ปฐมนิเทศการเรียน
หน่วยที่ ๑ รู้จักท้องถิ่นไทย หน่วยที่ ๕ ขับขานเพลงพื้นบ้าน
หน่วยที่ ๒ อ่านหลากหลายได้ความรู้ หน่วยที่ ๖ สืบสานมรดกไทย
หน่วยที่ ๓ พินิจดูวรรณคดี หน่วยที่ ๗ ก้าวไกลสู่อาเซียน
หน่วยที่ ๔ ยอดกวีแต่งบทกลอน หน่วยที่ ๘ ลิขิตเพียรนิทานกลอน

ตัวชี้วัดรายปี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร

๓. อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลาย โดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๔. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

๕. อธิบายการนำความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

๖. อ่านงานเขียนเชิงอธิบายคำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม

๗. อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ

๘. อ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ

๙. มีมารยาทในการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ
เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด

๒. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม

๓. เขียนแผนภาพ โครงเรื่อง และแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน

๔. เขียนเรียงความ

๕. เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

๖. เขียนจดหมายส่วนตัว

๗. กรอกแบบรายการต่างๆ

๘. เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์

๙. มีมารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด
และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

๑. พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู

๒. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล จากเรื่องที่ฟังและดู

๓. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล

๔. พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟังการดู และการสนทนา

๕. พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

๑. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำ ในประโยค

๒. ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

๓. รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

๔. ระบุลักษณะของประโยค

๕. แต่งบทร้อยกรอง

๖. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
อย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๑. แสดงความ คิดเห็นจาก วรรณคดี หรือวรรณกรรม ที่อ่าน

๒. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น

๓. อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