การทำบุญตักบาตรวัดคลองตันราษฎร์บำรุง

การทำบุญตักบาตรนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมา บิณฑบาต ก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมาการตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า 2 คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับ เดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วย ประการหนึ่ง

บาตร ถือเป็นภาชนะจำเป็นของพระภิกษุจะขาดเสียมิได้ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจำนวนบริขาร 8 ตามปกติ พระจะไปอยู่ที่ใดจะต้องมีบาตรประจำตัวไปด้วย และการออกบิณฑบาตต้องออกในช่วงเวลาเช้ามืด (ประมาณ 5 นาฬิกา) จนถึงก่อน 7 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุฉันอาหารมื้อเช้า โดยปกติพระภิกษุสามเณร จะเดิน เรียงลำ ดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน และเมื่อมีคนให้ทาน (ใส่บาตร) พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งใด แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของที่จะนำมา ใส่บาตร ควรเป็นอาหาร เพื่อให้พระฉันได้ เช่น ข้าวสุก กับข้าวที่ปรุงสุกแล้ว โดยจุดประสงค์ของการบิณฑบาตร คือ ต้องการอาหาร มาเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ และเพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อน ามาบริโภคตามใจปรารถนา ดังนั้นจึงไม่ควรใส่มากจนเหลือเฟือ และอาหารที่ใส่ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

การตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือ เป็นครั้งคราวก็ได้ โดยวัตถุประสงค์ของการตักบาตร นอกจากจะเป็นการให้ทาน และเพื่อบูชาคุณแล้ว ยังเป็นการ ส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม และส่งเสริมคุณความดีของ ผู้ปฏิบัติทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร

เมื่อพระภิกษุสามเณร ต้องออกบิณฑบาตตอนเช้าทุกวัน ชาวบ้านก็ตักบาตรทุกวัน แต่บางคนก็จะทำบุญ ตักบาตรเฉพาะในวันเกิดโดยมักจะตักบาตรพระจำนวนเท่าอายุ หรือเกินกว่าอายุ หรือถ้าเป็นวันสำคัญทางศาสนา ก็มักจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด แต่บางคราวเช่นในเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ จะมีการชุมนุมตามที่ที่กำหนดไว้ เช่น สนามหลวง พุทธมณฑล ในโรงเรียน ในสถาบัน หรือ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการตักบาตรที่มีชื่อ เฉพาะอีก เช่น ตักบาตรเทโว ตักบาตรข้าวสาร ตักบาตรดอกไม้ธูปเทียน ตักบาตรข้าวหลามจี่ เป็นต้น

การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติเพราะเป็นการส่งเสริมพระภิกษุสามเณร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชน ถือเป็นการสืบต่อ พระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร อีกทั้งยังเป็นการสร้างกุศล และแผ่ส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งชาวพุทธเชื่อว่า อาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการตักบาตร

· คำว่าตักบาตรนั้น หลายคนสงสัยว่าควรเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตร ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยา อาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ มากขึ้น เมื่อถึงเวลาตักบาตรจึงมักจะนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เพื่อความสะดวกในการ หยิบของ ดังนั้นคำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าสมารถ ใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง

การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประชาชนตำบลเกษตรพัฒนาจะนำข้าวปลาอาหาร มาใส่บาตรที่วัดคลองตันราษฎร์บำรุง เป็นประจำ


วัฒนธรรมการทำบุญตักบาตรวัดคลองตันราษฎร์บำรุง