Pre-Degree รายกระบวนวิชา

Pre-Degree

รายกระบวนวิชา (สำหรับผู้ที่มีวุฒิ ม.3 หรือเทียบเท่า)

ระบบการเรียนการสอน

      ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงดำเนินการศึกษาแบบทวิภาค (semester system) โดย แบ่งเวลาศึกษาในปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาค 1 (First semester) และภาค 2 (Second semester) และภาคฤดูร้อน (Summer session) ภาค 1 และภาค 2 ใช้เวลาภาคละ 18 สัปดาห์(เรียนในชั้น 16 สัปดาห์ กับสอบไล่ 2 สัปดาห์) และภาคฤดูร้อน เรียน 8 สัปดาห์ (เรียนในชั้น 7 สัปดาห์ กับสอบไล่ 1 สัปดาห์) * ภาคฤดูร้อน นักศึกษาจะไม่ลงทะเบียนเรียนก็ได้

ระบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา รับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน มีการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีการบรรยายสรุปให้ในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยคณาจารย์จะเดินทางไปบรรยายให้ด้วยตนเอง ณ สาขาวิทยบริการฯใกล้บ้านของนักศึกษาและมีแนวทางให้นักศึกษาได้เลือกวิธีการเรียนรู้ตามช่องทางที่มหาวิทยาลัยได้จัดให้บริการ นักศึกษาสามารถเลือกรับบริการได้ตามความเหมาะสมดังนี้

เรียนอย่างไร ?

รูปแบบการเรียน ระบบพรีดีกรี เหมือนกับ ระดับปริญญาตรี (ภาคปกติ) ทุกประการ คือ ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน จัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก บรรยายเฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.20-17.20 น. และมีการบรรยายสรุปเสาร์-อาทิตย์เฉพาะนักศึกษาส่วนภูมิภาค สรุปรูปแบบการเรียนได้ดังนี้

โปรดทราบ: 

เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ

พรีดีกรี คืออะไร ?

พรีดีกรี เป็นระบบการเรียนเพื่อสอบสะสมหน่วยกิตในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแบบล่วงหน้า เปิดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว(จบ ม.3 แล้ว) สามารถสมัครเรียนสะสมหน่วยกิตของแผนการเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่สนใจจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในอนาคต

หากสอบสะสมหน่วยกิตได้มากน้อยเพียงใด ก็ช่วยลดระยะเวลาการเรียนระดับปริญญาตรีในอนาคตได้ เพราะได้สอบสะสมหน่วยกิตล่วงหน้าไว้แล้ว

พรีดีกรี เหมาะกับใคร ?

พรีดีกรี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.ปลาย(หรือเทียบเท่า) ได้แก่ นักเรียน ม.ปลาย สายสามัญ, นักศึกษาระบบ กศน. ม.ปลาย, รวมไปถึงนักศึกษา ปวช.-ปวส. และมีความสนใจที่จะเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เช่น นักเรียนชั้น ม.4 เมื่อสมัครเรียนพรีดีกรีแล้ว มีโอกาสในการสะสมหน่วยกิตได้ยาวนานถึง 3 ปีจนกว่าจะจบชั้น ม.6 เมื่อมีเวลามากก็มีโอกาสสะสมหน่วยกิตได้มากตามไปด้วย

เริ่มก่อน = สะสมได้มากกว่า

การเรียนระบบพรีดีกรีเหมือนเป็นการออมเงิน ถ้าออมเงินตั้งแต่ทุกๆเดือนต้ังแต่มกราคม เงินสะสมก็คงมากกว่าคนที่เริ่มออมเงินเดือนตุลาคมแน่นอน ก็เหมือนกับการสะสมหน่วยกิตของระบบพรีดีกรี เช่น ถ้าสมัครเรียนพรีดีกรีขณะที่กำลังเรียนชั้นอยู่ ม.4 หรือ ปวช.1 ก็จะมีระยะเวลาสะสมหน่วยกิตยาวถึง 3 จนกว่าจะเลื่อนสถานะจบชั้น ม.6 หรือ ปวช.3 , แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่กำลังเรียน ม.5-6 หรือ ปวช.2-3 จะสมัครไม่ได้นะ คุณสามารถสมัครพรีดีกรีได้ แต่ระยะเวลาสะสมหน่วยกิจอาจน้อยกว่าคนที่เริ่มต้นก่อนเท่านั้นเอง

คณะที่เปิดสอนส่วนภูมิกาค 4 คณะ

สาขาวิชาต่อไปนี้ คือ สาขาวิชาที่เปิดรับสมัครในหลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ ส่วนภูมิภาค และ สาขาวิชาที่นักศึกษาพรีดีกรี 

ส่วนภูมิภาค เลือกสมัครเรียนได้ ประจำปีการศึกษา 2566 (รับสมัครไม่จำกัดจำนวน ไม่ต้องสอบคัดเลือกเข้าศึกษา)

คณะ     CODE สาขาวิชา

นิติศาสตร์ 0100 สาขาวิชานิติศาสตร์

บริหารธุรกิจ 0201 สาขาวิชาวิชาการจัดการ

รัฐศาสตร์ 0601 วิชาเอกการบริหารรัฐกิจ

สื่อสารมวลชน 5414 สาขานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล

คณะที่เปิดสอนส่วนกลาง 9 คณะ

สาขาวิชาต่อไปนี้ คือ สาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร สาขาวิชาที่นักศึกษาพรีดีกรี ส่วนกลาง เลือกสมัครเรียนได้ ประจำปีการศึกษา 2566 (รับสมัครไม่จำกัดจำนวน ไม่ต้องสอบคัดเลือกเข้าศึกษา) ***กรณีสมัครที่สาขาฯ (ส่วนภูมิภาค) สามารถเลือกลงรายวิชาในคณะที่เปิดในส่วนกลางได้ (ติดต่อเจ้าหน้าที่)

