ประวัติส่วนตัว

                            มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ  ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงานที่เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2/2566

1. ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวม จำนวน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

2. งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

3. งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

4. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1/2567

1. ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวม จำนวน 22 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

2. งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

3. งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

4. งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ตารางสอน ภาคเรียนที่ 2/2566

ตารางสอน ภาคเรียนที่ 1/2567

ประกาศภาระงานของโรงเรียนลาดยาววิทยาคม 

ประจำปีงบประมาณ 2566

ประกาศการกำหนดชั่วโมงปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการครู ประจำปีงบประมาณ 2566.pdf

ประกาศภาระงานของโรงเรียนลาดยาววิทยาคม 

ประจำปีงบประมาณ 2567

คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ 

ปีการศึกษา 2566

คำสั่งโรงเรียนแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ 1-2565.pdf

คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ 

ปีการศึกษา 2567

คำสั่งโรงเรียนแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ 1-2566.pdf

คำสั่งแต่งตั้งมอบหมายชั่วโมงสอน ภาคเรียนที่ 2/2566

ตารางสอน2-2565.pdf

คำสั่งแต่งตั้งมอบหมายชั่วโมงสอน ภาคเรียนที่ 1/2567

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

           ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) (เปลี่ยนตามวิทยฐานะของคุณครู)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

1.  สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน  จากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาในเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนยังขาดทักษะและความสามารถในการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  มีความสับสนในการหาคำตอบทั้งหมดของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติการเท่ากันและขาดทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องและความสมเหตุสมผลของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนไม่ได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเองเมื่อพบสถานการณ์ต่างๆ ในโจทย์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง     ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

        2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

              2.1 วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2563 

            2.2 ปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเนื้อหาให้มีความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ Active Learning ดังนี้

            1)  แบบรูปและความสัมพันธ์

            2) สมการและคำตอบของสมการ

            3) การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

            4) โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

2.3 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ตามเนื้อหาที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้       

โดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะรองรับกับสภาพการจัดการเรียนรู้ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีข้อจำกัด ซึ่งต้องจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ

2.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถแก้ปัญหา และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้

2.5 ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

2.6 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนด โดยมีผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระฯ หรือครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ต่อไป

2.7 ประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

2.8 ปรับปรุงหรือพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้นตามผลการสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

3.  ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

   3.1  เชิงปริมาณ

     ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนร้อยละ     

60 ขึ้นไป จากจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ได้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 

   3.2 เชิงคุณภาพ

   นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียน ในเรื่องอื่นๆ ได้