สวนสมุนไพรและสวนเกษตรทฤษฎีใหม่

แหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นและหมอพื้นบ้านของชาวตำบลนางัว

ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว รวมทั้งคนในชุมชน จากวิธีการสังเกต การทดลองใช้หรือการลองผิดลองถูก โดยมีการเก็บสั่งสมประสบการณ์ต่าง ๆ จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือได้รับการถ่ายทอดและมีการสืบทอดองค์ความรู้นี้จากคนรุ่นก่อนมาสู่คนรุ่นหลังเรื่อยมา จนกลายเป็นรากฐานในการดูแลสุขภาพจนถึงปัจจุบัน (Rakraiklang, Watcharaphattankul, & Boomruen, 2017)

นายบรรจง กุณรักษ์ เริ่มเรียนรู้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ( มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถด้านสมุนไพร นานกว่า ๔๔ ปี )

เริ่มให้การรักษา ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ รวมระยะเวลาการเป็นหมอพื้นบ้าน ๒๖ ปี สถานที่ให้การรักษา บ้านเลขที่ ๒๐๑ หมู่ ๑๐ ตําบลนางัว อําเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

ปฐมบทศาสตร์แห่งการเรียนรู้ สืบทอดจากบิดา ( นายบุญ กุณรักษ์ ) บิดาขณะนี้เสียชีวิตแล้ว นายบรรจง กุณรักษ์ผู้เป็นบุตรได้เรียนรู้ตํารายาสมุนไพร คาถาการกํากับยา การประกอบยารักษาโรคกับบิดามาตั้งแต่ เยาว์วัย เริ่มตั้งแต่ช่วยเป็นลูกมือขุด ตัด ล้าง สมุนไพรให้บิดาประกอบตัวยา จดจําสิ่งที่บิดาได้บอกเล่า ยังไม่มีการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยการจดจําและการสังเกตจนมีความรู้ความเข้าใจในตัวยาสมุนไพรและวิธีการรักษารวมถึง การใช้คาถาวิชาอาคมในการกํากับยาสมุนไพรและการใช้คาถารักษาโรคควบคู่กันไปด้วย ซึ่งนายบรรจง กุณรักษ์ ได้นำความรู้ที่ได้สืบทอดมาจากบิดา ลงมือปลูกสมุนไพรที่จำเป็นต้องใช้ในรักษาที่เป็นตัวยาต่างๆ และยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ และยังทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาดูงาน เรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และผู้คนที่สนใจจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันนี้ นายบรรจง กุณรักษ์ ยังได้ทำ สวนสมุนไพรและสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้คนในตำบลชาวนางัวและพื้นที่ใกล้เคียง ให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ในลักษณะของการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้ เฉพาะในห้องเรียน ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชนจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะก่อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและ จับต้องได้ทั้งนี้ ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ไม่ได้มีเฉพาะต่อสมาชิกในชุมชนเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้เพื่อดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลชุมชนที่เป็นระบบ นับได้ว่า สวนสมุนไพรและสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ นายบรรจง กุณรักษ์ เป็นแหล่งการศึกษาตลอดชีวิตที่ประชาชนชาวนางัวและตำบลใกล้เคียง สามารถหาความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ซึ่งภายในแหล่งเรียน มีกิจกรรมการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ อาทิ

- ด้านเกี่ยวกับหมอสมุนไพรพื้นบ้าน การรักษาด้วยยาสมุนไพร การปลูกสมุนไพร

- กิจกรรมการเรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน เช่น การทำปุ๋ยหมัก การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย การเพาะเห็ด เป็นต้น

ดังนั้น นับว่าแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพรและสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลนางัว เป็น แหล่งเรียนรู้ที่เก็บรวมรวม ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ตามอัธยาศัย

ขอบคุณข้อมูลจาก

การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน,สายจิต สุขหนู , กลุ่มสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ Rakraiklang, Watcharaphattankul, & Boomruen, 2017


กศน.ตำบลนางัว สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแพง

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม

โทร. 042-519069 หรือ 095-6699215 E-Mail tumbon.nagua299@gmail.com