ประเพณีบุญข้าวสาก

บุญข้าวสาก เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็น ประจำทุกปีของประเพณีสิบสองเดือน หรือ "ฮิตสิบสอง” (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน


ขั้นตอนประเพณี "บุญข้าวสาก”

เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วนกุศลด้วย

ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ วันขึ้น 13 – 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำบุญ

สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใครีนับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญ

เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ตอนเช้า ชาวบ้าน จะพากันนำอาหารคาวหวานต่าง ๆ ไปทำบุญตักบาตร ที่วัด โดยพร้อมเพรียงกัน และถวายทานอุทิศส่วนกุศล ให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว

ตอนสาย ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ เป็นข้าวสาก ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เอาอาหารต่าง ๆ จัดเป็น สำหรับหรือชุดสำหรับถวายทาน หรือถวายเป็นสลากภัต โดยจัดใส่ภาชนะต่าง ๆ แล้วแต่ความนิยม ของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจัดใส่ถ้วยหรือบางแห่งใช้ทำ เป็นห่อทำเป็นกระทงด้วยใบตองกล้วย หรือกระดาษ แต่ละบ้านจะจัดทำสักกี่ชุดก็ได้ตามศรัทธา ก่อนที่จะถวาย ข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าวคำถวายข้าวสาก หรือสลากภัตพร้อมกัน

เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ช้าวบ้านที่ไปร่วมพิธี ยังนิยมเอาชะลอมหรือห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย (ผู้จัดทำ ก็เคยทำสมัยเป็นเด็กกับมารดา)

ภายหลังจากการถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร และนำอาหารไปวางไว้ตามบริเวณวัดเสร็จแล้ว ก็มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสาก และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้เปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่มีนา จะนำข้าวสากไปเลี้ยง "ตาแฮก” ที่นาของตน เพื่อให้ตาแฮกรักษานาและให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : ความเป็นมาของ ประเพณีบุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ), สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม https://www.m-culture.go.th/mahasarakham/ewt_news.php?nid=2710