นายประดิษฐ์ เลิศโพธาวัฒนา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
ค.อ.ม. เครื่องกล
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หลักสูตร เทคโนโลยีเครื่องกล (ต่อเนื่อง)
หลักสูตร ทล.บ. (เทคโนโลยีเครื่องกล) เริ่มรับนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างยนต์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ หรือศูนย์บริการต่างๆ ไม่ต้องฝึกงาน ส่วนนักศึกษาที่จบใหม่ช่วงเรียนฝึกงานเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยจะมาเรียนเฉพาะวันอาทิตย์และ วันอังคารและพฤหัส เรียน Online ช่วงเวลา 18.00-20.00 น. ในบางวัน ใช้เวลาเรียน 2 ปี
ผลงานวิชาการ
การพัฒนาชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรายวิชางานจักรยานยนต์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร(ปวช.)สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1 สาขาวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคนครปฐมที่มีต่อชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักเรียนนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานจักรยานยนต์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน17 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i มีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 0.93 2) เอกสารประกอบการสอนมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 0.97 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีค่าอำนาจจำแนกมีค่าเท่ากับ 0.35 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 0.92 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i และสื่อประกอบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพทางการเรียน E1/E2 เท่ากับ 87.45/89.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียน โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ Honda wave 110 i อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : ชุดสาธิตและฝึกปฏิบัติ ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ
การพัฒนาหุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรายวิชากลศาสตร์วิศวกรรม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1และ2 สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนครปฐมที่มีต่อหุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1และ2 สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากลศาสตร์วิศวกรรมในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน30 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Random Sampling) เครื่องมือในงานวิจัยประกอบด้วย
หุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง และสื่อประกอบการสอน เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง และสื่อประกอบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพทางการเรียน E1/E2 เท่ากับ 84.78/80.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียน โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหุ่นจำลองแบบสามมิติเรื่องความตึงในสายสลิง อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : หุ่นจำลองสามมิติ ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105)
สําหรับนักศึกษาระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างยนต์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1,2และ3 สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนครปฐมที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1,2และ3 สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาความแข็งแรงวัสดุในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566ที่มีตารางเรียนร่วมกัน จำนวน27 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Random Sampling)
เครื่องมือในงานวิจัยประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) และคู่มือการใช้งาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างด้านคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการนำเสนอของบทเรียนมีค่าเฉลี่ย 4.36 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 สรุปได้ว่าอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ด้านการผลิตสื่อของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ย 4.23 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 สรุปได้ว่าอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์(E-Book)วิชาความแข็งแรงวัสดุ(30100-0105) อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ
การพัฒนาตนเอง
กิจกรรมจิตอาสา
กิจกรรม เทคโนโลยีเครื่องกล(ต่อเนื่อง) ร่วมพัฒนาห้องเรียน ซ่อมแซม ปรับปรุง ครุภัณฑ์เครื่องยนต์ ระบบไฟแสงสว่าง พัดลม และทาสี ห้องเรียนแผนกช่างยนต์
สิ่งประดิษฐ์และโครงงาน
นิเทศน์นักศึกษาฝึกงานสถานประกอบการ
อีซูซุปฐมยนตรกาญจน์
บริษัท ช.เอราวัณ ออโต เอ็กซ์ จำกัด
บริษัท โล้วเฮงหมงมอเตอร์ จำกัด
บริษัท บี-ควิก จำกัด สาขาโลตัสนครปฐม
อู่ เอฟโอห์ม นครปฐม
อู่ประเสริฐยนต์
อู่เบนซ์หนองขาหยั่ง
สำนักงานเทศบาลนครนครปฐม
กิจกรรม ชาติ ศาสนา และอื่นๆ