อาชีพเกษตรกร

เกษตรกรบ้านคลองยาง

ชาวบ้านในระแวกบ้านคลองยาง และหมู่บ้านใกล้เคียงส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกร อาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดี ๆ ได้ทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด

จำแนกประเภทเกษตรกรในพื้นที่คลองยาง

ด้านการปลูกพืชผล

เป็นกลุ่มอาชีพที่พบเจอได้มากสุด งนี้จะแยกย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชผลชนิดนั้น ๆ

พืชนา

พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกนาข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้เมื่อหมดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเกษตรด้านอื่น ๆ ได้

พืชไร่

กลุ่มพืชที่ต้องอาศัยพื้นที่ในการปลูกเยอะ แต่พืชจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ขั้นตอนการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก พืชบางชนิดปลูกแค่ 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที เช่น อ้อย, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, ถั่วหลากชนิด เป็นต้น

พืชสวน

กลุ่มพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะเหมือนกับพืชไร่ แต่ต้องอาศัยการใส่ใจดูแลมากกว่า มีระยะเวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า แต่มูลค่าก็สูงตามประเภทของสายพันธุ์นั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน

ด้านปศุสัตว์

ชาวบ้านที่ทำนาก็จะเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เพื่อใช้แรงงาน หรือสร้างผลผลิตรูปแบบอื่น ๆ ทว่าในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยตรงก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เลี้ยงไว้ใช้ทำประโยชน์ในด้านแรงงานเพียงอย่างเดียว โดยแยกประเภทการทำเกษตรด้านปศุสัตว์ไว้ดังนี้

ด้านอาหาร

เป็นกลุ่มปศุสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ขึ้นมาเพื่อใช้ทำเป็นอาหารโดยตรง เช่น ฟาร์มหมู, ฟาร์มวัว, ฟาร์มไก่, ฟาร์มปลา ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้เมื่อเจริญพันธุ์เหมาะสมกับการขายก็จะนำไปทำเป็นเนื้อสัตว์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป

ด้านความสวยงาม

การเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้มักถูกเรียกว่า การเพาะพันธุ์ คือ พยายามเพาะพันธุ์สัตว์ที่มีความสวยงามให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น เช่น บรรดานกชนิดต่าง ๆ, สุนัข, ไก่

ด้านการประมง

ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีแหล่งน้ำให้เกษตรกรได้หารายได้เลี้ยงชีพกันมาโดยตลอด

ประมงน้ำจืด

เป็นอาชีพเกษตรกรที่ใช้การหาสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ, ลำคลอง, บึง, หรือการสร้างบ่อ โดยสัตว์น้ำในกลุ่มประมงน้ำจืดก็มีหลายชนิดโดยเฉพาะปลา เช่น ปลาช่อน, ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลานิล, ปลาไน, ปลาไหล

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=33