ยินดีต้อนรับ ข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-PORTFOLIO) ของ อาจารย์พัชราภรณ์ อยู่ขอบเวียง

ข้อมูลผู้ประเมิน

  • ชื่อ - สกุล นางสาวพัชราภรณ์ อยู่ขอบเวียง

  • ตำแหน่ง ครูพิเศษสอน

  • สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

  • สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  • ครูที่ปรึกษา ปวส. 1/1 การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2/2565 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 25 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

รายวิชา การขายตรง รหัสวิชา 20202-2102 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา หลักการจัดซื้อ รหัสวิชา 30214-2004 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา สัมมนางานการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รหัสวิชา 30214-2111 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา การวิจัยในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รหัสวิชา 30214-2106 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา งานการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 1 รหัสวิชา 30214-5101 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา งานการออกแบบการจัดรายการอาหาร รหัสวิชา 30701-5402 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา กิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 2 รหัสวิชา 20000-2002 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • ปฏิบัติงานผู้ช่วยงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

  • ปฏิบัติงานครูปกครองแผนกการจัดการโลจิสติกส์ประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

  • ปฏิบัติงานผู้ช่วยงานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษาประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

รวมจำนวนชั่วโมง 39 ชั่วโมง/สัปดาห์

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนาที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียน

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียน

การจัดการเรียนการสอนสาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นสาขาวิชาชีพที่เปิดทำการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับ ปวส. ได้มุ่งเน้นการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ ในรายวิชาหลักการจัดซื้อ หน่วยการเรียนการเจรจาต่อรอง เป็นเนื้อหาสำคัญที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพี่อผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้อง เอกสารประกอบการเรียนที่ใช้ตามหลักสูตร ขาดรายละเอียดการชี้แจง กระบวนการที่เหมาะสมกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถทำความเข้าใจและพัฒนาทักษะเป็นไปได้ช้าและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งแก้ปัญหา(ตรงตามระดับความคาดหวังวิทยฐานะ) โดยการจัดทำสื่อการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตรงตามหลักสูตร

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 สร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาหลักการจัดซื้อ หน่วยการเรียนรู้ การเจรจาต่อรอง ด้วยการพัฒนาหลักสูตร ออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ ศึกษาการจัดทำชุดการสอนตามหลักวิชาการ

3.ผลการพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรายวิชาวิชา 30214-2004 หลักการจัดซื้อ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ

- ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรายวิชาวิชา 30214-2004 หลักการจัดซื้อ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น คือมีผลการเรียนระดับ 2.00 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80

- ผู้เรียนร้อยละ 80 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน