อาชีพท้องถิ่น

สวนมังคุด

สวนทุเรียน

สวนปาล์ม

อาชีพกลุ่มมังคุด

สภาพเศรษฐกิจ โดย รวมของประชากรจังหวัดชุมพร มีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม จากรายงานของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งว่า ในปี พ.ศ. 2552 จังหวัดชุมพรมีมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี ประมาณ 52,957 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรมภาคใต้ มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน (Per capita GPP) ประมาณ 104,809 บาท อาชีพที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดชุมพรมากที่สุดคือ เกษตรกรรม ซึ่งมีมูลค่าการผลิต ประมาณ 22,714 ล้านบาท รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งมีมูลค่าการผลิต ประมาณ 5,908 ล้านบาท

ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดี ๆ ได้ทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด จึงอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งมีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันด้วย

จำแนกประเภทเกษตรกร

จริง ๆ แล้วอาชีพเกษตรกรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ โดยมีประเภทของเกษตรกรดังนี้

ด้านการปลูกพืชผล

เป็นกลุ่มอาชีพที่พบเจอได้มากสุดของเมืองไทย ทั้งนี้จะแยกย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชผลชนิดนั้น ๆ แม้นักวิชาการจะมีการแยกย่อยประเภทออกไปตามลักษณะการปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์ แต่ขออธิบายประเภทขั้นต้นให้เห็นภาพกันง่ายกว่า

พืชนา

พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกนาข้าวเป็นหลัก ทั้งนี้เมื่อหมดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถเปลี่ยนเป็นการเกษตรด้านอื่น ๆ ได้

พืชไร่

กลุ่มพืชที่ต้องอาศัยพื้นที่ในการปลูกเยอะ แต่พืชจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ขั้นตอนการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก พืชบางชนิดปลูกแค่ 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที โดยพืชไร่นั้นถือเป็นอีกกลุ่มเกษตรที่สำคัญต่อทั้งการบริโภคของผู้คนในประเทศและการส่งออกสร้างรายได้ เช่น อ้อย, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, ถั่วหลากชนิด, ฝ้าย เป็นต้น

พืชสวน

กลุ่มพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะเหมือนกับพืชไร่ แต่ต้องอาศัยการใส่ใจดูแลมากกว่า มีระยะเวลาในการให้ผลผลิตนานกว่า แต่มูลค่าก็สูงตามประเภทของสายพันธุ์นั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน

ประมงน้ำเค็ม

เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำอาชีพในการจับสัตว์เค็ม หรือสัตว์น้ำในทะเล ทั้งนี้จะเป็นการออกไปจับนอกชายฝั่ง หรือการเลี้ยงสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสัตว์ทะเลจะมีความหลากหลายมาก ๆ ไล่ตั้งแต่ กุ้ง, หอย, ปู, ปลา ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คนเมื่อผ่านขั้นตอนการทำเรียบร้อยแล้ว

อาชีพของชาวท้องถิ่นตำบลพ้อแดง

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและชาวประมง ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมของตำบลพ้อแดง พื้นที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำสวนมังคุด สวนทุเรียน สวนปาล์ม และประมง ออกหาปลา ด้วยตำบลพ้อแดงมีพื้นที่ติดกับตำบลมะพร้าวซึงติดกับทะเล ชาวบ้านบางครัวเรือนได้ไปออกหาปลาร่วมกับเรือของชาวบ้านบางมะพร้าว ฉะนั้นอาชีพของชาวตำบลพ้อแดง ก็คือเกาตรกรชาวสวนและชาวประมง