วัดหัวดง

แหล่งเรียนรู้ชุมชนชุมชน

วัดหัวดง

ตำบลหัวดง แต่เดิมสภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบ หลังจากมีผู้คนจากหลายพื้นที่อพยพมาอยู่ ถากถางป่า ทำให้ป่าโล่งเตียนลงแต่ก็ยังคงสภาพป่าอยู่ จึงตั้งชื่อว่า ตำบลหัวดง ลักษณะการปกครองเดิมจะปกครองเป็น 2 ส่วน คือ สภาตำบลและสุขาภิบาล ปัจจุบันเปลี่ยนการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล มีการรวมตัวของชุมชนเพื่อหาสมาชิกกลุ่ม และดำเนินการคัดเลือก คณะกรรมการแต่ละฝ่ายเสร็จแล้วขอความร่วมมือจากเทศบาลตำบลหัวดง จัดทำโครงการจัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546 และมีการดำเนินงานของร้านค้าเศรษฐกิจชุมชนจนกระทั่งปัจจุบัน ตำบลหัวดง แต่เดิมสภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบ หลังจากมีผู้คนจากหลายพื้นที่อพยพมาอยู่ ถากถางป่า ทำให้ป่าโล่งเตียนลงแต่ก็ยังคงสภาพป่าอยู่ จึงตั้งชื่อว่า ตำบลหัวดง ลักษณะการปกครองแบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วน คือ สภาตำบลและสุขาภิบาล ปัจจุบันเปลี่ยนการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล มีการรวมตัวของชุมชนเพื่อหาสมาชิกกลุ่ม และดำเนินการคัดเลือก คณะกรรมการแต่ละฝ่ายเสร็จแล้วขอความร่วมมือจากเทศบาลตำบลหัวดง จัดทำโครงการจัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546 และมีการดำเนินงานของร้านค้าเศรษฐกิจชุมชนจนกระทั่งปัจจุบัน ตำบลหัวดงมีเนื้อที่โดยประมาณ 29,951 ไร่ หรือ 50,401 ตารางกิโลเมตร ตำบลหัวดงเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน คือแม่น้ำน่าน ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง เนื่อง จากสามารถทำได้ตลอดทั้งปี ตำบลหัวดงเป็นหนึ่งใน 16 ตำบลของอำเภอเมืองพิจิตร อยู่ห่างจากตัวเมืองพิจิตรประมาณ 17 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 350 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านบุ่ง , ตำบลฆะมัง อำเภอเมืองพิจิตร

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลฆะมัง , ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมืองพิจิตร

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลหัวดงเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน คือ แม่น้ำน่าน ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง เนื่องจากสามารถทำได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นยังมีระบบการชลประทานที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมตลอดฤดูกาล การตั้งถิ่นฐานของประชาชนในตำบลหัวดงมีทั้งแบบการรวมกลุ่มเป็นชุมชน และกระจายเป็นรายหลังคาเรือนตามแม่น้ำและถนนหลักของหมู่บ้าน

วัดหัวดง ตั้งอยู่เลขที่ 14 บ้านหัวดง หมู่ที่ 6 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 40 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว 4 เส้น 15 วา ติดต่อกับที่ดินของนายลบ จันทลึก ติดต่อกับริมแม่น้ำน่าน ติดต่อกับที่ดินของนายสงวน นางหลิว ขมินทกูล พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง บางส่วนเป็นป่าไม้ อาคารเสนาสนะต่างๆ คือ อโบสถแบบโบราณ อาคารใหญ่หลังเดียว ไม่มีมุข สร้างลอย พ.ศ.2558 ศาลาการเปรียญทรง เงา เงาไทย ศาลาการเปรียญทรงไทย สร้าง พ.ศ. 2525 หอสวดมนต์ สร้าง พ.ศ. 2495 กฎีสงฆ์ จำนวน 16 หลังวัดหัวดง สร้างประมาณ พ.ศ. 2413 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529 เขตวิสุงคามสีมา มีปูชนัยวัตถุ คือ พระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อเพชรหน้าตักกว้าง 3 ศอก พระพุทธรูปบูชา พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอีก 4 องก์ ประดิษฐานในอุโบสถพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย พระโมคคัลานะประสารีบอรีอีก ประษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ กับพระพุทธรูปบูชาสมัยเชียงแสน สุโขทัย และต่อมาได้สร้าง พระเจดีย์พระสุทัสสีมงคลประสิทธิ์ ได้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๖๑ หลังจากพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ อดีตที่รองเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวดง เป็นการดำหริริเริ่มของ พระสมุห์วิรัจ ธมฺมธีโร เจ้าคณะตำบลหัวดง - ฆะมังเขต ๒ เจ้าอาวาสวัดหัวดง รูปปัจจุบัน ประดิษฐานที่วัดหัวดง ตำบลหัวดง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประดิษฐานอยู่ระหว่าด้านหลังพระอุโบสถหลังใหม่ และพระอุโบสถหลังเก่า เป็นจิตกรรมร่วมสมัย ระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง แตกต่างกับเจดีย์องค์อื่นที่ตรงยอดพระเจดีย์เป็นองค์พระปางสมาธิเพชร มีหงส์เป็นสัตว์ในตำนานที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนาทางภาคเหนือ พระเจดีย์พระสุทัสสีมงคลประสิทธิ์ สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกนึกหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ อดีตที่รองเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวดง เป็นที่บรรจุอัฐิ(กระดูก)ของหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ไต้ฐานองค์พระปางสมาธิเพชร ด้านล่างมีเจดีย์บริวารไว้ใส่เถ้ากระดูกของผู้ที่เสียชีวิตที่ญาติได้ทำบุญถวายปัจจัยในการร่วมสร้าง ด้านในองค์พระเจดีย์มีรูปเหมือน หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ประดิษฐานอยู่เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่แวะผ่านเข้ามา และ ชาวบ้านได้สัการะกราบไหว้ เมื่อครบรอบในวันที่ ๒๑ เมษายน ของทุกปี จะมีการจัดทำบุญครบรอบวันมรณภาพ

ในปัจจุบันได้ใช้สถานที่บริเวณพระเจดีย์เป็นสถานที่จัดงาน ซึ่งมีรูปทรงที่สวยงามเพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนและคนที่มาเยี่ยมชมวัดหัวดง