เนื้อหา....วัฒนธรรมในชุมชน

หน่วยที่ 1 วัฒนธรรมในชุมชน

วัฒนธรรม ตรงกับคําภาษาอังกฤษว่า “culture” มาจาก ภาษาลาติน คือ cultura ซึ่งแตกมา จากคําว่า colere หมายถึง การเพาะปลูกและบํารุงให้เจริญงอกงาม (cultivate) ในสังคมไทยคําว่า วัฒนธรรม ได้ถูกนิยามโดยรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต คําว่า วฒฒน (วัฒน) หมายถึง ความเจริญ งอกงาม ส่วน ธรม (ธรรม) หมายถึง ความดี ความงาม กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ เมื่อรวมกันเป็นวัฒนธรรม หมายถึง ความดี

ความสําคัญของวัฒนธรรม

• 1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัย 4 ใน การครองชีพ

• 2. เพื่อความเรียบร้อยของสังคม ได้แก่ การปกครอง

• 3. เพื่อผลทางจิตใจ ได้แก่ ศาสนา

• 4. เพื่อความสดชื่นในชีวิต ได้แก่ สุนทรียภาพ

• 5. เพื่อการสื่อสารความรู้ ได้แก่ การศึกษา

ประเภทของวัฒนธรรม

• วัฒนธรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

• 1.Material Culture : รูปธรรม หรือ วัตถุธรรม เป็นวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ (tangible culture)

• 2.Non-material Culture : นามธรรม เป็นวัฒนธรรมที่สัมผัส ไม่ได้ (intangible culture) หรือวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น สถาบันทางสังคม ค่านิยม ภาษา ฯลฯ แบ่งเป็น

2.1 คติธรรม เกี่ยวข้องกับคุณงามความดี จิตใจหรือคุณธรรมในชีวิต

2.2 เนติธรรม เกี่ยวกับประเพณีและกฎหมาย

2.3 สหธรรม เกี่ยวข้องกับมารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

แหล่งวัฒนธรรมในชุมชนที่ใกล้นักนักเรียน เช่น วัด ตลาด พิพิธภัณฑ์ มัสยิด โบสถ์คริสต์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะมีลักษณะเฉพาะของไทยที่ แตกต่างจากประเทศอื่นแล้ว ยังบ่งบอกถึงความเป็นมา และวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาในอนาคตจนถึงปัจจุบัน เช่น

วัด ประกอบไปด้วยโบราณ โบราณวัตถุ ที่มีความงดงามของสถาปัตยกรรมไทย ในแต่ละยุคสมัย เช่น โบสถ์หลังเก่า จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์

พระธาตุดอยสุเทพ

การมีวัฒนธรรมที่หลากหลายเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากคนต่างชาติเข้ามาเพื่อเยี่ยมชม ความงดงาม ของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่คนในท้องถิ่น และประเทศ เราทุกคนควรภูมิใจ และช่วยกันดำรงไว้ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้อยู่คู่กับท้องถิ่นตลอดไป