รายละเอียดกิจกรรม

หลักการและเหตุผล

ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม และสภาพสังคมในปัจจุบันที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาให้กับลูก อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจการทำมาเลี้ยงชีพที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ล้วนก่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้มแข็งมีเสถียรภาพ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย สะท้อนออกมาด้วยข่าวร้ายในแต่ละวัน เช่นภาพอาชญากรรม การใช้ความรุนแรง การโกหกหลอกลวง การใช้ยาเสพติดสิ่งของมึนเมา การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ที่ไต่ระดับสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนเริ่มสูญเสียหลักการที่ถูกต้อง หันไปเชิดชูค่านิยมทางสังคมแทน แรงเชี่ยวกรากเชิงวัฒนธรรมซัดกระหน่ำสำนึกเชิงศีลธรรม สำนึกแห่งความผิดชอบชั่วดี เรื่องถูกกลายเป็นผิด เรื่องผิดกลายเป็นเรื่องถูกต้องชอบธรรม

ในสภาวการณ์เช่นนี้ โรงเรียนจึงเป็นสถานีเพาะบ่มและฟื้นฟูศีลธรรมได้ดีที่สุด เป็นทางออกของปัญหาทั้งในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนที่เยาวชนเหล่านั้นจะเติบใหญ่ ก้าวเข้าสู่สังคมของการทำงาน และร่วมกันก่อปัญหารอบใหม่จนอาจเป็นวัฏจักรที่ทำให้ปัญหาสังคมพอกพูนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

กรอบความคิดเรื่อง 7 กิจวัตรความดี เป็นกระบวนการรณรงค์ให้เกิดการนำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “กิจวัตร” เมื่อมีการฝึกฝนพัฒนาบ่อย ๆ จนเกิดเป็นนิสัยที่ดีขึ้นในแต่ละบุคคล คือ “คิดดี พูดดี ทำดี” อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็จะเป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมที่สงบสุข โดยยึดหลักการที่ว่า “เปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก” คือไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดขึ้น ทุกคนสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนตนเองก่อน ทำอย่างมีความสุข ทำด้วยความเข้าใจ เมื่อทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ปรับเปลี่ยนตาม นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่นำไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ที่สูงยิ่งขึ้นไป เช่นความเคารพ ความกตัญญู ความอดทนเสียสละ เป็นตัน

โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่น ด้วย 7 กิจวัตรความดี มีรูปแบบ กิจกรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ และสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

อย่างไรก็ตาม 7 กิจวัตรความดี เป็นเพียงกรอบแนวทางปฏิบัติ ที่มีความยึดหยุ่น ผู้บริหารสถานศึกษาและคุณครูสามารถวางแผนออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้ และหากมีการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบที่ยั่งยืน ก็จะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมสังคมที่ดีให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา ที่บ้าน และส่งผลไปถึงชุมชนในที่สุด


เป้าหมายสำคัญ

7 กิจวัตรความดี

คือชุดของความดีที่นำมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย สื่อสารถ่ายทอดต่อง่าย เพื่อมุ่งหวังผลในการนำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ โดยแต่ละข้อจะเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากตั้งใจฝึกฝนปฏิบัติจนเป็นนิสัย ก็จะส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความอบอุ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

7 กิจวัตรความดี ประกอบด้วย กิจวัตรประจำวัน 6 ข้อ และกิจวัตรประจำสัปดาห์ 1 ข้อ ดังนี้

ชั่วโมงสุขจริงหนอ คือ ช่วงเวลาที่สมาชิกมาทำดีร่วมกันหรือแบ่งปันประสบการณ์การทำความดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาพลังหมู่มาเสริมพลังเดี่ยวในการทำความดี รูปแบบกิจกรรมไม่ตายตัวสามารถ ออกแบบ ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่มีกิจกรรมหลักที่ควรคงไว้คือ

ซึ่งกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอนี้ จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการทำความดีของสมาชิกให้มีความมั่นคง และ เข้มแข็งยิ่งขึ้นไป อันเป็นการนำหลักธรรมมงคลชีวิต 38 ประการ หมวดแรก ว่าด้วยการฝึกตนให้เป็นคนดีมาสู่ภาคปฏิบัติคือ

1) การไม่คบคนพาล

2) การคบบัณฑิต

3) การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

เพราะชั่วโมงนี้สมาชิกจะสนทนากันแต่เรื่องการแก้ไขตนเอง ความรับผิดชอบ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จนนำความสุขมาสู่ทั้งตนเองและคนรอบข้าง เสมือนหนึ่งทุกคนฝึกฝนขัดเกลานำเชื้อพาลออกจากตัว นำความเป็นบัณฑิตในตนมาแลกเปลี่ยนกัน พร้อมกับการเรียนรู้ว่าบุคคลใดควรยกย่องบูชาคือเลือกไอดอลหรือต้นแบบเป็น อันได้แก่ พระสัมมาพระสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี รวมบุคคลที่ทำความดีมีคุณูปการต่อประเทศชาติหรือต่อโลก แม้กระทั่งเพื่อนร่วมห้องเรียนที่ตั้งใจทำความดี เป็นต้น


ประโยชน์ในส่วนของนักเรียน