พระผงสุพรรณ


พระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ ได้มีการขุดพบหลักฐาน ที่พระปางองค์ใหญ่ของวัดพระศรีมหาธาตุ ในปีพ.ศ.  2465  โดยมีคำสั่งจากท่านเจ้าพระยาสุนทรบุรีซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุพรรณในสมัยนั้น ได้สั่งการขุดค้นหาและเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายหลังมีคนร้ายลักลอบขุดพระปางองค์ใหญ่อยู่เป็นประจำซึ่งพบพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์และพระบูชามากมาย แม้แต่พระทองคำก็มีอีกเยอะ นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานทองและแผ่นลานเงิน ซึ่งได้เก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐานให้สำหรับคนรุ่นได้ทราบเมื่อปี พ.ศ. 1890  พระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาเถระปิยะทัดศรีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในขณะนั้น พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธานฝ่ายฤาษีร่วม ร่วมกันสร้างพระพุทธปฏิมากร  เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณ ให้ลูกหลานได้ศึกษากันมาจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องของพระผงสุพรรณสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระชนชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงฉลุจนดูเกือบจะเป็นสามเหลี่ยมตัดปลาย และ บางองค์ยังมีการถูกตัดปลายออก 2 ด้านซึ่งทำให้กลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มีและมีองค์พระนั่งปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์ แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์หลากหลาย ซึ่งด้านหลังจะปรากฏลายนิ้วมือ ตัดหวายทุกองค์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบของอู่ทอง

พระผงสุพรรณ นิยมทั้ง 3 พิมพ์

พระผงสุพรรณจะพบเห็นได้ ซึ่งจะเป็นเนื้อดินเผาละเอียดปราศจากเม็ดแร่ มีมากมายหลายสี เช่น สีดำ สีเขียว สีแดง และสีมอย ซึ่งพระผงสุพรรณที่นิยมอยู่ในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ด้วยกันคือ

1.พิมพ์หน้าแก่

2.พิมพ์หน้ากลาง

3.พิมพ์หน้าหนุ่ม

และสัญลักษณ์ประจำของพระผงสุพรรณอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีลายนิ้วมือติดอยู่ด้านหลังพระองค์ 

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม