เป็นต้น

ขั้นตอนที่ ๗ การปั่นหมี่

เมื่อได้เส้นด้ายหมี่ตามสีที่ย้อมแล้ว นำด้ายหมี่แกะเชือกฟางออกจะนำด้ายหมี่มาใส่เครื่องกรอด้าย โดยนำปลายเส้นด้ายหมี่พันรอบหลอดด้ายพุ่ง(หลอดเล็ก ๆ) บรรจุเป็นรูปทรงกรวยเรียงซ้อนกันตามลำดับโดยจะเรียงจากด้านล่างขึ้นบนไปเรื่อย ๆ การกรอด้ายหมี่จะกรอทีละหลอด เมื่อเติมบรรจุหลอดด้ายพุ่งแล้วจึงบรรจุกรอใส่หลอดอื่น ๆ ต่อไป ด้ายหมี่แต่ละหลอดนั้นนอกจากจะเรียงตามลำดับจากด้าน่ลางขึ้นด้านบนแล้วจะต้องใส่เข้ากับเชือกห้อยเรียงไว้ตามลำดับก่อน-หลัง จึงจะทอเป็นลายผ้าหมี่ได้

ขั้นตอนที่ ๘ การทอผ้าเป็นผืนผ้า

นำหลอดด้ายมัดหมี่ที่ผ่านกระบวนการกรอเสร็จเรียบร้อยแล้วใส่กระสวยสำหรับทอผ้า ซึ่งควรเลือกกระสวยที่มีปลายแหลมทั้งหัวด้านซ้ายและหัวด้านขวา ผิวเรียบ นำกระสวยด้ายพุ่งใส่รางกระสวย ใช้มือกระตุกพาเส้นด้ายวิ่งผ่านไปมาให้ขัดกับเส้นด้ายยืน ดึงฟันหวีกระแทกใส่เส้นด้ายพุ่งกับเส้นด้ายยืนแน่นยิ่งขึ้น ใช้เหยียบไม้พื้นที่ผูกติดกับตะกอด้ายให้ สลับขึ้นลงโดยให้สัมพันธ์กับการใช้มือกระตุกให้กระสวยพาด้ายวิ่งผ่านไปมาขัดกับเส้นด้ายยืน เมื่อได้ผ้าทอเป็นผืนแล้วใช้กรรไกรตัดแต่งประดับผืนผ้าที่มีเส้นด้ายซึ่งเป็นเศษด้ายริมขอบผ้าให้สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยจึงได้ผ้าทอที่มีความงดงามตระการตา

ผู้เรียบเรียง นางสาวภิชญาพร น้อมระวี


กศน.ตำบลหนองพยอม

หมายเลขโทรศัพท์ : 096-9653298

E-mail : pichayaporn5440@gmail.com