ประวัติรัชกาลที่1-10

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่ 1)

พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก อีกทั้งพระราชวังเดิมมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากติดวัดอรุณราชวราราม และวัดโมฬีโลกยาราม ส่วนทางฝั่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเหมาะสมกว่าตรงที่มีพื้นแผ่นดินเป็นลักษณะหัวแหลม มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี

การสร้างราชธานีใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ ปี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พศ.๒๓๒๕ และโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระบรมมหาราชวัง สืบทอดราชประเพณี และสร้างพระอารามหลวงในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการสร้างเมืองและพระบรมมหาราชวังเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และศิลปะกรรมดั้งเดิมของชาติ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานนามแก่ราชธานีใหม่นี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรา ยุทธยา มหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้ สร้างสิ่งต่างๆ อันสำคัญต่อการสถาปนาราชธานีได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่างๆ มากมาย

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่ 2)

ด้วยในระยะแรกของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเล ที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมืองปากลัดโดยทรงมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด (ปัจจุบัน คือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ) พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนี้ยังทรงให้กรมหมื่นมหาเจษฏาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้าง ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติม ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ด้วยการที่จะป้องกันมิให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล

ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยหลายครั้งเริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จเสวยราชย์ได้เพียง 2 เดือน ในขณะนั้นกาตริย์พม่าพระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพพม่า 2 นาย คือ แม่ทัพเรืออะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีประเทศไทยทางหัวเมืองชายทะเลทางด้านตะวันตก และสามารถตีได้เมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่า และได้ล้อมเมืองถลางไว้ก่อนที่กองทัพไทยจะยกลงไปช่วย แต่เมื่อกองทัพไทยได้ยกลงไปช่วยก็สามารถพม่าแตกพ่ายไป ส่วนทางด้านทัพบก พระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพสุเรียงสาระยอ ยกกำลังมาทางบก เพื่อเข้าตีหัวเมืองทางด้านทิศใต้ของไทยและสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนองและกระบี่ พระบาทสมเด้จพระพุทะเลิศหล้านภาลัยได้ส่งกองทัพและเกิดปะทะกับกองทัพที่ยกลงไปช่วย ทหารพม่าสู้กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็แตกถอยหนีกลับไป

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2363 พระเจ้าปดุงกษัตริย์ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง ก็คิดจะยกทัพมาตีไทยอีกโดยสมคบกับพระยาไทรบุรี ซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมี่อทราบว่าฝ่ายไทยจัดกำลังทัพไปเตรียมรับศึกอย่างแข็งขันตามช่องทางที่พม่ายกเข้ามาพม่าเกิดกลัวว่าจะรบแพ้ไทย จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา พอดีกับพม่าติดการสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีก

ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบริหารบ้านเมือง โดยการให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่าง ๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชาย เหลือเพียงปีละ 3 เดือน (เข้ารับราชการ 1 เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก 3 เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่นมีหน่วยราชการสังกัดแน่นอก โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรูความสามารถได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้จึงปรากฎพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น

และด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี มีคุณภาพ จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติ เรื่อง ห้างเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชนและกัดเพื่อการพนัน กับออกพระราชกำหนดห้าใสุบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ

ในช่วงที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติใหม่ ๆ นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต ราชโอรสในพระเจ้าตากสินมหาราชกับพวก ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยาพนเทพ บุนนาค) โอรสทั้ง 6 พระองค์ของกรมขุนกษัตรานุชิต รวมทั้งพระราชโอรส กับพระราชธิดาอีกหลายพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คิดกบฎชิงราชสมบัติ ทรงโปรดให้ทำการสอบสวนเมื่อปรากฎว่ามีความผิดจริง จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเสียทั้งหมด

ด้านการบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนาสถาน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดชัยพฤกษ์มาลา วัดโมฬีโลก วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่สระบุรี ที่สร้างค้างไว้ ตั้งแต่เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถ พระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล

ในปี พ.ศ. 2353 ได้ทรงจัดสมณทูตจำนวน 8 รูป ออกไปยังประเทศลังกาเพื่อค้นหาพระไตรปิฏกซึ่งชำรุดเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยามาเพิ่มเติมและตรวจสอบกับพระไตรปิฎกฉบับที่มีการสังคายนาใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาดลก พร้อมกับดูความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา เม่อคณะสมณฑูตกลัยมาได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งถือกันว่าเป็นเชื้อสายของต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่พระพุทธคยาในอินเดียและได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปลูกที่เมืองนครศรีธรรมราช 2 ต้น ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม 1 ต้น ที่วัดสระเกศ 1 ต้น และที่เมืองกลันตันอีก 1 ต้น

การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ในรัชกาลนี้ทรงรุ่งเรืองเป็นอันมาก โดยทรงโปรดให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค ถึง 9 ประโยค ทำให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น กับได้ทรงออกพระราชกำหนดให้พลเมืองทำวิสาขบูชา ห้ามล่าสัตว์ 3 วัน และตั้งโคมแขวนตั้งเครื่องสักการะบูชา รักษาอุโบสถศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับพระธรรมเทศนาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

ด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมเนื่องด้วยภาพที่ทรงแกะสลักนั้น ทั้งสัตว์ต่ างๆเช่น เสือ หมี ช้าง นกและพืชพรรณไม้ ดูเหมือนจะสามารถเคลื่อนไหวได้จริง ๆ ได้ทรงแกะสลักศรีษะหุ่นด้วยไม้สัก 1 คู่ เรียกว่า พระยารักน้อยและพระยารักใหญ่ ในปัจจุบันงานศิลปะทั้ง 2 ชิ้นนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ได้ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระประธานวัดอรุณราชวรารามด้วยพระองค์เองอีกด้วย

ด้านดนตรี

ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดนตรีทั้งในการสร้งเครื่องดนตรีและการเล่นพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในการสีซอสามสาย ได้พระราชทานซอคู่พระหัตถ์ว่า ซอสายฟ้าฟาด และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือ เรียกว่าเพลงพระสุบินนิมิต ซึ่งเป็นที่ไพเราะและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านวรรณคดี

อาจกล่าวได้ว่า รัชสมัยของพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงกวีเอก ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่า รามเกียรติ์ ตอนลักสีดา จนถึงวานรถวายพล ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ ตอนนางลีดาลุยไฟ ได้ทรงปรับปรุงจากบทความเดิมให้มีความไดเราะเหมาะสำหรับการแสดงดขน และได้ทรงพระราชนิพนบทพากย์โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ตอนศึกอินทรชิตหักคอช้างเอราวัณ เป็นบทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วพบนางพิมพ์ ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง

ส่วนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อิเหนา นั้นทรงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีใสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป้นยอกของกลอนบทละครรำ ด้วยเป็นเนื้อเรื่องที่ดีทั้งเนื้อความและทำนองกลอน

ส่วนบทละครนอก พระสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาด้วยกัน 1 เรื่อง ได้แก่

1.ไชยเชษฐ์ เป็นเรื่องราวเสียดสีในราชสำนัก

2. สังข์ทอง เค้าเรื่องเกี่ยวกับการเสียดสี่เรื่องราวในพระราชสำนัก

3. มณี

4. ไกรทอง เดิมเป็นนิทานพื้น

5. คาวี มีเนื้อเรื่องเหมือนกับเสือโคคำฉันท์

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่อง กาพย์เห่เรือขมเครื่องคาวหวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลงใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 58 ตอน คือเห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็นบทเห่นี้เข้าในกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ในเรื่องการทำอาหาร

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก และรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

และเนื่องด้วยในรัชกาลนี้ มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง 3 เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ทำเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง ซึ่งใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ 6

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดำเนินนโยบายการบริหารประเทศแบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ทำให้ในรัชสมัยของพรองค์ปราศจากสงครามประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุขสงบ และในรัชสมัยนี้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นมีความมั่นคงและเจริญขึ้นเป็นอย่างดี

ในปี พ.ศ. 2352 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราช ทรงเสด็จสวรรคตพระเจ้าเยียลอง พระเจ้าแผ่นดินญวน ได้ส่งทูตเข้ามาถวายบังคมพระบรมศพ พร้อมกับมีพระราชสาสน์มาขอเมืองพุทไธมาศคืน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่าไทยมิได้ส่งทหารไปดูแลเลยจึงทรงตกลงคืนให้ ทำให้สัมพันธภาพกับญวนเป็นไปได้ด้วยดี

สมเด็จพระอุทัยราชาเจ้าเขมร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้การอุปถัมภ์นั้น เกิดผูกใจเจ็บกับไทยตั้งแต่ถูกติเตียนเรื่อง ที่อุกอาจเข้าเฟ้าโดยพลการ จึงมีความคิดที่จะกระด้างกระเดื่องต่อประเทศไทย โดยเริ่มจากการไม่เข้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราชด้วยตนเอง และเมื่อคราวกรุงเทพฯ มีศึกกับพม่าก็ไม่ยอมยกทัพมาช่วยเหลือ แลละสมเด็จพระอุทัยราชาก็หันไปพึ่งอำนาจจากญวนแทน โดยแม้จะส่งเครื่องราชบรรณาการมายังไทย แต่อำนาจของไทยในเขมรก็เสื่อถอยลงตามลำดับเป็นต้นมา

เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช ได้แสดงความจงรักภักดีตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยดี โดยช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลหัวเมืองของไทยในแถบนั้นจนสิ้นรัชกาลที่ 2

เพื่อให้การติดต่อค้าขายกับประเทศจีนเป็นไปได้โดยสะดวก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงแต่งตั้งทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าเจี่ยเข่ง พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์เซ็ง ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาพระเจ้าเจี่ยเข่งสิ้นพระชนม์ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งราชทูตไทยไปเคารพพระบรมศพ และเจริญพระราชไมตรีต่อพระเจ้าตากวางได้สืบราชสมบัติแทน

