วัดชีโพน

วัดชีโพน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดชีโพน ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ 2 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นราว พ.ศ.2330 ตรงกับรัชกาลที่ 1 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2340 ความเป็นมาของวัดชีโพนจากพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสต้นตามลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ.2451 เขียนว่าแต่ครั้นเมื่อไป วัดชีโพ ซึ่งเรียกว่าวัดชีตาเห็น ที่หลวงญาณสร้าง (หลวงชลญาณ วิจิต) สมบุญไปสร้างวิหารขึ้นไว้ได้ช่วยการปิดทองเขา เขาจึงเชิญไปให้อนุโมทนาได้พบพระครูอ่ำเจ้าแขวงเสนาใหญ่

ว่ากันว่าชื่อ "ชีตาเห็น" เมื่อผวนเสียงแล้วมีความหมายไม่สุภาพจึงถูกเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น "ชีโพน" ในพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ฉบับที่ ๓ วันที่ ๓ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) รัชกาลที่ ๕ ทรงบันทึกว่า "..แต่ครั้นเมื่อไปวัดชีโพน ซึ่งเรียกว่าวัดชีตาเห็น ที่หลวงญาณสร้าง สมบุญไปสร้างวิหารขึ้นไว้.." แสดงว่าชื่อ "ชีตาเห็น" ถูกเปลี่ยนไปก่อนหน้านี้แล้ว ต่อมาได้พระราชทานกระเบื้องหินอ่อนปูพื้นพระอุโบสถพระพันปีหลวงในรัชกาลที่ 5 พระราชทานกระเบื้องเคลือบมุงหลังคาวิหารแก่วัดชีโพนกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่านามวัดชีตาเห็นไม่เหมาะสม ทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดชีโพน”

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2485-2486 กรุงเทพฯ ถูกกองฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี คณะครูนักเรียนโรงเรียนราชินีได้อพยพนักเรียนมาทำการเรียนการสอนที่โรงเรียนวัดชีโพนแห่งนี้ ในสมัยผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ผู้ร้ายกำเริบก่อคดีอุกฉกรรจ์มากมายจึงปราบปรามอย่างเด็ดขาด ใช้ขวานตัดคอ ผ่าอกและตัดเป็นสองท่อน ผู้ร้ายคือ อ้ายโพ หูแหว่ง กับอ้ายชื้น ถูกประหารที่หัวรอวัดชีโพนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2414

ต่อมา วัดชีโพน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นวัดราษฎร์ โดยมีพระราขปัญยามุณี เป็นเจ้าอาวาสวัดชีโพน ท่านเป็นพระสงฆ์เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของชาวผักไห่และชุมชนใกล้เคียงแป็นอย่างมากจนได้รับสมณศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นองค์เดียวที่ เป็นเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยที่ไม่ต้องเข้าไปจำวัดในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้เรียนเรียง นางสำรวย กอบกิจ ครู กศน.ตำบล