“บั้งไฟพญานาค กล้วยตาก-ลือก้อง หาดทราย แสงทอง ล้อมรอบภูเขา คือถิ่นเราชาวสังคม” คำขวัญประจำอำเภอสังคม “กล้วยตากลือก้อง” หนึ่งในคำขวัญสำคัญ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่กล้วยตากอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำจากกล้วยทั้งหมด

“กล้วย” เอกลักษณ์สำคัญของอำเภอสังคม ที่ผู้คน หรือนักท่องเที่ยวนักช้อปหลายท่าน คุ้นเคย คุ้นชิน ถึงเอกลักษณ์นี้ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ถึงที่มาที่ไป ก่อนจะมาเป็น “กล้วยตาก - ลือก้อง” หลากหลายความอร่อยนั้น มีความเป็นมาอย่างไร เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับกล้วย ที่ไม่ใช่เรื่องกล้วยเลย

“กล้วย” เป็นพืชสำคัญคู่กับคนไทยมาช้านาน หลายท้องถิ่นในประเทศไทย ต่างก็นำกล้วยมาเป็นอาหารประจำครัวเรือน ทั้งอาหารหวานคาว และยังมีวิธีเก็บถนอมรักษาไว้กินให้คู่ครัว คู่บ้าน ตลอดปี จากการแปรรูปไว้รับประทานในครอบครัว เหลือก็แบ่งปัน และนำไปสู่การค้าขาย มีรายได้เล็กน้อย หลักสิบ หลักร้อยและหลักหลายแสนต่อครัวเรือน มีการส่งเสริมจากทางภาครัฐ เข้ามาให้การสนับสนุนทั้งแหล่งเงินทุน ทั้งความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกกล้วย คัดเลือกพันธุ์ การปรับปรุงดิน และรวมไปถึงการตลาด หรือมาร์เก็ตติ้ง

“กล้วย” ฝานเป็นแว่น แช่น้ำเกลือ ตากให้แห้งเก็บไว้ทานเล่น ปรับเปลี่ยนรูปแบบ เพิ่มหน้าตา เพิ่มรสชาติให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการของตลาด จากกล้วยตากธรรมดา เป็นกล้วยตากหลากหลายรสชาติ มีส่วนผสมให้เข้ากับความชอบและข้อจำกัดของลูกค้า เช่นกล้วยตากหวานมาก หวานน้อย กล้วยตากสมุนไพร กล้วยสามรส กลัวยอบเนย กล้วยอบน้ำผึ้ง ฯลฯ ใส่กล่องแพคเกจสวยงาม จัดใส่กล่อง จัดเป็นตะกร้าเป็นของขวัญ ของฝาก แต่ยังคงเป็นสูตรเฉาะของอำเภอสังคม นอกจากนี้ด้านการตลาดที่ทางราชการเข้ามาส่งเสริมโดยการจัดทำเป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วย กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสนใจ กลุ่มอาชีพ สร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับชุมชน ปีละหลายล้านเลยทีเดียว

“กล้วย” หลากหลายสายพันธุ์ที่เกษตรกรนำไปปลูก ขึ้นอยู่กับว่า เกษตรกรต้องการปลูก เพื่อใช้กล้วยไปทำอะไร เช่น เกษตรกรบางรายปลูกกล้วยเพื่อใช้สำหรับตัดก้าน(ใบตอง)เพื่อขายใบเท่านั้น ซึ่งก็มีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน ทำรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของสวน ปีละหลายหมื่นบาท (นำไปใช้กับโรงงานหมูยอ จังหวัดอุบลราชธานี โรงงานหมูยอมุกดาหาร โรงงานหมูยอหนองคาย ฯลฯ)

“กล้วย”มีหลากหลายสายพันธุ์ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป รูปร่างลักษณะ สี กลิ่น รวมทั้งรสชาติ ก็มีความแตกต่างกันไปด้วย จากเดิมนั้น ชาวบ้านในอำเภอสังคมนิยมปลูกกล้วยน้ำว้า เพื่อนำมาทำกล้วยตาก และขายเป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการปลูกกล้วยมากมายหลายชนิด และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กลัวยหักมุก กล้วยตีบ ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาแปรรูปที่หลากหลายแล้ว ก็จะได้รสชาติที่หลากหลายเช่นกัน หรือแม้แต่กล้วยสดๆ ก็มีวางขายให้เห็นตลอดเส้นทางของอำเภอสังคมอีกด้วย

นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน สามารถชิม ช้อป เป็นของฝากได้ ซึ่งร้านค้าของฝากของที่ระลึกมีอยู่ทั่วไป หาซื้อได้ง่าย ตามโรงแรม รีสอร์ทที่ท่านเข้าพัก ก็สามารถหาซื้อได้ที่เคาเตอร์ของโรงแรม มีแพกเก้จที่สวยงาม ทันสมัย เหมาะที่จะทำเป็นของฝากมากๆเลยทีเดียว หรือหากท่านใดที่ไม่มีโอกาสได้มาชม มาเที่ยวที่อำเภอสังคม ก็สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากกล้วยผ่านช่องทาง....ได้เช่นกัน รับรองว่า ราคาไม่ชาร์จและรสชาติดั้งเดิม ในรูปแบบอำเภอสังคม “กล้วยตาก-ลือก้อง” Original “sure”