โปรตุเกสกับไทยได้เคยมีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อบ้านเมืองเกิดสงครามกับพม่า โปรตุเกสก็พากันออกไปค้าขายที่เมืองอื่น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2363 พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสก็ได้ส่งทูตเข้ามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เนื่องในมหามงคลสมัยครบรอบ 200 ปีแห่งการเสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 2310 มูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ขึ้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจุดเด่นของอุทยานแห่งนี้ คือ เรือนไทยภาคกลางขนาดกลาง 5 หลัง เป็นแบบเรือนไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์และหอสมุด เรือนไทยที่เป็นพิพิธภัณฑ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรือนไทยแฝดหลังกลางเป็นเรือนประธานจัดแสดงศิลปวัตถุที่นิยมกันในสมัยนั้น โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 2 เช่น เครื่องเบญจรงค์ หัวโขน ตัวหุ่นกระบอกนางผีเสื้อสมุทร เป็นต้น เครื่องใช้ประจำวัน เช่น โม่หินใช้สำหรับโม่แป้ง หินบดยา ขันสาคร เป็นต้น

เรือนต่อไมาได้จัดแสดงตู้หุ่นวรรณคดีตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ละตู้มีความสวยงามและประณีต บทละครที่นำมาจัดแสดง ได้แก่ สังข์ทอง ตอนพระสังข์เที่ยวชมปราสาทนางพันธุรัตน์ ในขณะที่นางยักษ์ไม่อยู่ได้พบบ่อเงินบ่อทองจึงลองเอกนิ้วจุ่มดู ตู้บทละครนอก เรื่องมณีพิชัย จัดทำตอน พระอินทร์แปลงนางยอพระกลิ่นให้เป็นพราหมณ์ พระมณีพิชัยต้องตามนางยอพระกลิ่นเข้าไปอยู่ในป่า เพื่อลองในพระสวามี พราหมณ์จึงแปลงร่างเป็นผู้หญิงสาวออกมาเดินให้พระมณีพิชัยเห็น

ส่วนเรือนไทย 2 หลัง ทางปีกขวาจัดเป็นห้องผู้ชายไทย มีเตียงนอน อุปกรณ์เขียนอ่าน พระพุทธรูปบูชา ฉากลายจีน อาวุธ เช่น โล่ เขน เป็นต้น ปีกซ้ายจัดเป็นห้องผู้หญิงไทย มีเตียงนอนเครื่องเย็บปักถักร้อย เครื่องอัดกลีบผ้า คันฉ่อง เป็นต้น ที่ชานเรือนจัดไม้กระถางไม้ดอก อ่างบัว แบบเรือนไทยในเรื่องขุนช้างขุนแผน เรือนไทยอีกหลังหนึ่งจัดเป็นหอสมุด สร้างในน้ำตามแบบหอไตรสมัยโบราณตามวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการป้องกันปลวก แมลงและอัศคีภัย และเพื่อให้ความเย็นรักษาหนังสือหอสมุดแห่งนี้ได้รวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและผลงานของกวีร่วมสมัย เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร นายรินทร์ธิเบศร์ สุนทรภู่ เป็นต้น อุทยานแห่งนี้จึงนับว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยอย่างยิ่ง


พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่3)

กรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงได้จัดส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศสูงมาก เงินตราในท้องพระคลังที่พระองค์ทรงค้าขายได้ซึ่งเรียกขานว่า เงินถุงแดง ได้นำมาใช้เป็นค่าปฎิกรรมสงครมในปี รศ.112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทำ ให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครองแผ่นดินจากชาติยุโรป และด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงถูกขนานพระนามว่า "เจ้าสัว" นอกจากนี้พระองค์ยังทรงริเริ่มระบบการเก็บภาษีแบบเจ้าภาษีนายอากรคือมีตัว แทนเก็บภาษีทำให้สามารถเก็บภาษีเข้าสู่ท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก


ในด้านการปกครอง


ใน พ.ศ.2362 พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองสร้างเมืองสมุทรปราการให้มีป้อมปราการต่างๆ เพื่อป้องกันภัยทางทะเลทางฝั่งตะวันออก 4 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ และป้อมกายสิทธิ์ และส่วนเกาะหน้าเมืองด้านตะวันตกอีก 2 ป้อม คือ ป้อมผีเสื้อสมุทร และป้อมนาคราช และในรัชกาลของพระองค์บ้านเมืองยังคงต้องประสบปัญหากับการรุกรานจากญวนอยู่ รวมทั้งกับการล่าอาณานิคมของชาติยุโรปอีกด้วย


ในด้านการศาสนาและการศึกษา


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่ 19 วัด ทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 17 วัด ทรงบูรณะพระอารามร่วมกับเจ้านาย และข้าราชบริพานอีก 33 วัด และอื่นๆ อีกมากมายส่วนการศึกษาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เด็ก ตามโรงทานมีโอกาสศึกษา โปรดให้จารึกตำรา และวิทยาการต่างๆ ลงบนแผ่นหินประดับในวัดสำคัญหลายวัดเช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้ขื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ในรัชสมัยนี้มีตำราเรียนเกิดขึ้น 3 เล่ม คือ โคลงจิดามณี ประถม ก กา และปฐมมาลา อีกทั้งยังมีการพิมพ์หนังสือด้วยแท่นพิมพ์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย


พระราชสดุดี


จาก การที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำ เพ็ยพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ อันแสดงถึงพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาที่ทรงเห็นการณ์ไกลยังความมั่นคง เจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศไทยอย่างยากที่จะพรรณาได้ ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงกำกับงานราชการอย่างใกล้ชิด มีการตรากฎหมายที่สำคัญเช่น พระราชกำหนดโจรห้าเส้นสำหรับใช้ในการปราบโจรผู้ร้าย ทรงโปรดตั้งกลองวินิจฉัยนารีไว้ให้ราษฎร์ร้องทุกข์ ประกาศเลิกสูบฝิ่น เป็นต้น ดังนั้นคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2540 แล้ว ลงมติเห็นชอบในหลักการให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชแด่พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเหตุที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระ มหาเจษฎาบดินทร์" ซึ่งมีความหมายว่า พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2540

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่4)


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวเช่นที่เคยทำมา ต้องยอมทำการค้ากับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่ ๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีอันล้าสมัย ประมุขของประเทศไทยในภายภาคหน้าจำต้องศึกษาถึงความละเอียดอ่อน ตามความคิดเห็นทางวิทยาการทูต และการปกครองบ้านเมืองแบบตะวันตก ทรงตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ต้องทำไปอย่างรวดเร็ว สิ่งใดที่ชาติตะวันตกทำมาเป็นเวลาร้อยๆ ปี ประเทศไทยต้องทำให้ได้ในระยะเร็วกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของพระองค์เป็นการปฏิวัติที่แปลกประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะเหตุว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากประชามติหรือเกิดจากความยินยอมของคณะก้าวหน้าหนุ่มที่บังคับเอาจากพระเจ้าแผ่นดิน หากเกิดจากพระองค์เองซึ่งเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินและผู้นำคณะก้าวหน้าไปพร้อมกัน ตลอด 17 ปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนโฉมหน้าทั้งหมดของประเทศไทย (กริสโวลด์ 2511 : 2-3)

การที่พระราชาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงยอมเสียสละอย่างเต็มพระราชหฤทัย เพื่อปรับปรุงประเทศไปสู่รากฐานประชาธิปไตยสมัยใหม่ ในขณะที่ราษฎรของพระองค์เองไม่ได้เคยนึกฝันถึง สิ่งนี้เลย โดยทฤษฎีพระราชาแห่งประเทศไทย ทรงปกครองแผ่นดินตามระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงเป็นเจ้าชีวิต และประชาชนก็เป็นสมบัติของพระองค์ หากพระองค์มิได้ทรงคิดเช่นนั้น ทรงเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็น "มนุษย์" มากขึ้น ไม่ใช่เทพศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์ย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดี ตามวิสัยแห่งมนุษย์ เมื่อถูกยกย่องให้เป็น "เจ้าชีวิต" ก็ควรเป็นเจ้าชีวิตที่วางตัวดุจบิดามารดาอันเป็นที่พึ่งของราษฎร พระองค์ทรงวางรากฐานให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน ความสำนึกในหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่พึงมีต่อผู้ใต้การปกครอง (นฤมล ธีรวัตร 2525 : 202) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงอยู่ในภาวะของภิกษุถึง 27 พรรษา ทำให้ทรงทราบความจริงว่า สังฆภาวะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และพระองค์ได้เสด็จธุดงค์โดยพระบาทเป็นทางไกลไปในถิ่นต่างๆ ของประเทศ ทำให้ทรงเข้าถึงประชาชน เข้าพระทัยในประชาชน ทรงทราบความต้องการของประชาชนเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ยากที่ผู้ปกครองประเทศโดยทั่วไปจะสามารถทำได้ และการเสด็จธุดงค์ของพระองค์ ทำให้ทรงมีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าแผ่นดินองค์อื่น ๆ ไม่เคยกระทำ ทำให้พระองค์ทรงใกล้ชิดกับประชาชน ทรงสนทนากับประชาชนซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ของชาติไทย จากที่ทรงได้เห็นและทรงทราบความจริงเหล่านี้ ทำให้พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจะทรงทำอย่างไร หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น หากแต่การนำเอาความคิดอ่านและวิธีการแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในเมืองไทยในขณะนั้น เกิดอุปสรรค 2 ประการ คือ

1. ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ในระยะแรกนั้น ข้าราชการ ชั้นสูงส่วนมากยังนิยมการปกครองแบบเก่า มีบุคคลน้อยมากที่เข้าใจในเหตุผลของพระองค์ ที่ทรงต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขการปกครองแบบเก่าไปเป็นแบบตะวันตก และถ้ามีผู้ไม่เห็นชอบในพระบรมราโชบายที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็จะเกิดความขัดแย้ง อันจะเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปรับปรุงประเทศ

2. หลักการการปกครองของชาวตะวันตก ที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงใช้ในประเทศไทย อาจจะไม่เหมาะกับบ้านเมืองตะวันออก และขัดกับหลักการ ปกครองของไทยในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมี ข้าราชการประเภทอนุรักษ์นิยมในขณะนั้น ยังเห็นว่า บ้านเมืองที่ปกครองแบบเก่านั้นยังก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดีกินดีอยู่แล้ว เมื่อเกิดความคิดขัดแย้งขึ้นเช่นนี้ พระองค์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงของพระองค์ กับการใช้การปกครองบบเก่าโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไหน จึงจะเหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปัญหานี้ยังไม่มีผู้รอบรู้ที่พอจะถวายความคิดเห็นแก่พระองค์ได้ (ดำเนิร เลขะกุล 2525 : 169-170)

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงดำเนินพระบรมราโชบายในการปกครองประเทศ เป็นสายกลางมีลักษณะผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก แม้ในส่วนของพระมหากษัตริย์ ก็เป็นพระมหากษัตริย์แบบตะวันตกและ ตะวันออก ลักษณะที่เป็นตะวันตกนั้น เป็นสิ่งประดับให้มีอารยธรรมยิ่งขึ้น ส่วนลักษณะที่เป็นตะวันออกนั้น คือ การวางพระองค์ประดุจดังบิดาของประชาชน


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของแสนยานุภาพทางการ

ทหาร เพราะเป็นที่มาของอำนาจเหนือเมืองทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : 34 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 174)

"... อนึ่งธรรมเนียมมนุษย์ทุกวันนี้ เมืองใดปืนใหญ่น้อย กระสุนดินดำ มีอยู่มากเป็นกำลังใหญ่แล้ว เมืองนั้นก็เป็นเมืองหลวง มีอำนาจแผ่ทั่วทิศไกลไปร้อยโยชน์สองร้อยโยชน์ จนถึงนานาประเทศที่ใกล้เคียงซึ่งมีกำลังน้อยกว่า ก็ต้องมาขออ่อนน้อมเสียส่วยเสียบรรณา

การให้ อันนี้เป็นธรรมดามนุษย์ในแผ่นดิน..."



โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงตระหนักว่าประเทศต่าง ๆ ในบริเวณเอเชียนี้กำลังถูกคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังอยู่ในแผนการยึดครองของฝรั่งเศสและอังกฤษ ฉะนั้นจึงทรงต้องปรับปรุงกิจการทหารของประเทศให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยอย่างรีบด่วนพร้อมกันหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกำลัง การจัดหาอาวุธ การฝึก และยุทธวิธี และทรงทอดพระราชภาระให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) ในด้านการฝึกอบรมทหารปืนใหญ่ และทรงช่วยปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นหน่วยทหารแบบตะวันตก ส่วนหน่วยทหารราบนั้นมีพระราชประสงค์ จะได้นายทหารอังกฤษมาช่วยปรับปรุงและฝึกอบรม จึงทรงเลือกจ้างร้อยเอกชาวอังกฤษ ทหารนอกราช-การของกองทัพอังกฤษเข้ารับราชการเป็นนายทหารฝรั่งคนแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) ได้รับมอบหมายให้ฝึกทหารในกรมอาสาลาวและเขมร ในพระบรมมหาราชวัง ให้จัดเป็นกองร้อย เรียกว่า "ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป" หรือ "ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง" การฝึกสอนทหาร ได้จัดระเบียบแบบแผน และฝึกสอนทางบกเป็นครั้งแรก ตามแบบอย่างทหารอังกฤษ มีการแบ่งแยกเป็น กองพัน กองร้อย หมวดหมู่ มีผู้บังคับบัญชา ชั้นนายพัน นายร้อย นายสิบ ลดหลั่นกันลงมา และ เรียกขานเป็นคำอังกฤษ เพราะผู้สอนไม่อาจแปลคำเป็นภาษาไทย ทหารพวกนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ทหารเกณฑ์หัดอย่างอีหรอบ" ในขั้นต้นได้จัดเหล่าทหารรักษาพระองค์ โดยแบ่งออกเป็นสองกอง เรียกว่า กองทหารหน้า และกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกวังหลวงเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้กองทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปหรือกองทหารรักษาพระองค์เป็นทหารประจำพระองค์ ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เวรรักษาพระราชฐาน การบังคับบัญชากองทหารทั้งสองนี้ แบ่งเป็นกองร้อย หมวด และหมู่ ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน (รอง ศยามานนท์ 2525 : 530)

ต่อมามีนายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ชื่อร้อยเอก โทมัส ยอร์ช น๊อกซ์ (Thomas George Knox) และเป็นเพื่อนร้อยเอก อิมเปย์ ได้สมัครเข้ารับราชการ พระองค์ทรงส่งไปช่วยฝึกทหารบกและทหารเรือในวังหน้า ซึ่งภายหลังได้ลาออกไปเป็นกงสุลเยเนอราลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ โดยมีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า พระราชาในต่างประเทศนั้น ต่างนิยมมีกองทหารประจำพระองค์กันทั้งนั้น โดยถือเป็นพระเกียรติยศสำหรับพระมหากษัตริย์ซึ่งจำเป็นต้องมี และให้มีขึ้นตามความนิยมอย่างต่างประเทศเหล่านั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมและกองทหารหน้าขึ้น และอาศัยที่พระองค์ทรงชินต่อการสมาคมกับฝรั่งเป็นอย่างดี จึงทรงตั้งกองทหารอื่น ๆ เอาอย่างต่างประเทศให้สมกับที่บ้านเมืองเจริญขึ้นแล้ว

ในปี พ.ศ. 2395 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองทหารเพิ่มขึ้นอีก 2 กอง คือกองรักษาพระองค์อย่างยุโรป (กองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม) และ กองปืนใหญ่อาสาญวน เพื่อทดแทนอาสาญวนเข้ารีตที่โอนไปขึ้นกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ส่วนทหารมอญที่เคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมนั้น โปรดเกล้าฯ ให้คงอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ทหารพวกนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นทหารมรีนสำหรับเรือรบ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 159) ทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้

1. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป

2. กองทหารหน้า

3. กองปืนใหญ่ อาสาญวน

ทหารบกต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นต้นเดิมของทหารบกที่มีต่อมาจนทุกวันนี้

พ.ศ. 2397 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทหารล้อมพระราชวัง ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศทรงกำกับทหารกองนี้

พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารหน้า

ผู้บัญชาการองค์นี้ทรงปรับปรุงการตั้งกองทหารไว้ตามหน่วยต่าง ๆ มารวมที่สนามชัย คือ

1. กองทหารฝึกแบบยุโรป

2. กองทหารมหาดไทย (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)

3. กองทหารกลาโหม (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)

4. กองทหารเกณฑ์หัด (พวกขุนหมื่นสิบยกในกรมต่าง ๆ คือ 10 คน ชักออกเสีย

1 คน)

หลังจากปี พ.ศ. 2404 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองทหารอย่างยุโรปขึ้นอีกหลายอย่าง ต่อมา พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพเป็นผู้บังคับบัญชาคนใหม่ ครั้นถึงปลายรัชกาลที่ 4 นายน๊อกซ์ นายทหารอังกฤษขอลาออก จึงไม่มีนายทหารฝรั่งเหลืออยู่ในกองทัพ ทางราชการกองทัพจึงได้จ้าง นายทหารฝรั่งเศส ลามาช (Lamache) ต่อมาได้เป็นหลวงอุปเทศทวยหาญ ซึ่งมาแก้วิธีฝึกหัดทหารไทย และเปลี่ยนระเบียบการฝึกเป็นภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนไปได้ไม่นานก็สิ้นรัชกาล

กิจการทหารไทยซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ใน รัชกาลที่ 4 เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนสามารถจัดไปสมทบกับกองทัพที่ส่งไปปราบฮ่อ และเป็นแนวทางของการปรับปรุงกิจการทหารครั้งใหญ่อย่างกว้างขวางในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา


ขณะทรงผนวชอยู่ทรงตั้งลัทธิสมณวงศ์ใหม่เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย" ให้ถือปฏิบัติเอาแต่สิ่งที่ถูกตามพระวินัย "นิกายธรรมยุติ" ตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนาฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ทรงริเริ่มวางระเบียบแบบแผนดังนี้

ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรม

ทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา

ทรงเพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวางระเบียบในการเดินเวียนเทียน และสดับธรรมเทศนา ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มตั้งแต่ การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน

ทรงแก้ไขการขอบรรพชาและการสวดกรรมวาจาในการอุปสมบท ทรงวางระเบียบการครองผ้าของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสริยวัตรในพระวินัย พระองค์ทรงออกประกาศว่าด้วยการทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ประกาศห้ามมิให้พระสงฆ์บอกให้แทงหวยและประพฤติอนาจาร ประกาศห้ามมิไห้พระภิกษุสามเณรคบผู้หญิงมาพูดที่กุฏิ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องพระสงฆ์ สามเณรลักเพศ ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหาความรู้สาขาอื่น ๆของพระสงฆ์ทรงอนุญาติ ให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวลล์ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เช่น วัดวาอาราม ทรงบูรณะให้สมบูรณ์มากกว่าที่จะทรงสร้างใหม่ นอกจากจะทรงสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียสถานแล้ว ทรงสร้างและจำลองพระพุทธรูปและส่งสมณฑูตไปลังกาเพื่อรวบรวมหลักฐานทางพระพุทธศาสนามาซ่อมพระไตรปิฎกที่ขาดไปให้ครบบริบูรณ์ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระไตรปิฎกฉบับล่องขาดและปิดทองขึ้น อีกทั้งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมใช้แต่พิธีทางพราหมณ์ เช่น พระราชพิธีบรมราชภิเษก พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระองค์ทรงพระราชทานความสนับสนุนแก่ศาสนาอื่น ๆ ในพระราชอาณาจักร เช่น ทรงพระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือลัทธินิกายตามความสมัครใจซึ่งไม่ผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเงิน ที่ดินและวัตถุในการก่อสร้างสุเหร่าในศาสนาอิสลามและโบสถ์ในศาสนาคริสต์


แนวนโยบายทางการเมืองดั้งเดิมของประเทศไทยนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศอื่น ๆ ทางตะวันออกทั่วไปในประเด็นที่ว่าพยายามแยกตนอยู่โดดเดี่ยวไม่มีการติดต่อกับต่างประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2411 เป็นระยะเวลาที่ประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรป อันได้แก่ ฝรั่งเศสและอังกฤษ เข้ามาแสวงหาอาณานิคมครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย และแข่งขันกันทั้งในด้านการค้าและการเมืองอย่างรุนแรง

