การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยศาสตร์

ประวัติความเป็นมา

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยศาสตร์

กลุ่มงานศัลยศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้รับการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมจากแพทยสภา และเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2522 (ปีการศึกษา 2523) โดยเริ่มแรกเป็นหลักสูตร 3 ปี ต่อมาในปีการศึกษา 2545 แพทยสภาและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยได้เพิ่มระยะเวลาการฝึกอบรมเป็น 4 ปี

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี นับเป็นสถาบันฝึกอบรมที่ผลิตกุมารศัลยแพทย์สำเร็จและรับวุฒิบัตรเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปีการศึกษา 2524

คือ ผศ.นพ.ดุสิต วีระไวทยะ และ นพ.รักเกียรติ เมืองสมบัติ โดยขณะนั้นมีอาจารย์แพทย์ 4 ท่าน ได้แก่ อ.นพ.ศรีวงศ์ หะวานนท์ (หัวหน้าแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลเด็กในขณะนั้น โดยดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2514 - 2528) อ.นพ.อนันต์ สุวัฒนวิโรจน์ (อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พ.ศ. 2536 - 2540) อ.นพ.สุขวัฒน์ วัฒนาธิษฐาน

(อดีตหัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์ พ.ศ. 2534 - 2544) และอ.นพ.ดิลก ภูมิจิตร (อดีตหัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อคนแรก)

อาจารย์แพทย์กลุ่มงานศัลยศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการ และพัฒนาระบบการเรียนการสอนของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตกุมารศัลยแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปสร้างหน่วยงานกุมารศัลยศาสตร์ของตนเอง หรือเสริมสร้างศักยภาพหน่วยงานกุมารศัลยศาสตร์ที่มีอยู่เดิมให้พัฒนา ดียิ่งขึ้นไป เพื่อรักษาผู้ป่วยกุมารศัลยกรรมทั่วประเทศไทย

พันธกิจการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยศาสตร์

1. มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางศัลยศาสตร์เป็นอย่างดี

2. มีความรู้เกี่ยวกับโรค สาเหตุ กลไกการเกิดโรค การดำเนินโรค และการวินิจฉัยโรค รวมทั้งความรู้ความสามารถในการรักษาโรคทางกุมารศัลยศาสตร์ โดยเฉพาะโรคที่พบในประเทศไทยเป็นอย่างดี

3. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผ่าตัดรักษาโรคทางกุมารศัลยศาสตร์อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

4. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติ และสามารถทำหัตถการที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งสามารถเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กทุกช่วงอายุได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

5. มีความรู้และความสามารถทางการแพทย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับกุมาร

6. มีความรู้และความสามารถพื้นฐานของการวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะการวิจัยทางคลินิก เพื่อต่อยอดความรู้ทางการแพทย์ และนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับการรักษาผู้ป่วยต่อไป

7. มีศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งใหม่และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิทัลอย่างเหมาะสม

8. เป็นกุมารศัลยแพทย์ผู้มีความรับผิดชอบ และประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม เจตคติที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กิริยาวาจาที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

9. เป็นกุมารศัลยแพทย์ที่มีศักยภาพ เมื่อจบการฝึกอบรมสามารถออกไปสร้างหน่วยงานของตนเอง ตามบริบทในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้ป่วยกุมารศัลยกรรมในพื้นที่ต่อไป


อัตลักษณ์

กลุ่มงานศัลยศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กตั้งแต่แรกเกิด

ถึง 15 ปี โดยมุ่งเน้น

1. การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ

2. การส่องกล้อง และผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic & MIS)