คณะ       CODE สาขาวิชา

นิติศาสตร์

เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา

0100 สาขาวิชานิติศาสตร์

บริหารธุรกิจ

เปิดรับสมัคร 10 สาขาวิชา

0201 สาขาวิชาการจัดการ

    0202       สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร

0203 สาขาวิชาการตลาด

0207 สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

0208 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ

0213 สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน

0214 สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

0215 สาขาวิชาการสื่อสารธุรกิจยุคดิจิทัล

0216 สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว

0231 สาขาวิชาการบัญชี

มนุษยศาสตร์

เปิดรับสมัคร 11 สาขาวิชา

0301 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

    0302       สาขาวิชาภาษาไทย

0303 สาขาวิชาประวัติศาสตร์

0307 สาขาวิชาปรัชญา

0309 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

0310 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์

0315 สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว

0316 สาขาวิชาภาษาจีน

0317 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

0318 สาขาวิชาภาษาตะวันตก

0319 สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก

ศึกษาศาสตร์

เปิดรับสมัครปริญญาตรี 23 สาขาวิชา นักศึกษาพรีดีกรีเลือกได้ 7 สาขาวิชา ได้แก่

**สาขาวิชาต่อไปนี้ เปิดรับสมัครทั้งระดับปริญญาตรี และพรีดีกรี

0425 สาขาคหกรรมศาสตร์

0443 สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้

สาขาวิชาจิตวิทยา 2 สาขาวิชา ได้แก่

0452 สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอก จิตวิทยาการปรึกษา

0454 สาขาวิชาจิตวิทยา วิชาเอก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

0403 สาขาวิชาภูมิศาสตร์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา 2 สาขาวิชา ได้แก่

0481 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา วิชาเอกการจัดการกีฬาและนันทนาการ

0484 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา วิชาเอกวิทยาศาสตร์การกีฬาประยุกต์

วิทยาศาสตร์

เปิดรับสมัคร 13 สาขาวิชา

0501 สาขาวิชาคณิตศาสตร์

0503 สาขาวิชาเคมี

0504 สาขาวิชาฟิสิกส์

0505 สาขาวิชาชีววิทยา

0506 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

0508 สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ

0509 สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

0511 สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

0512 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

0513 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

0514 สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

0517 สาขาวิชาสถิติศาสตร์และวิทยาการจัดการข้อมูล

0518 สาขาวิชาเคมีเครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

รัฐศาสตร์

เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา

0601 สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ทุกแผน)

เศรษฐศาสตร์

เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา

0700 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (ทุกสาขา)

สื่อสารมวลชน

เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา

5414 สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เปิดรับสมัคร 1 สาขาวิชา

5601 สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ช่วงเวลาค้นหาตัวเอง

การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเองโดยเฉพาะเรื่องการเรียน และระบบพรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ หมายความว่า นักศึกษาพรีดีกรีไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง ลอยตัวอยู่เหนือคณะทั้งหมด ถึงแม้ว่าตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? การที่มหาวิทยาลัยถามคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกหยิบวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เรา เป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้น

 สมมติ ถ้าตอนนี้ชอบรัฐศาสตร์และมุ่งมั่นว่าในอนาคตก็จะเรียนคณะรัฐศาสตรแน่ๆ ก็ให้เราหยิบวิชาของรัฐศาสตร์มาสอบสะสมไว้ในระบบพรีดีกรีเรื่อยๆไปก่อน มันจะเป็นตัวช่วยให้เราจบรัฐศาสตร์ตอนที่เป็นนักศึกษาภาคปกติได้เร็วขึ้น

 แต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง

“…ปีนี้ชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…” 

ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการศึกษา

ค่าใช้จ่ายการสมัครและในระหว่างการเรียน

1. ค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาพรีดีกรีและลงทะเบียนเรียนภาคเรียนแรก(ต้องชำระในวันสมัครทันที)

ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท

2. ค่าลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนต่อ ๆ ไป 

ส่วนภูมิภาค : สูงสุดไม่เกิน 2,200 บาท


*อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆ มาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียน อย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียนเท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 21 หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนสถานะให้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ค่าใชัจ่ายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ นักศึกษาพรีดีกรีเรียนจบชั้นม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการลาออกจากระบบพรีดีกรี และนำวุฒิการศึกษาจบชั้น ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) มาสมัครเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ พร้อมกับเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมได้เข้าสู่ระบบปริญญาตรีด้วย (การเปลี่ยนสถานะทำได้ในช่วงที่มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่) แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ

1. ค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและลงทะเบียนเรียนภาคเรียนแรก (ต้องชำระในวันสมัครทันที)

ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,730 บาท

2. ค่าเทียบโอนหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรีเข้าสู่ระบบปริญญาตรี (ชำระภายหลังได้)

คิดอัตราค่าเทียบโอนหน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท

ตัวอย่างผู้เรียน Pre-Degree