พระราชกรณียกิจทางด้านต่างประเทศ เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระประมุขพระองค์เดียวของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ที่ทรงคิดได้ว่าวิธีเดียวที่ประเทศในทวีปเอเชียจะคงอยู่ได้คือ ต้องยอมรับเอาอิทธิพลทางอารยธรรมของประเทศตะวันตกมาปรับปรุงประเทศของตนให้ทันสมัย ต้องยอมเปิดประเทศทำการค้าและติดต่อกับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่ๆ พื่อเปิดโลกทรรศน์ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขประเพณีอันล้าสมัย ต้องศึกษาวิทยาการการทูตและการปกครองบ้านเมืองแบบตะวันตก (กริสโวลด์ 2511 : 1)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นว่าการดำเนินนโยบายแยกตนเองอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อกับต่างประเทศนั้น ได้ก่อให้เกิดเหตุร้ายขึ้นแล้วแก่ประเทศเพื่อนบ้านในเวลานั้นประเทศทางตะวันออกกำลังจะล่ม เพราะต้องตกเป็นทาสเป็นเมืองขึ้นของชาวตะวันตกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ยอมประนีประนอมในการติดต่อกับประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคม ทำให้ถูกบังคับจนต้องเสียเอกราชไป คงเหลือแต่ประเทศไทยอยู่ตรงกลางประเทศเดียวเท่านั้นในแถบนี้

ขณะนั้นประเทศไทยยังขาดความรู้ทางวิทยาการตะวันตก ขาดกำลังรบสมัยใหม่ ยังไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังที่พระองค์ทรงระบายความในพระทัยถึงปัญหาของประเทศไทยไว้ดังนี้

"ตามสภาพเท่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ประเทศเราได้ล้อมรอบไปด้วยประเทศที่มีกำลังอำนาจ 2 หรือ 3 ด้าน แล้วประเทศเล็ก ๆ อย่างเราจะเป็นประการใด ถ้าหากจะสมมุติเอาว่าเราได้ค้นพบเหมืองทองคำภายในประเทศของเราเข้า จนเราสามารถขุดทองมาได้หลายล้านชั่ง จนเอาไปขายได้เงิน มาซื้อเรือรบสักร้อยลำ แม้กระนั้นเราก็ยังจะไม่สามารถไปสู้รบปรบมือกับพวกนี้ได้ ด้วยเหตุผลกลใดเล่าก็เพราะเรายังจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ จากประเทศพวกนั้นเรายังไม่มีกำลังพอจะจัดสร้างสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเราเอง แม้ว่าเราพอจะมีเงินซื้อหามาได้ เขาก็จะเลิกขายให้กับเรา ในเมื่อเขารู้ว่าเรากำลังติดเขี้ยวติดเล็บจนเกินฐานะ ในภายภาคหน้าเห็นจะมีอาวุธที่สำคัญสำหรับเราอย่างเดียวก็คือ ปากของเราและใจของเราให้เพรียบพร้อมไปด้วยเหตุผลและเชาวน์ไหวพริบ ก็เห็นพอจะเป็นทางป้องกันตัวเราได้" (มอฟแฟ็ท 2520 : 33)

นโยบายต่างประเทศของพระองค์ ให้ความสำคัญแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ในรัชกาลนี้ ประเทศไทยได้ทำสัญญากับนานาประเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายในบ้านเมือง ผลที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญา ก่อให้เกิดข้อดีและข้อเสียที่ตามมาในภายหลัง แต่เมื่อคำนึงถึงภัยที่จะเกิดในขณะนั้น ต้องนับว่าการตัดสินพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นสมควรอย่างยิ่งแล้ว (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 97)

การที่ประเทศไทยต้องติดต่อทำสัญญากับชาติมหาอำนาจ ทำให้พระองค์ต้องทรงระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือนสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับประเทศที่ทำสนธิสัญญา พระองค์ทรงใช้นโยบายไม่ผูกมัดกับมหาอำนาจชาติเดียว แต่จะทรงใช้การถ่วงดุลย์กับประเทศมหาอำนาจหนึ่ง โดยมีสัมพันธภาพ กับประเทศมหาอำนาจอื่นด้วย (ผูกมิตรกับมหา อำนาจหนึ่งไว้คอนมหาอำนาจอื่น)

สัญญากับนานาประเทศที่กล่าวถึงนั้น เริ่มจากสัญญาเบาริงซึ่งทำกับรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาทำกับสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน นอรเว เบลเยี่ยม และอิตาลี ตามลำดับ การทำสัญญาเบาริงนี้ มีความสำคัญต่อประเทศไทยมาก เพราะเป็นการเปิดประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนประเทศใกล้เคียงที่ปิดประเทศ ไม่ยอมติดต่อกับต่างชาติ จนเกิดการใช้กำลังบังคับ พระองค์ทรงตระหนักว่า การสงครามได้พัฒนาขึ้น ไม่เหมือนแต่ก่อน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสงครามมีความสำคัญมากกว่าแม่ทัพ โดยทรงยกตัวอย่างสงครามอังกฤษกับพม่า ซึ่งในที่สุดพม่าก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 97) ความว่า

"... แลฟังข่าวดูได้ยินว่า พวกเมืองอังวะเมื่อได้ยินว่า ในทัพอังกฤษเกิดความไข้มากลงรากชุมก็ดีใจ ว่าเทวดาช่วยข้างพม่า ฤาเมื่อแอดมิราลออสเตอร์แม่ทัพเรือผู้ใหญ่ในอังกฤษมาป่วยตายลงที่เมืองปรอน เห็นเรืออังกฤษทุกลำชักธงกึ่งเสาเศร้าโศรก คำนับกันตามธรรมเนียมเขา ก็ดีใจว่าแม่ทัพอังกฤษตายเสียแล้ว เห็นจะไม่มีใครบัญชาการ จะกลับเป็นคุณข้างพม่าฟังดูมีแต่การโง่ ๆ บ้า ๆ ทั้งนั้น เมื่อรบครั้งก่อนพม่าคอยสู้อังกฤษอยู่ได้แต่คุมเหงคุมเหงหลายวัน ครั้งนี้ไม่ได้ยินสักแห่งหนึ่งว่าพม่าต่อสู้อังกฤษอยู่ได้ช้าจนห้าชั่วโมงเลย..."

พระองค์ทรงทราบดีว่า ประเทศไทยควรจะกำหนดแนวทางบริหารประเทศในรูปแบบใด จึงทรงดำเนินนโยบายเป็นไมตรี ด้วยท่วงทำนองถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพราะการแข็งขืนไม่เป็นประโยชน์อันใด และอาจเกิดสงครามขึ้นได้ ซึ่งไม่แน่ว่าประเทศไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ในเมื่อข้อสำคัญที่ต่างประเทศต้องการ คือ ค้าขายก็ทรงเปิดให้มีการค้าขายโดยสะดวก ปัญหาอื่น ๆ ก็พลอยระงับไป ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะรักษาความสัมพันธ์กับนานาประเทศเป็นเมืองหน้า ทรงรับเป็นไมตรีทำหนังสือสัญญากับชาติฝรั่ง สัญญาในครั้งนั้น ได้ทำในนามของพระเจ้าแผ่นดินและประธานาธิบดี ผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ เป็นความเสมอภาค ทรงใช้นโยบายการทูตเป็นเครื่องต่อรองความสำเร็จ และเมื่อไม่อาจใช้นโยบายการทูตเป็นเครื่องต่อรอง พระองค์จำพระทัยยอมเสียผลประโยชน์ตามที่ชาติมหาอำนาจเรียกร้อง การสูญเสียครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การเสียดินแดนเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2406 และ พ.ศ. 2410 พระองค์ทรงยอมเสียขัตติย-มานะ พระเกียรติยศที่ไม่สามารถแสดงแสนยานุภาพปกป้องพระราชอาณาเขต ด้วยสงครามตามแบบพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน เพื่อแลกกับเอกราชที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใด (นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 277) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทรงอดกลั้นและขมขื่นพระราชหฤทัยมิใช่น้อย

แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงออกถึงความสัมพันธ์อันดีทางการทูตกับชาติมหาอำนาจตะวันตก แต่พระองค์มิได้ทรงมีความไว้วางพระราชหฤทัยในความเป็นมิตรของประเทศเหล่านี้ หลังจากที่ทรงเห็นว่า ฝรั่งเศสพยายามใช้อิทธิพลช่วงชิงเขมรไปจากไทย โดยอ้างว่าฝรั่งเศสเป็นผู้สืบสิทธิญวนเหนือเขมร เขมรเคยเป็นประเทศราชของญวน ความไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในต่างชาติ ทรงแสดงออกได้ชัด เมื่อ พ.ศ. 2401 จากหลักฐานคำประกาศเทพยดาและพระเจ้าแผ่นดินกรุงเก่ามารับพลีกรรม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ม.ป.ป. : 43-46 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 285) ความว่า

"... ชาติใดน้ำใจพาลคิดการหาเหตุจะกระทำย่ำยีบ้านเมืองเขตรแดนสยามประเทศนี้ ขอพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวงช่วยปกครองป้องกันซึ่งอันตราย ทั้งทวยเทพเจ้าทั้งหลายซึ่งเคยบริรักษ์พระมหานคร จงช่วยกำจัดหมู่ดัสกรให้อันตรธาน ถ้าคนนอกประเทศที่ทำปากหวาน แต่ใจคิดการจะ เหยียบย่ำข่มขี่พาโลโสคลุมคุมโทษ ทำให้ร่อยหรอประการใดๆ ก็ดี ขอให้ความประสงค์ของพวกคนที่เป็นศัตรูในใจที่นั้น กลับไปเปนโทษแก่พวกนั้นเองอย่าให้สมประสงค์..."


