กลุ่มการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หมายถึง “แหล่ง” หรือ “ที่รวม” ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ

กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ตามอัธยาศัย การสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลใน ชุมชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ภายใต้สิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบ ๆ ตัว ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น จากประสบการณ์ของวิทยากรหรือ ปราชญ์ชาวบ้าน จากแปลงสาธิต จากศูนย์เรียนรู้ ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ในลักษณะของการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ที่ไม่เน้นการเรียนรู้ เฉพาะในห้องเรียน ดังนั้นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชนจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะก่อ ประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมผัสและ จับต้องได้ทั้งนี้ ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ไม่ได้มีเฉพาะต่อสมาชิกในชุมชนเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้เพื่อดําเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลชุมชนที่เป็นระบบด้วย เช่น

1. ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่มีในตําราเรียนและที่ไม่มีในตําราเรียน

2. ใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม

3. ใช้เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น

4. ใช้เป็นแหล่งสถานที่ศึกษาดูงาน ฝึกฝนอาชีพ

5. ใช้เป็นสื่อเรียนรู้ สื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีมิติ มีชีวิต เช่น จิตกรรมฝาพนัง

ร่องรอยประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา สัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน (แมลง นก ปลา ฯลฯ) เป็นต้น

6. ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล ข่าวสารทั่ว ๆ ไป รวมทั้งเป็นสถานที่ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ หรือแจ้งข้อมูลที่ต้องการสื่อไปถึงคนในชุมชน 7. ใช้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ไม่ให้ลบเลือนสําหรับสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง 8. ใช้เป็นศูนย์กลางในการดําเนินกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ เป็นศูนย์จัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นจุดรวบรวมผลผลิต พื้นที่รวมกลุ่มทํากิจกรรมของแม่บ้าน ฯลฯ

นายนเรศ ประสานสุข ผู้เขียน/ผู้ถ่ายภาพ