ขวัญนาค

การทำขวัญนาค

เข้าพรรษา เป็นฤดูที่ชายหนุ่มชาวพุทธประเทศไทยเราจำนวนมากจะเข้าโบสถ์ บวชเป็นพระกันเพื่อจำพรรษาเป็นเวลาหนึ่งไตรมาส แม้ว่าจริงๆ แล้ว การบวชนั้น ปัจจุบันส่วนมาก จะทำตามความสะดวก ซึ่งมหาเถรสมาคมออกกฎว่า ถ้าจะบวชนั้นต้องอย่างน้อยขั้นต่ำ ๑๕ วัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องดีเพราะบวชแค่ ๗ วันนั้นแทบไม่ได้อะไรเลย บวชไปทำไมก็ไม่รู้ เพราะว่าหลายๆ วัด ไม่ได้มีหลักสูตรการเรียนระหว่างบวชของพระนวกะ ก็จะเข้ารอยคำโบราณที่ว่าบวชตามประเพณี บวชหนีสังสาร (วัฎฎ์) บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชเลื่อนลอย และบวชคอยงานใหญ่ เป็นต้น

บวชนาค ทำขวัญนาค

ทำขวัญนาค คือ กระบวนการก่อนการบวชนาค ก่อนเข้าพิธีอุปสมบท ซึ่งหากไม่มีพิธีบวชนาคแต่มีการแต่งชุดขาวโกนหัว ก็เรียก นาค เช่นกัน ในการทำขวัญนาคนี้ คนทำหน้าที่คือ หมอขวัญ และสิ่งของที่ต้องใช้ประกอบในพิธีทำขวัญนาค ได้แก่

๑. บายศรี ๕-๗ ชั้น ไม้ไผ่ผ่า ๓ ซีก สำหรับขนาบบายศรี

๒. ใบตอง (ตัดทั้งก้าน) ๒ ก้าน สำหรับหุ้มบายศรี

๓. ผ้าแพร หรือผ้าสี หุ้มบายศรี ๑ ผืน

๔. เทียนเวียน ๙ เล่ม เทียนทำพิธี ๒-๓ เล่ม

๕. ขันน้ำมนต์ ๑ ขัน ขันใส่ข้าวสาร ๑ ขัน ใบพลู ๗ ใบ

๖. เครื่องกระยาบวช (ขนมต้มแดง ต้มขาว ข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม) ใส่ถ้วยที่มีบายศรีปากชาม ๑ สำรับ

๗. มะพร้าวอ่อน ๑ ผล แป้งหอม น้ำหอมเจิมหน้านาค

๘. พานกำนล ประกอบด้วย พานดอกไม้ หมาก ๕ คำ ยาสูบ (บุหรี่) เหล้าขาว ๑ ขวด เงิน ๑๒ บาท

๙. ธูป ๓ ดอก หรือ ๕-๗ ดอกก็ได้

สิ่งของเหล่านี้ ทางหมอขวัญ ผู้ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมจะเตรียมมาให้เสร็จสรรพ ซึ่งมักจะรวมอยู่ในค่าครู พร้อมวงดนตรีบรรเลงประกอบ

ในพิธีหมอขวัญจะเชิญ พ่อนาค บิดา มารดาและญาติทั้งหมดที่มาร่วมงานเข้ามายังบริเวณพิธี แล้วขับลำนำเปิดพิธีกรรมด้วย ทำนองแหล่ มีเกริ่นนำสาธยายอานิสงส์ที่ทุกฝ่ายพึงจะได้รับในการบวชพระ แล้วจึงร้องทำนองเชิญเทวดา บูชาครู เคารพคุณและยกย่องเกียรติยศของพ่อนาค และอาจจะบิดามารดาครอบครัวของพ่อนาคด้วย

สิ่งของเหล่านี้ ทางหมอขวัญ ผู้ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมจะเตรียมมาให้เสร็จสรรพ ซึ่งมักจะรวมอยู่ในค่าครู พร้อมวงดนตรีบรรเลงประกอบในพิธีหมอขวัญจะเชิญ พ่อนาค บิดา มารดาและญาติทั้งหมดที่มาร่วมงานเข้ามายังบริเวณพิธี แล้วขับลำนำเปิดพิธีกรรมด้วย ทำนองแหล่ มีเกริ่นนำสาธยายอานิสงส์ที่ทุกฝ่ายพึงจะได้รับในการบวชพระ แล้วจึงร้องทำนองเชิญเทวดา บูชาครู เคารพคุณและยกย่องเกียรติยศของพ่อนาค และอาจจะบิดามารดาครอบครัวของพ่อนาคด้วย

ในการแหล่ทำขวัญนาค บทที่ต้องเน้นย้ำเป็นเรื่องใหญ่เพื่อให้นาคได้สำนึกบุญคุณมารดาผู้ให้กำเนิดคือการกล่าวถึงตอนปฏิสนธิ การกำเนิดเกิดมาของคนเรา ให้รู้ถึงบุญคุณของบิดามารดา ด้วยท่วงทำนองที่เหมาะสม อธิบายการเลี้ยงดูอุ้มชูมาตั้งแต่ยังเยาว์จนถึงวันนี้ถึงตอนนี้ ถ้าหมอขวัญพรรณนาเก่ง ขับลำนำได้อารมณ์ ก็ถึงกับเรียกน้ำตาพ่อนาค ครอบครัว และผู้มาฟังหลากหลายได้เลยทีเดียว ได้อารมณ์กันพอเพียงแล้ว หมอขวัญจึงเลี่ยงมากล่าวถึงนามนาค หรือสำเภาทองของนาค เส้นทางของการบวชพระที่เกิดจากความมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นทำนองสอนนาค ให้ข้อคิดในกิจของสงฆ์ ข้อควรปฏิบัติข้อห้ามที่ต้องระวัง ตามด้วยเชิญขวัญนาคด้วยทำนองเสนาะหรือทำนองอื่นที่ทดแทนกันได้อย่างซาบซึ้งใจ หลังจากนั้นจึงกล่าวถึงบายศรีและสิ่งของที่นำเอามาใช้ประกอบพิธีว่าทดแทนอะไรกันบ้าง จนกระทั่งเข้าสู่พิธีให้นาคถือพานเข้ามากราบขอขมาญาติพี่น้องที่ยังนั่งรออยู่ในพิธี บางท้องที่อาจเป็นการใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือให้พ่อนาคแล้วให้ศีลให้พร ซึ่งคำเหล่านี้เป็นลักษณะ “พูดร้องท่องคาถา” พูดเป็นการแนะนำสั่งสอน อบรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ร้องเป็นการสอดแทรกเพิ่มเติมในเกล็ดย่อยที่ออกนอกเหนือจากเนื้อหาไปบ้าง ก็ตามแต่ความเชี่ยวชาญในการแต่งบทขับแหล่ของหมอขวัญแต่ละคน อาจมีลากยาว นอกเรื่องไปบ้างก็ถือว่าเป็นสีสันที่คนร่วมงานชื่นชอบ ซึ่งนักร้องลูกทุ่งชื่อดังหลายคนที่มีอาชีพเสริม คือ รับทำขวัญนาค ด้วย เช่น ชัยชนะ บุญญโชติ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ชินกร ไกรลาศ, สวนสน มนต์สวรรค์, ขวัญจิตร-ขวัญใจ ศรีประจันต์, และทศพล หิมพานต์