พระปรีชาญาณที่ควรจะกล่าวถึงอีกเรื่องหนี่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการที่ทรงเป็นนักศึกษาค้นคว้าทั้งทางด้านประวัติ-ศาสตร์และโบราณคดี พระองค์ทรงกล่าวกับเซอร์ จอห์น เบาริง ว่า "ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของประเทศไทยยังค่อนข้างมืดมน และเต็มไปด้วยนิยายอันเหลือเชื่อต่าง ๆ" (กริสโวลด์ 2511 : 67) แต่ พระองค์ไม่ทรงยอมให้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไป ประวัติศาสตร์สมควรได้รับการสังคายนาเช่นเดียวกับพระไตรปิฎก พระองค์จึงทรงศึกษา ค้นหาวินิจฉัย เปรียบเทียบหลักฐานทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อให้เป็นหลักฐานต่อ ๆ มาปรากฏว่าพระองค์ทรงพระราช-นิพนธ์บทความวินิจฉัยประวัติศาสตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราจึงได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตอนต้นของไทยเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก แม้ว่าบางครั้งพระราชวินิจฉัยของพระองค์จะใช้เป็นแนวทางในปัจจุบันไม่ได้ แต่พระราชวินิจฉัยเหล่านั้นก็เต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด มุ่งตรงไปยังผลอย่างแน่ชัดและเป็นการเริ่มต้นให้ได้ทราบก่อน ไม่เช่นนั้นเราคงไม่สามารถทราบประวัติศาสตร์ได้ดีถึงทุกวันนี้ (กริสโวลด์ 2511 : 68)

เมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แต่งพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานั้น ทรงคำนึงถึงความถูกต้อง มีการตรวจสอบเอกสารจากที่ต่าง ๆ ได้มีพระราชหัตถเลขาขอหนังสือเรื่องคณะเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้มาเจริญทางพระราชไมตรีใน รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากเซอร์ จอห์น เบาริง (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 66) ความว่า

"...เพื่ออนุโลมความคำขอของ ฯพณฯ ท่าน (เซอร์ จอห์น เบาริง : ผู้เขียน) ข้าพเจ้ากับน้องชายของข้าพเจ้า คือกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายเราคนหนึ่ง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปรึกษากับฯพณฯท่านในนครนี้เมื่อเดือนเมษายนนั้น กำลังพยายามจะเตรียมแต่งพงศาวดารสยามอันถูกต้อง จำเดิมแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา โบราณราชธานี เมื่อปี ค.ศ. 1350 นั้นกับทั้งในเรื่องพระราชวงศ์ของเรานี้ ก็จะได้กล่าวโดยพิสดาร ยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมาให้ ฯพณฯ ท่านทราบในคราวนี้ด้วย

เราได้ลงมือแต่งแล้วเป็นภาษาไทย ในขั้นต้นเราเลือกสรรเอาเหตุการณ์บางอย่าง อันเป็นที่เชื่อถือได้มาจากหนังสือโบราณว่าด้วยกฎหมายไทย และพงศาวดารเขมรหลายฉบับกับทั้งคำบอกเล่าของบุคคลผู้เฒ่าอันเป็นที่นับถือได้ซึ่งได้เคยบอกเล่าให้เราฟังนั้นด้วยหนังสือ ซึ่งเราได้ลงมือเตรียมแต่งและแก้ไขอยู่ในบัดนี้ ยังไม่มีข้อความเต็มบริบูรณ์เท่าที่เราจะพึงพอใจ...

ข้าพเจ้าใคร่จะขอหนังสือ ฯพณฯ ท่านสักเล่ม 1 คือหนังสือเรื่องคณะเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสมาเจริญทางพระราชไมตรีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเจ้ากรุงสยามแต่ก่อนนั้น ฉบับหมายเลขที่ 4 ในสมุดซึ่งส่งมาด้วยนี้... ข้าพเจ้าคิดว่าหนังสือเล่มนั้น บางหน้าบางตอนคงจะช่วยให้เราจะแต่งขึ้นใหม่นี้ได้ ในกรุงสยามนี้ก็มีจดหมายเหตุรายการหรือรายละเอียดแต่งขึ้นไว้ นับว่าเป็นจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชฑูต ในเมื่อกลับมาจากฝรั่งเศส แต่สำนวน และข้อความไม่เป็นที่พอใจที่เราจะเชื่อได้ เพราะว่าเป็นการกล่าวเกินความจริงไปมาก กับทั้งขัดต่อความรู้ภูมิศาสตร์ ซึ่งเรารู้อยู่ในเวลานี้ว่าเป็นการเป็นไปที่แท้ที่จริงแห่งโลกนั้นมาก ด้วยผู้แต่งจดหมายเหตุของคณะเอกอัครราชฑูตสยามในครั้งนั้น คงจะคิดว่า ไม่มีใครในกรุงสยามจะได้ไปดูไปเห็นประเทศฝรั่งเศสอีกเลย..."

พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ได้มีประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวทางโบราณคดีหรือปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาออกมาระหว่างรัชกาลนี้ แม้ว่าจะมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเองแต่พระองค์ได้พระราชทาน พระราชดำริให้จัดทำขึ้น และยังได้ทรงมีรับสั่งให้จัดพิมพ์พระราชพงศาวดารสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1893 คราวเสียกรุง นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือข้อสังเกตย่อ ๆ เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารสยามเป็นภาษาอังกฤษ ข้อสังเกตต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาอันมืดมนในประวัติศาสตร์เก่าแก่ก็ดี โบราณคดีก็ดี หรือขนบธรรมเนียมประเพณีก็ดี เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเป็นอันมาก ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจึงได้เจริญแพร่หลาย แม้จนทุกวันนี้ใครจะศึกษา ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของประเทศไทย ก็ยังได้อาศัยพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้แทบทุกคน (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 83)

ในระหว่างที่เสด็จธุดงค์ในปี พ.ศ. 2376 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกที่สุโขทัย นครหลวงโบราณ หลักศิลานี้จารึกด้วยอักษรไทยรุ่นแรกที่สุดเท่าที่ค้นพบ เป็นหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ที่ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1836 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงค้นพบพระแท่นมนังคศิลาที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงใช้เป็นที่ประทับและได้ทรงนำมาไว้ที่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันได้ใช้พระแท่นนี้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง (ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช : 6-7 อ้างถึงใน มอฟแฟ็ท 2520 : 19)

ระหว่างเสด็จธุดงค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาซากเมืองสุโขทัย ทอดพระเนตรศาสนสถานอันใหญ่โตที่ปรักหักพังอยู่ในป่าต่าง ๆ โบราณสถานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นแบบขอมหรือไทยย่อมมีความหมายต่อประเทศ ถ้าสามารถรู้ถึงความหมายได้ พระองค์ทรงเชิญนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเข้ามาศึกษาซากโบราณสถานเหล่านี้ เพื่อค้นหาความลับในอดีตด้วยการใช้เทคนิคแบบใหม่ สิ่งนี้ นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีและได้มีผลยิ่งขึ้นในรัชกาล ต่อ ๆ มา

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงเริ่มจัดให้มีพิพิธภัณฑสถานขึ้นในประเทศไทย จากการรวบรวมวัตถุโบราณที่ทรงพบเก็บสะสมไว้ครั้งแรกจัดแสดงไว้ ที่พระที่นั่งราชฤดีต่อมาโปรดเกล้า ให้ย้ายไปจัดแสดงที่พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ซึ่งได้รับการออกแบบอาคารตามลักษณะพระราชวังในยุโรป พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์หรือรอยัลมิว

เซียม คือ พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดแสดงเครื่องมงคลบรรณาการและโบราณวัตถุ จากที่จัดแสดงในประเทศไทยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำสิ่งของไปร่วมจัดแสดงในงานพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และงานพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศษ นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ส่งศิลปวัตถุโบราณของชาติไปแสดงถึงทวีปยุโรป


ในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมในรัชกาลนี้ได้หันความนิยมไปสู่แบบตะวันตกศิลปะช่างยุโรปได้แพร่หลายออกสู่วัดและวังเจ้านายจนกล่าวได้ว่า รัชสมัยของรัชกาลที่ 4 เป็นสมัยแรกของศิลปะตะวันตกในยุครัตนโกสินทร์เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิกใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมและใช้เสาแบบคลาสสิก โปรดให้นำมาประยุกต์ให้กลมกลืนกับของไทย อาทิเช่น

พระที่นั่งไชยชุมพล พระอภิเนาวนิเวศน์ พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกขปราสาท ฯลฯ นอกจากโปรดเกล้าให้สร้างพระอารามขึ้นใหม่ยังทรงปฏิสังขรณ์พระอารามทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โปรดเกล้าให้สร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธเจดีย์ โปรดเกล้าฯให้ สร้างป้อมขึ้นรอบพระมหาราชวัง ป้อมรอบเขตพระนครชั้นนอกและป้อมรอบพระนครคีรี โปรดเกล้าให้สร้างวัง พระราชวังสำหับเป็นที่ประทับและเสด็จประพาสต่างจังหวัด


การยอมรับอิทธิพลตะวันตกมาปรับปรุงประเทศมีผลกระทบต่อประติมากรรม ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง เช่นการปั้นรูปภาพราชานุสรณ์แบบเหมือนจริง ช่างประติมากรรมตะวันตกปั้นเลียนแบบจากพระบรมฉายาลักษณ์ จึงปั้นพระบรมรูปทรงพ่วงพีมีกล้ามพระมังสาแบบชาติตะวันตกไม่เหมือนพระองค์ จึงโปรดเกล้าฯให้ช่างไทยทดลองปั้นถวายเลียนแบบพระองค์จริง พระบรมรูปองค์นี้นับเป็นการเปิดศักราชของวงการประติมากรรมไทย โดยการปั้นรูปราชานุสรณ์ แทนการสร้างพระพุทธรูปหรือเทวรูป มาสู่การปั้นราชานุสรณ์แบบเหมือนจริงเช่นปัจจุบัน และถือได้ว่าเป็นการปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทยที่ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่เป็นครั้งแรกในวงการประติมากรรมไทย

งานประติมากรรมด้านปั้นหล่อพระพุทธรูปในรัชกาลที่ 4 นิยมปั้นหล่อพระประทานเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก พุทธลักษณะพระพุทธรูปเป็นแบบเฉพาะมีลักษณะโดยรวมใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากขึ้น พระพุทธรูปที่งดงาม ในรัชกาลนี้คือ พระพุทธรูปนิรันตราย พระพุทธสิหิงค์ นอกจากยังมีประติมากรรมที่สำคัญอีกคือ องค์พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูปประทับยืนขนาดเล็ก


จิตรกรรมไทยในสมัยรัชกาลนี้ได้นำวิธีเขียนภาพแบบตะวันตกมาผสมผสานโดยใช้ กฎ เกณฑ์ทัศนียวิทยามีระยะใกล้ - ไกลแสดงความลึกในแบบ 3 มิติ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบให้บรรยากาศและสีสันประสานสัมพันธ์กับรูปแบบตัวภาพ เป็นจิตรกรรมไทยแนวใหม่แสดงสักษณะศิลปะแบบอุดมคติและศิลปะแบบเรียลลิสท์ จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลนี้คือ พระอาจารย์อินโข่งหรือขรัวอินโข่ง ผู้นำเอาจิตรกรรมแบบตะวันตกที่เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ ผู้คนการแต่งกาย ตึก บ้านเมือง ทิวทัศน์ การใช้สี แสงเงาบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกในระยะและความลึก มาใช้อย่างสอดคล้องกับเรื่องที่ใช้แสดงออกเกี่ยวกับคติและปริศนาธรรม งานจิตรกรรมลักษณะนี้ศึกษาได้ที่พระ อุโบสถวัดบวรนิเวศน์วิหารหอราชกรมานุสรณ์ หอราชพงศานุสร นอกจากนี้ยังมีงานจิตกรรมอื่น ๆ เช่น ภาพช้าง ตระกูล ต่าง ๆ ในหิมพานต์ที่หอไตรวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพชีวิตชาวบ้านที่พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา ภาพสาวมอญ จิตรกรรมบนบานหน้าต่างอุโบสถวัดบางน้ำผึ้งนอก พระประแดง


