พระซุ้มกอ กำแพงเพชร


พระซุ้มกอ กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ กำแพงเพชร มีกูไว้ ไม่จด ในอดีตดินแดนของกำแพงเพชรหรือชากังราว ซึ่งอยู่ในอิทธิพลขอมจนถึงพ.ศ 1890 ราชวงศ์พระร่วง ได้ออกมาขับไล่ขอมให้ออกจากประเทศและบูรณะเมืองใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นนครชุม และเป็นเมืองลูกหลวง จนถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้กลับมาเรียกว่ากำแพงเพชร หลังจากนั้นมาเมืองแห่งนี้ก็กลายเป็นเมืองสำคัญ ชั้นเมืองหน้าด่านสำคัญที่เผชิญหน้าศึกสงครามเลือดมาจนถึงยุคกรุงธนบุรี แต่ก็ยังมีอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่นครชุม เป็นเมืองที่สงบสุขอิ่มเอิบไปด้วยบรรยากาศความเย็นสบายและแห่งพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งมีหลักฐานจารึกหลักที่ 3 ระบุว่า พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงสถาปนาพระบรมธาตุ และปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ตลอดจนบำเพ็ญพระราชกุศลด้านพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ณนครชุม ปี 1900   สันนิษฐานได้ว่าช่วงนี้เองพระเครื่อง อันเป็นสุดยอดเรื่องด้านโชคลาภค้าขายบารมีเจ้าคุณโชคลาภ ได้อุบัติขึ้น มีนามว่า พระกำแพงซุ้มกอพระเครื่องชินเอกเมืองกำแพงเพชร

กรุพระกำแพงซุ้มกอ

มีประวัติและตำนานปรากฏอย่างชัดเจน จะจารึกใบลานเงินในกรุ ซึ่งพบในขณะหรือพระเจดีย์องค์เก่าของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมและเมื่อพ.ศ  2392  สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังษี วัดระฆัง ได้มีโอกาสมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร และได้อ่านศิลาจารึกโบราณอักษรไทยที่วัดเสด็จทราบว่า ยังโบราณสถานและพระบรมธาตุทางตะวันตกที่สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.1900 พระยากำแพง เจ้าเมืองในขณะนั้น จึงสั่งให้ทหารในกรมเมืองไปสำรวจตามแผ่นศิลาจารึก ก็พบพระเจดีย์สามองค์ ซึ่งพระยาตะก่า ปฏิสังขรณ์ในเจดีย์ พบพระพุทธรูปพระเครื่องบูชามากมายหลากหลาย และมีพระบรมธาตุในองค์ใหญ่ จึงพบหลักฐานว่าผู้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้คือ พระมหาธรรมราชาลิไท  และบรรดานั้นยังพบสิ่งของมากมายเช่น พบเครื่องศิลปะสมัยสุโขทัยปนลังกา องค์พระนั่งสมาธิขัดราบประทับบัวเล็บช้าง 5 กลีบมีลายกนกสวยงามอยู่ด้านข้างขององค์พระ  ขอบของพิมพ์พระคงมนคล้ายตัวกไก่ในสมัยโบราณจึงนิยมเรียกว่า พระซุ้มกอ

 

ซึ่งพระซุ้มกอสรุปจากข้อสันนิษฐานได้ว่า สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในขณะต่อมาจึงได้พบพระเครื่องอายุราว 600 กว่าปี อาทิเช่น พระซุ้มกอ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุน พระกำแพงขาว พระนางกำแพง พระนาคปรก พระกำแพงเปิดโลก พระงบน้ำอ้อยและอื่นๆ อีกมากมายหลายหลากมากกว่าร้อยพิมพ์จึงค้นพบตามบริเวณวัดพระบรมธาตุ หรือวัดพิกุล วัดฤาษี กรุณาตาคำ ลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์เป็นต้น

พิมพ์พระกำแพงซุ้มกอ จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ

   2.พิมพ์กลาง

   3.พิมพ์เล็ก ซึ่งเรียกกันว่าพิมพ์ขนมเปี๊ยะ

พิมพ์ใหญ่

พิมพ์กลาง

พิมพ์เล็ก หรือ พิมพ์ ขนมเปี๊ยะ

ซึ่งมวลสารและ เนื้อพระซุ้มกอส่วนใหญ่ จะทำมาจากเนื้อดินและผสมเกสรดอกไม้และจะมีเนื้อดินบ้างและเนื้อชินผสมบ้างกับว่านเกสรดอกไม้จึงทำให้เนื้อนุ่มละเอียดเป็นมัน และจะมีลักษณะเด่นอีก 1 ประการซึ่งองค์พระจะมีจุดสีแดงๆซึ่งเขาเรียกว่าว่านดอกมะขาม และจะมีจุดดำๆ ถูกเรียกว่าราดำ จะอยู่ตามซอกขององค์พระนอกจากเนื้อดินผสมบ้านและเกสรดอกไม้ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ยังมีการขุดค้นพบเจอ เนื้อชินเงิน และชนิดที่เป็นเนื้อว่าน มีทั้งเนื้อว่านล้วนและชนิดเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน แต่ในปัจจุบันจะหาพบยากมากในชนิดที่เนื้อว่านชินเงินและเนื้อว่าน  

พุทธคุณของพระซุ้มกอ ครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้มีครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตา  มหานิยม และโชคลาภอื่นๆ จึงมีคำพูดติดปากกันมาตั้งแต่โบราณว่า มีกูแล้วไม่จด จึงถูกจัดอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงค่าของประเทศไทย