การพัฒนาวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

(ธัชวิทย์ หรือ TAS)

การจัดตั้งวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences; TAS) หรือธัชวิทย์ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาประเทศบนรากฐานของวิทยาศาตร์ที่ดี ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องจากหลายฝ่าย คอลัมน์ In Focus ฉบับนี้นำเสนอแนวทางล่าสุดในการจัดตั้งธัชวิทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทหน้าที่ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี ภายใต้การกำกับของกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ต่อการดำเนินการจัดตั้งธัชวิทย์ในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องจากจดหมายข่าวฉบับที่แล้ว  

วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยและบทบาทของ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดตั้งวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences; TAS) หรือธัชวิทย์ ด้วยเล็งเห็นว่าการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดจะเป็นกุณแจที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีรูปแบบการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (THEP) ในการก่อตั้งวิทยสถานวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Academy of Basic Sciences) ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบวิทยสถานเฉพาะด้านภายใต้วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยจะอาศัยเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการในระดับนานาชาติของศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 3 ศูนย์ ในการการศึกษาและวิจัยด้านองค์ความรู้พื้นฐานและเชิงประยุกต์ที่สามารถพัฒนาต่อยอดและนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างเป็นที่ประจักษ์ รวมถึงการผลิตบุคลากรในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยรุ่นใหม่

การดำเนินงานของวิทยสถานด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Academy of Basic Sciences)

ด้วยความร่วมมือกันระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (THEP) จุดเน้นของวิทยสถานวิทยาศาสตร์พื้นฐานประกอบด้วย

แนวทางในการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้ คือ

สาขาเคมี

สาขาคณิตศาสตร์

สาขาฟิสิกส์