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานการคมนาคมสมัยใหม่ พระองค์ทรงทราบเป็นอย่างดีว่า การคมนาคมเป็นสิ่งจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการไปมาและการติดต่อค้าขาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนแบบฝรั่งขึ้น เพื่อใช้ในการคมนาคมได้สะดวกต่อการสัญจรไปมาของราษฎร การขนส่งลำเลียงสินค้า และยังเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง ทรงจ้างกรรมกรให้ขุดคลองเพื่อเป็นคลองขนส่งทางน้ำ และราษฎรได้อาศัยน้ำในลำคลองมาใช้ในการเพาะปลูก ตลอดจนเป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ (เรือโดยสาร) และเรือบรรทุกข้าว นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลองเชื่อมกับถนนด้วย

ในรัชสมัยของพระองค์ ประชากรไทยได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเมื่อแรกสร้างพระนครใหม่ ๆ หลายเท่า จากเอกสารที่เขียนโดย เซอร์ จอห์น เบาริง (Sir John Bowring) ในหนังสือราชอาณาจักรและพลเมืองสยามว่า มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน (รอง ศยามานนท์ 2525 : 305) เป็นผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นของเส้นทางคมนาคม ไม่ว่าทางน้ำหรือทางบก และภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีแบบเบาริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา สถานกงสุลต่าง ๆ ส่วนมากจะตั้งอยู่ใกล้หรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีการติดต่อหรือเดินทางสัญจร ไปมาระหว่างคนต่างชาติกับคนไทย ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของ การคมนาคม จึงได้มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้น ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ 2504 : 70 อ้างถึงใน รอง ศยามานนท์ 2525 : 308) ความว่า

"... ทุกวันนี้บ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อแรกสร้างกรุงเก่า ควรที่จะขยายพระนครออกไปให้ใหญ่กว้างขวาง อีกชั้นหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซึ่งว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นกงสี จ้างจีนขุดคลองคูพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง ปากคลองข้างทิศใต้ออกไปริมวัดแก้วฟ้า ปากคลองข้างทิศเหนือออกไปริมวัดเทวราชกุญชร เป็นแนวขนานกับคลองรอบกรุง ซึ่งขุดไว้ครั้งรัชกาลที่ 1 คลอง กว้าง 10 วา ลึก 6 ศอก ยาว 137 เส้น 10 วา สิ้นค่าใช้จ่าย 391 ชั่ง 13 ตำลึง 1 บาท 1 เฟื้อง..."

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามคลองที่ขุดขึ้นว่า คลองผดุงกรุงเกษม นับเป็นคลองที่สำคัญ เป็นคลองที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาหล่อเลี้ยงพื้นที่สองฟากคลอง ทำให้เหมาะแก่การทำสวนยิ่งขึ้น และอาณาเขตของกรุงรัตนโกสินทร์ขยายพื้นที่ออกไป มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวหรือประมาณ 5,552 ไร่ (กรมศิลปากร 2525 : 57) บริเวณระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่นอกเมืองของประชาชน และเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวจีน กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพระนคร อย่างไรก็ดีหลังจากการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเสร็จแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อการคมนาคมทางเรือ

ใน พ.ศ. 2400 กงสุลสหรัฐอเมริกาและกงสุลฝรั่งเศสได้เข้าชื่อรวมกับพ่อค้าชาวต่างประเทศ ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ว่า "เรือลูกค้าจะขึ้นมาค้าขายถึงกรุงเทพพระมหานครทางไกลนัก หน้าฤดูน้ำ ๆ ก็เชี่ยวแรงนัก กว่าจะขึ้นมาถึงกรุงเทพมหานครได้ก็เสียเวลาหลายวัน จะขอลงไปตั้งห้างซื้อขายใต้ปากคลองพระโขนงตลอดถึงบางนา ขอให้ขุดคลองลัดตั้งแต่บางนามาตลอดคลองผดุงกรุงเกษม" พระองค์ทรงปรึกษาเสนาบดี เสนาบดีต่างเห็นชอบและกราบบังคมทูลว่า "ถ้าชาวยุโรปยกกันลงไปตั้งอยู่ที่บางนาได้ก็จะห่างไกลออกไป ก็มีคุณอย่างหนึ่งด้วยความหยุกหยิกนั้นน้อยลง ถึงจะขุดคลองให้เดินเป็นทางลัดก็ควร" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยา รวิวงศ์มหาโกษาธิบดี อำนวยการขุดคลอง ตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบตัดทุ่งวัวลำพองริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งนอกลงไปถึงคลองพระโขนง และตัดคลองพระโขนงออกไปทะลุแม่น้ำใหญ่ เป็นคลองกว้าง 6 วา ลึก 6 ศอก ยาว 207 เส้น 2 วา 3 ศอก และเอาดินมาถมเป็นถนนขนานไปกับคลอง สิ้นค่าใช้จ่าย 16,633 บาท พระราชทานนามว่า "คลองถนนตรง" เมื่อขุดคลองเสร็จ ชาวต่างประเทศมิได้ย้ายห้างร้านไปอยู่ที่บางนา แต่ประโยชน์ของคลองและถนนตรง ทำให้การเดินทางระหว่างพระนครกับหัวเมืองใกล้เคียงทางตะวันออกสะดวกขึ้น ประชาชนส่วนมากเรียกคลองและถนนนี้ว่า คลองวัวลำพอง ถนนวัวลำพอง ไม่นานก็มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานได้ชื่อว่า สะพานวัวลำพอง ชื่อวัวลำพองนี้ภายหลังเปลี่ยนเรียกเป็น หัวลำโพง (กรมศิลปากร 2525 : 58)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ เริ่มต้นแต่แม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดชัยพฤกษมาลา จังหวัดนนทบุรี ไปทะลุแม่น้ำนครชัยศรี ยาว 684 เส้น สิ้นค่าใช้จ่าย 1101 ชั่ง 10 ตำลึง เมื่อขุดคลองนี้แล้ว โปรดเกล้าฯให้สร้างศาลาที่พักอาศัยริมคลองหนึ่งหลังทุก ๆ ร้อยเส้น ที่ศาลาหลังระหว่างกลางคลอง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ผู้ดำเนินการขุดให้จารึกตำรายารักษาโรคต่าง ๆ ใส่แผ่นกระดานติดไว้เป็นการกุศล คนภายหลังจึงเรียกศาลาหลังนั้นว่า "ศาลายา" เป็นชื่อตำบลและสถานีรถไฟมาจนทุกวันนี้

ต่อมา พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (เจ้าภาษีฝิ่น) เอาเงินภาษีฝิ่นขุดคลองตั้งแต่คลองบางกอกใหญ่ริมวัดปากน้ำไปถึงแม่น้ำนครชัยศรี ยาว 620 เส้น กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก สิ้นค่าใช้จ่าย 1,400 ชั่ง ชื่อ "คลองภาษีเจริญ" ในปีเดียวกัน ได้พระราชทานเงิน 400 ชั่ง รวมกับสมุหพระกลาโหมทูลเกล้าฯถวาย อีก 1,000 ชั่ง ให้ขุดคลองตั้งแต่แม่น้ำบางยาวเมืองนครไชยศรีถึงคลองบางนกแขวกเมืองราชบุรี ยาว 840 เส้น กว้าง 6 วา ลึก 6 ศอก คลองนี้มีชื่อว่า "คลองดำเนิน สดวก"


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับความเจริญทางด้านการแพทย์มาใช้ในราชสำนักของพระองค์ ด้านการแพทย์โปรดให้ใช้ทั้งการรักษาพยาบาลทั้งแบบไทยและแบบตะวันตก จะเห็นได้จากการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หมอการแพทย์สมัยใหม่ ถวายการรักษาสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้การผดุงครรภ์สมัยใหม่กับเจ้าจอมมารดาบางท่าน ที่แพทย์ไทยไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขได้

การพยาบาลหญิงที่คลอดบุตรในประเทศไทย ซึ่งปฏิบัติกันในสมัยนั้น คือ การอยู่ไฟภายหลังการคลอดบุตร หญิงที่คลอดบุตรแล้วจะต้องนอนอยู่บนกระดานไฟ หันท้องไปผิงไฟที่จุดอยู่ในเตาถ่านร้อน กล่าวกันว่าจะทำให้มดลูกแห้ง แต่จะทำให้ผิวหนังพุพองเต็มไปหมดและต้องอยู่ไฟประมาณ 2-3 สัปดาห์ การอยู่ไฟจึงเป็นประเพณีซึ่งต้องกระทำหลังคลอดบุตรของสตรีในสมัยก่อน การอยู่ไฟนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงหมอบลัดเล (มอฟแฟ็ท 2520 : 187) ดังข้อความต่อไปนี้ว่า

"ข้าพเจ้าขอบใจหมอด้วยใจจริง และด้วยความสำนึกในบุญคุณหมอที่ได้มารักษาแลให้ยาพระมเหสีอันเปนที่รักของข้าพเจ้า แลเปนพระราชมารดาของพระราชธิดาของข้าพเจ้า จนเธอได้ทรงรอดพ้นจากความตาย ข้าพเจ้าได้พิจารณาดูอาการแล้ว เห็นว่าบัดนี้เธอได้ทรงพ้นขีดอันตรายแล้ว...ข้าพเจ้ามีความเชื่อมาก่อนถึงเรื่องการรักษาพยาบาลทางวิชาหมอตำแยของอเมริกา และยุโรป แต่ข้าพเจ้าเสียใจที่จะบอกว่า ข้าพเจ้ามิสามารถจะทำให้พระมเหสีของข้าพเจ้าเชื่อถือได้ จนเธอใกล้ขีดอันตราย แต่วิธีรักษาของท่านที่ได้เข้ามาสำแดงในพระราชวังนี้ ช่างมหัศจรรย์จริง ๆ..."

