รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สมัครออนไลน์ที่นี่ !! หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร

หลักการและเหตุผล

ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๐ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันอันมีเป้าหมายการพัฒนาคือการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ การปรับรูปแบบวิธีผลิตและการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และตามยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียวด้วยการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ได้ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับการผลิตของผู้ประกอบการ OTOP ในการเพิ่มผลิตภาพควบคู่ไปกับพัฒนาการผลิตที่เป็มิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้ทุนความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกับการสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ OTOP ด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bo-Circular-Green (BCG) Economy) อันสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นส่วนที่จะช่วยลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน

ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน จึงได้ดำเนินกิจกรรม OTOP ยั่งยืนด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (OTOP Go Green) เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดยใช้ทุนความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น ภูมิปัญญา ประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสร้างกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานและคุณภาพเพื่อให้กระบวนการผลิต มีแบบแผนและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรม OTOP ยั่งยืนด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้เกิดการยกระดับผลิตภาพโดยมีกระบวนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตลอด วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ลดของเสียจากกระบวนการ ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสในตลาดสีเขียว นำไปสู่การการดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม กับชุมชนสู่ความยั่งยืน


วัตถุประสงค์

ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องตามมาตรฐานและมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนประยกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการยกระดับสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีศักยภาพและดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้

  1. ผ้าและเครื่องแต่งกาย

  2. ของใช้ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก

  3. อาหารและเครื่องดื่ม

  4. สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร


ขั้นตอนการดำเนินงาน