Lab 1 Lotus Buzzer

จุดประสงค์การเรียนรู้

    เพื่อใช้งานลำโพงBuzzerโดยผ่านPlatform CiRA COREในการสื่อสารข้อมูลแบบSerial


สาระการเรียนรู้ 

 ลำโพงBuzzer

        Buzzer เป็นอุปกรณ์กำเนิดเสียงชนิดหนึ่งโดยทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง Buzzer มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ


        1. Active Buzzer เป็นลำโพงที่เปล่งความถี่ได้ความถี่เดียว คือ มีเสียง กับไม่มีเสียง ไม่สามารถสร้างเป็นทำนองเมโลดีของเพลงได้

2. Passive Buzzer เป็นลำโพงที่เปล่งความถี่ได้หลายความถี่ สามารถสร้างเป็นเมโลดี้ทำนองเพลงได้

วัสดุอุปกรณ์


    1. ไมโครสวิตซ์ ชนิดกดติดปล่อยดับ จำนวน 1 ตัว

    2. ตัวต้านทาน 10 กิโลโอห์ม จำนวน 1 ตัว

    3. บอร์ด ESP32 Devkit V.1 จำนวน 1 บอร์ด

    4. สายMicro USB  จำนวน 1 เส้น

    5. Breadboard

    6. สายแพร Male-Male 

    7. หลอด LED จำนวน 3 หลอด

    8. ตัวต้านทาน 220 โอห์ม จำนวน 3 ตัว

    9. ตัวต้านทานปรับค่าได้ Potentiometer จำนวน 1 ตัว

  10. ลำโพงBuzzer จำนวน 1 อัน

  11. จอแสดงผล OLED I2C จำนวน 1 อัน

  12. Servo Motor จำนวน 1 ตัว

  13. โมดูลMb 102 Breadboard จำนวน 1 ตัว

 14. Adaptor 9Vdc จำนวน 1 ตัว

 15. ไดซ์มอเตอร์ TB6612 FNG จำนวน 1 ตัว

 16. มอเตอร์กระแสตรง จำนวน 2 ตัว     


วิธีทำการทดลอง


1. ทำการUpload Code  firmware ของArduino IDE ไปที่บอร์ดESP32 Devkit v.1 โดยCode Frimware จะอยู่ที่นี่

2. ต่อวงจรดังตารางและรูปข้างล่าง (ถ้าหากอุปกรณ์ไม่ครบสามารถต่อแค่ลำโพงBuzzerกับESP32 ก็ได้ ในรูปเป็นการต่อวงจร

การทำงานแบบครบทุกLAB)

ตาราง Datasheet การต่อวงจรเฉพาะลำโพง Buzzer

ตาราง Datasheet การต่อวงจรทั้งหมดสำหรับทุกLab

7 Word Document.pdf

3.ทำการเปิดโปรแกรมโดยการเรียงลำดับในตารางดังนี้

4. หลังจากเรียกใช้โปรแกรม CiRA Lotus Nano ตัวโปรแกรมจะถามถึงรหัสผ่านในการเข้าใช้งาน

โปรแกรม ให้ทำการกรอกรหัสผ่านของเครื่องก่อนแล้วคลิกที่ปุ่ม OK

5. หลังจากนั้นตัวโปรแกรม CiRA Lotus Nano จะทำการเปิดหน้าต่างดังรูปข้างล่างนี้ขึ้น ซึ่งให้เราเลือก Device เป็น /dev/ttyUSB0 แล้วกดที่ปุ่มSTART 

****แต่ถ้าหากกดที่ปุ่มSTARTแล้วขึ้นError ให้ทำการเปิดพอร์ตUSB โดยใช้คำสั่งที่Terminal ดังนี้ :sudo chmod 666 /dev/ttyUSB0 

ในกรณีที่ใช้งานได้จะมีหน้าตาดังรูปข้างล่าง

6.หลังจากนั้นให้เปิดที่หน้าต่างของCiRA COREและทำการเขียนFlow data code ดังนี้

การทำงานในแต่ละกล่อง

7. ทำการRun Code  บนPlatform CiRA CORE แล้วกดปุ่มSTART และRun ที่Button Run จะได้ยินเสียงที่ความถี่ 1500 Hz ความยาวเสียง 1000 มิลลิวินาทีออกมา