หมอสมิทได้บันทึกว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามเลิกล้มความคิดของฝ่ายในที่ผู้หญิงจะต้องอยู่ไฟตั้งแต่ครึ่งเดือนถึงเดือนหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า ด้านพระองค์ทรงทำได้ พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นภายในพระราชวงศ์ของพระองค์ แต่ฝ่ายในไม่ทรงเห็นด้วยกับความคิดเห็นใหม่ ๆ ของพระองค์ ทางฝ่ายในอ้างว่าท่านเหล่านั้นเป็นฝ่ายมีประสูติการ มิใช่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชินี และไม่ทรงยอมอยู่ไฟ ทางราชสำนักจึงยอมละทิ้งแบบแผนที่ปฏิบัติกันมา" (สมิท : 59 อ้างถึงใน มอฟแฟ็ท 2520 : 186)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระทนต์ปลอมไม่ต่ำกว่า 3 ชุด ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ต้องสูญเสียพระทนต์ทั้งหมด ทรงสวมพระทนต์ล่างปลอมทำด้วยไม้ฝางซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ไม่ทราบชื่อผู้ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อมาใน พ.ศ. 2397 หมอบลัดเลได้ทูลเกล้าฯถวายพระทนต์ปลอม ซึ่งเป็นของบรรณาการจาก หมอ ดี เค ฮิทซ์คอค (Dr. D.K. Hitchcock) แห่งเมืองบอสตัน แต่พระทนต์ปลอมชุดนั้นทรงสวมได้ไม่สนิท และใน พ.ศ. 2410 ทันตแพทย์ชื่อ หมอคอลลินส์ (Dr. Collins) เดินทางจากประเทศจีนผ่านจากสิงคโปร์เข้ามากรุงเทพฯ หมอคอลลินส์ได้ยินกิตติศัพท์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานเงินถึงพันเหรียญให้แก่ผู้ที่ประกอบพระทนต์ปลอมอย่างดีถวายแด่พระองค์ 1 ชุด หมอคอลลินส์ต้องประสบปัญหาที่พระองค์ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้หมอแตะต้องพระโอษฐ์ เนื่องในการที่จะต้องนำขี้ผึ้งเข้าไปพิมพ์แบบ หากแต่มีพระราชประสงค์จะทรงทำแบบด้วยพระองค์เอง จึงทำให้แบบพิมพ์ไม่สมบูรณ์ พระทนต์ปลอมที่หมอคอลลินส์ทำจึงสวมไม่พอดีกับพระโอษฐ์ ในที่สุดจึง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หมอคอลลินส์ นำขึ้ผึ้งพิมพ์แบบในพระโอษฐ์ได้ และพระทนต์ ปลอมชุดใหม่ที่ทำขึ้นก็เป็นที่พอพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระองค์ทรงยอมรับความเจริญทางทันตแพทย์ของชาติตะวันตก

ในบางครั้ง พระองค์ก็ทรงใช้ยาจากต่างประเทศ จะเห็นได้จากทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวที่สิงคโปร์ (มอฟแฟ็ท 2520 : 216) ความว่า

"...ข้าพเจ้ามีความจำเป็นอยากได้ยาแก้ไอมากกว่า 1 ขวด อย่างที่จัดส่งมาให้เมื่อไม่นานมานี้ ใคร ๆ ก็อยากได้ไปจิบ ข้าพเจ้าอยากได้มาอีกสัก 1 โหล หรือเพียง 6 ขวดก็ยังดี... ขอให้ได้อย่างของแท้..."

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่5)

พระราชกรณียกิจด้านการโทรศัพท์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล และพระปรีชาสามารถอย่างมากในการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงกลาโหมได้นำโทรศัพท์อันเป็นวิทยาการในการสื่อสารที่ทันสมัยเข้ามาทดลองใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ จากกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้า - ออกที่ปากน้ำ์

ต่อมากรมโทรเลขได้มารับช่วงต่อในการวางสายโทรศัพท์ภายในกรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลา ๓ ปีจึงแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการกับประชาชน และพัฒนามาจนกระทั่งทุกวันนี้

พระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลและสาธารณสุข

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาประชาชนด้วยวิธีการแพทย์แผนใหม่ เนื่องจากการรักษาแบบเดิมนั้นล้าสมัย ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงทีทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายเมื่อเกิดโรคระบาด พระองค์จึงทรงจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นบริเวณริมคลองบางกอกน้อย อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือวังหลัง

โดยได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวน ๑๖,๐๐๐ บาท เป็นทุนเริ่มแรกในการสร้างโรงพยาบาล ให้ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลวังหลัง เปิดทำการรักษาแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑

ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ใหม่ว่าโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสที่ประสูติในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ที่สิ้นพระชนมายุเพียง ๑ ปี ๗ เดือน

ทั้งยังได้พระราชทานพระเมรุ พร้อมกับเครื่องใช้ เช่น เตียง เก้าอี้ ตู้โต๊ะ ฯลฯ ในงานพระศพให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ จำนวน ๕๖,๐๐๐ บาท ให้กับโรงพยาบาลเป็นทุนในการใช้จ่าย

พระราชกรณียกิจด้านการขนส่งและสื่อสาร

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจเส้นทาง เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศแล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่จังหวัดใหญ่ทางแถบภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นหัวลำโพงเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า

การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ และในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็นรถไฟหลวงแห่งแรกของไทย

พระราชกรณียกิจด้านการไฟฟ้า

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อมีโอกาสประพาสต่างประเทศ ได้ทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์จึงทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนารถเป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ซึ่งเป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรกของไทย

และปีเดียวกัน (พ.ศ. ๒๔๓๓) มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าที่วัดเลียบ หรือวัดราชบูรณะ จนกระทั่งถึงพ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น รัฐบาลได้โอนกิจการให้ผู้ชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกัน ชื่อ แบงค็อค อิเลคตริกซิตี้ ซิดิแคท เข้ามาดำเนินงานต่อ และในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถรางที่บริษัทได้รับสัมปทานการเดินรถในเขตพระนคร ต่อมาบริษัทต่างชาติทั้ง ๒ บริษัทได้ร่วมกันรับช่วงงานจากกรมหมื่นไวยวรนาถ และก่อตั้งเป็นบริษัทไฟฟ้าสยาม ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก

พระราชกรณียกิจด้านการกฎหมาย

กฎหมายในขณะนั้นมีความล้าสมัยอย่างมาก เนื่องจากใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และยังไม่เคยมีการชำระขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ทำให้ต่างชาติใช้เป็นข้ออ้างในการเอาเปรียบไทยเรื่องการทำสนธิสัญญาเกี่ยวกับการขึ้นศาลตัดสินคดีที่ไม่ให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทย โดยตั้งศาลกงสุลพิจารณาคดีคนในบังคับต่างชาติเอง แม้ว่าจะมีคดีความกับชาวไทยก็ตาม

ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ สร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นใหม่เพื่อให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นสถานที่สำคัญที่ผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศ

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ อันเป็นลักษณะกฎหมายอาญาฉบับแรกที่นำขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาทำกฎหมายประมวลอาญาแผ่นดินและการพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยพิจารณาความแพ่ง และพระธรรมนูญแห่งศาลยุติธรรม

แต่ยังไม่ทันสำเร็จดีก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน เมื่อสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้แล้ว บทลงโทษแบบจารีตดั้งเดิมจึงถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงในรัชกาลของพระองค์เอง เพราะมีกฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษ ที่เป็นหลักการพิจารณาที่ดีและทันสมัยกว่าเดิมด้วย

พระราชกรณียกิจด้านการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำธนบัตรขึ้นเรียกว่า อัฐ เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับเหรียญทองแดง ๑ อัฐ แต่ใช้ได้เพียง ๑ ปีก็เลิกไป เพราะประชาชนไม่นิยมใช้ ต่อมาทรงตั้งกรมธนบัตรขึ้นมา เพื่อจัดทำเป็นตั๋วสัญญาขึ้นใช้แทนเงินกรมธนบัตรได้เริ่มใช้ตั๋วสัญญาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีการผลิตธนบัตรรุ่นแรกออกมา ๕ ชนิด คือ ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐ บาท ๕ บาท ภายหลังมีธนบัตรใบละ ๑ บาทออกมาด้วย รวมถึงพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดหน่วยเงินตรา โดยให้หน่วยทศนิยมเรียกว่า สตางค์ กำหนดให้ ๑๐๐ สตางค์ เท่ากับ ๑ บาท พร้อมกับผลิตเหรียญสตางค์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่าเบี้ยสตางค์ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ ราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๔ สตางค์ ๒ สตางค์ครึ่ง ใช้ปนกับเหรียญเสี้ยว และอัฐ

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วงและทรงออกพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ ว่าด้วยเรื่องให้ใช้แร่ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนแร่เงิน เพื่อให้เสถียรภาพเงินตราของไทยสอดคล้องกับหลักสากล และในปีต่อมาทรงออกประกาศเลิกใช้เหรียญเฟื้อง และเบี้ยทองแดง


พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วกัน เพราะการศึกษาสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังศึกษาอยู่ในวัด เมื่อมีการสร้างโรงเรียนและการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่ากับเป็นการบ่งบอกถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔

และ โปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วย เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นอีกหลายแห่ง กระจัดกระจายไปตามวัดต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัด คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมานี้เพื่อให้บุตรหลานของประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้กัน

การศึกษาขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับด้วยความสนใจของประชาชนที่ต้องการมีความรู้มากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนเหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพิมพ์ตำราพระราชทาน เพื่อเป็นตำราในการเรียนการสอนด้วย

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่6)

ด้านการศึกษา

ในด้านการศึกษา ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

การเปิดโรงเรียนในเมืองเหนือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนามโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย[16] เห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ"[16] ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย[16]

ด้านการเศรษฐกิจ

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม

ในปี พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น

ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย

ทรงตั้งกรมมหรสพ เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมไทย

ด้านการต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจกลางประเทศไทย

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และวชิรพยาบาล และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457

ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ

ทรงจัดตั้งกองเสือป่าเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย ทรงทดลองตั้ง "เมืองมัง" หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ในพระราชวังดุสิต (ต่อมาทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท)

ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์

ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร สำหรับในด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. 2465 ขึ้น

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่7)

ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง

เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลอย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน

การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร

การส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น

ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อเป็นสถานบันเทิงให้แก่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้ง สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลแก่ประชาชนที่มาพักผ่อน

ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือโอกาสยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์มาเป็นของคณะตนเอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีเจตนาล้มล้าวสถาบันพระมหากษัตริย์จากคณะบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวก็เป็นพระราชประสงค์ที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้วว่าจะทรงสละพระราชอำนาจแก่ประชาชน จึงทรงพระราชทานอำนาจและยินยอมให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวในโลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจและเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้

ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ให้ สภากรรมการองคมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ 3 ปี

ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

ทรงมีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่างๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร์ สำเร็จ โดยอ้างว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่กลับมีการยึดอำนาจหรือรัฐประหารตามมาหลายต่อหลายครั้งโดยคณะบุคคลภายในคณะนี้เอง ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นไว้ หรือการก่อการครั้งนี้เป็นเพียงการก่อการเพื่อเปลี่ยนมืออำนาจจากพระมหากษัตริย์มาสู่คณะบุคคลคณะนี้เท่านั้น

ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม

ภาพขณะทรงซออู้

ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติได้ทรงวางรากฐานเป็นอย่างดีกล่าวคือ ได้ทรงสถาปนาราชบัณฑิตยสถานสภาขึ้น เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่นการตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือเพลง ราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร

ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว ทรงโปรดให้ตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2471 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตอนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว โดยไม่ทรงมีพระสนมนางในใดๆทั้งสิ้น

นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ ทรงโปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงทดลองใช้เอง กล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขงเรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 ที่ กำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้ง สองฝั่งน้ำโขง แทนที่ จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว


พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่8)

การปกครอง

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนสำเพ็ง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง ทรงมีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

การศาสนา

ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ทรงผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร

การศึกษา

ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ ทรงมีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต


พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่9)

มูลนิธิชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น

มูลนิธิโครงการหลวง

เมื่อปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับสั่งถามว่านอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆ กัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น

โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานี วิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น

เมื่อ พ.ศ. 2512 เริ่มต้นโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน คือ 1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร 3. กำจัดการปลูกฝิ่น 4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มุ่งเน้นการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยกระบวนการผลิตที่ง่าย แต่มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยดำเนินการภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษา ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและผลการศึกษา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และประชาชน

โครงการหลวงอ่างขาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นของประเทศได้

จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง

จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

โครงการปลูกป่าถาวร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระราชทานพระราชดำริเป็นอเนกประการ ในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ทรงพระราชทานพระราชดำริการพัฒนาด้านต่างๆ ควบคู่กับการอนุรักษ์เสมอ ด้วยการทรงจัดการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์แก่พสกนิกรมากที่สุด ประกอบกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยปัญหาป่าไม้ที่ถูกบุกรุกทำลาย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หามาตรการยับยั้งการทำลายป่า และเร่งฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยให้พิจารณาปัญหาการขาดแคลนน้ำ เป็นปัญหาใหญ่ของชาติที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยเร่งด่วนที่สุด

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้น้อมอัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ เพื่อให้สภาพป่าที่เสื่อมโทรมได้กลับคืนสภาพโดยรวดเร็ว โดยได้หารือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะให้คนในชาติทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ ได้ร่วมกันปลูกป่าสนองพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี พ.ศ. 2539 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50

โครงการแก้มลิง

เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ “โครงการแก้มลิง” ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้

ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้

โครงการฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ ๒๔๙๕ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ

ต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการ พระราชดำริ “ฝนหลวง” ต่อไป

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการ หรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหา อ่านทราบโดยสะดวก นับว่า เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครู และที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้

หนังสือสารานุกรมจะช่วย คลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เพื่อดำเนินการสร้างหนังสือสารานุกรมฉบับใหม่อีกชุดหนึ่ง มีความมุ่งหมายที่จะนำวิชาการแขนงต่างๆ ที่ควรศึกษา ออกเผยแพร่แก่เยาวชน ให้แพร่หลายทั่วถึง เพื่อเยาวชนจักได้หาความรู้ ช่วยตัวเองได้ จากการอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยชน์อันกว้างขวางยิ่งขึ้น

โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้

กังหันชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าว ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชิวิต ซึ่งต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิติที่แท้จริง

พระราชกรณียกิจด้านการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี (รัชกาลที่10)

พระราชกรณียกิจ : ด้านทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้าเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหาร บก กระทรวงกลาโหม วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่องด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกจะทำได้ พระองค์ทรงพระกรุณาปฎิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ ๕ อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตระวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ้งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง


ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

พระราชกรณียกิจ : ด้านการกีฬา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เองนานัปการ เช่น การพระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จนำเกียรติยศมาสู่ประเทศ ชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดี ซึ่งนักกีฬาของไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีความปลาบปลื้มในสิริมงคลและมีขวัญกำลังใจที่จะนำความสำเร็จและนำเกียรติยศ มาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติต่อไป และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน เป็นการเสริมสรางพลังใจให้นักกีฬาเกิดความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานและชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ ทำให้นักกีฬาไทยประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก


กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อแม่ Bike for Mom” และ ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad”


เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศเป็นแขกของพระองค์ รวมปั่นจักรยานอยางพร้อมเพรียงกัน ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อแม่ Bike For Mom” พระราชทานเสื้อสำหรับใส่ปั่นจักรยาน เข็มกลัดของขวัญที่ ระลึก และน้ำดื่ม พระราชทาน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2558 ทรงนำประชาชนปั่นจักรยานพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา เป็นระยะทาง 43 กิโลเมตร มีประชาชนจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศเขาร่วมกิจกรรมมากถึง 136,411 คน และสามารถ สร้างสถิติโลก กินเนสส์บุก เวิลด์ เรคคอร์ด ได้สำเร็จ เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ส่งเสริมให้ประชาชน ได้ออกกำลังกายให้รางกายสมบูรณ์แข็งแรง ปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกายและเล่นกีฬาตามพระราชปณิธานของสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อพอ Bike For DAD” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ทรงมีพระราชปณิธานถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวรัชกาลที 9 ผ่านกิจกรรมปั่นจักรยานอีกครั้ง ทรงเป็นผู้รวมดวงใจของชาวไทยในการสร้างความรักสามัคคี พระราชทานเสื้อสำหรับใส่ปั่นจักรยาน เข็มกลัดของขวัญที่ระลึก และน้ำดื่มพระราชทาน และเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช 2558 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ นำประชาชนปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร สร้างความปลื้มปิติและเป็นขวัญกำลังใจใหแก่พสกนิกรเป็นที่ยิ่ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 568,427 คน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์และมีพระราชกระแสขอบใจพสกนิกรในกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อพ่อ Bike For DAD” ว่า "ขอขอบใจท่านทั้งหลาย ด้วยความปลาบปลื้มและซาบซึ้งยิ่งนัก การที่ทุกทานได้สำแดง ความสามัคคีและน้ำใจ ตลอดจนความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขและชาติบ้านเมือง นั้น เป็นนิมิตหมายที่ประเสริฐ ประเทศชาติอันเป็น ที่รักของเราทุกคนจะเจริญก้าวหน้าเป็นบ้านที่ร่มเย็นและมั่นคง ก็ด้วยความรักและสามัคคีของคนในชาติ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม งานนี้ได้ประจักษ์แล้วว่าคนไทย “ทำได้” และปลื้มที่สุด ที่ได้เห็นทุกคน “ปั่นเพื่อพ่อ” จากหัวใจ (คือการแสดงออกด้วยการกระทำนั่นเอง)” พระนามาภิไธย 11 ธันวาคม 2558


ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

พระราชกรณียกิจ : ด้านการพระศาสนา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และมีพระราชศรัทธาทรงออกผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ระหว่างทรงผนวช ทรงศึกษา และปฎิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกิจทางศาสนาเป็นประจำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่างๆ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงทำการบินเที่ยวบินมหากุศล ในตำแหน่งนักบินที่ 1 เที่ยวบินพิเศษของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำคณะพุทธศาสนิกชนไปสักการะปูชนียสถานสำคัญ และยังทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อประโยชน์ทางศาสนาอีกมากมาย พระองค์ยังเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เปิดงานเมาริดกลางของศาสนาอิสลาม และร่วมกิจกรรมส่งเสริมคริสต์ศาสนา ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และศาสนาซิกซ์ เป็นต้น


ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

พระราชกรณียกิจ : ด้านเกษตรกรรม

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลัก ของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ และ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2529 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักเป็นปฐมฤกษ์จากผักตบชวาและพืชอื่น ๆ ณ บ้านแหลม สะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอ บางนางบวช ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ และนำมาปรับปรุงงานเกษตรกรรมของตนให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทองอำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์ การทำนา พันธ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักให้ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้า ราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำใน หลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรีนรู้และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2545 ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ได้ทรงรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ไว้ในพระราชานุเคราะห์และทรงพระราชา นุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายตราสัญลักษณ์โครงการ ด้วยทรงประสงค์จะให้บริการแก่เกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ต่อมาในปี 2549 ได้พระราชทาน ที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงบน พื้นที่สูงให้แก่เกษตรกรอย่างครบวงจรประจำภาคเหนือ ภายใต้ชื่อโครงการเกษตรวิชญา อันเป็นการสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านเศรษฐกิจพอเพียง


ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

พระราชกรณียกิจ : ด้านการศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อยโอกาสในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 โรงเรียนได้แก่โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และ ฉะเชิงเทรา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ พระราชทานคำแนะนำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการศึกษา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และหม่อมเจ้าสิริวัณวรี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ เสมอทั้งนี้ด้วยน้ำพระหฤทัยที่ทรงพระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ปีละเป็นจำนวนมากทุกปี ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) “เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนผู้ยากไร้แต่เรียนดี ความประพฤติดี ให้ได้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ต่อเนื่องไปจนจบปริญญาตรี และจนถึงขั้นสูงสุดตามความสามารถของผู้รับทุน เพื่อเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ” และทรงเน้นย้ำว่า“เมื่อทําโครงการมาแล้ว จําเป็นต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทํางานที่ได้ผล ต้องศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัย และมีความใส่ใจที่จะทํางานต่อเนื่อง..”


ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

ประวัติของรัชกาล1-10 หน้าถัดไป