หลักสูตรที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สัตวศาสตร์)

Bachelor of Science Program (Animal Science)

รหัสหลักสูตร 25640104001128

ระยะเวลาของหลักสูตร 4 ปี

ปีที่ปรับปรุงล่าสุด 2564

ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร 2546

แนวทางการจัดการเรียนการสอน

1) มีรายวิชาที่จัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง เช่น การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรบนพื้นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-Circular-Green Economy) สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อจัดการระบบฟาร์มเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรแบบครบวงจร การผสมผสานการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน ผนวกกับการเรียน ทั้งในรูปแบบบรรยายหรือการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ของการสร้างนวัตกรรมทางการเกษตร การฝึกงาน สหกิจศึกษา การทำงานร่วมกับชุมชน เป็นต้น โดยจัดให้มีรายวิชาที่สอดแทรก WIL ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหน่วยกิตในหมวดวิชาเฉพาะ ซึ่งสาขาวิชาได้ร่วมมือกับสถานประกอบการทางการปศุสัตว์ หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง

2) กำหนดให้มีรายวิชาสหกิจศึกษา โดยนักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

3) กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของรายวิชาในหลักสูตร

4) กำหนดให้ทุกรายวิชาใช้ภาษาอังกฤษร่วมในการจัดการการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตร


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษามัธยมตอนปลาย กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย การรับเข้าศึกษาตลอดจนวิธีปฏิบัติอื่น ๆ ที่เป็นไป ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีและการศึกษาตลอดชีวิต และระเบียบอื่นๆของมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้อง


โครงสร้างหลักสูตร: หน่วยการเรียนตลอดหลักสูตร 125 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์ 4 หน่วยกิต

สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สันติ 5 หน่วยกิต

สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ 1 หน่วยกิต

สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทันและการรู้ดิจิทัล 4 หน่วยกิต

4.1 การอยู่อย่างรู้เท่าทัน 2 หน่วยกิต

4.2 การรู้ดิจิทัล 2 หน่วยกิต

สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข 4 หน่วยกิต

5.1 การคิดเชิงระบบ 2 หน่วยกิต

5.2 การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข 2 หน่วยกิต

สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร 4 หน่วยกิต

สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา 2 หน่วยกิต

วิชาเลือกในหมวดศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเฉพาะ 89 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 18 หน่วยกิต

ชุดวิชาพื้นฐานทางสัตวศาสตร์ (Module) 26 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาชีพ 28 หน่วยกิต

ชุดวิชาธุรกิจปศุสัตว์ (Module) 18 หน่วยกิต

ชุดวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีปสุสัตว์ (Module) 10 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 15 หน่วยกิต

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพสัตวศาสตร์ 1 หน่วยกิต

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 หน่วยกิต

การฝึกงานเฉพาะตำแหน่ง 6 หน่วยกิต

สหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต

สัมมนา 2 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

รวม 125 หน่วยกิต


อนาคตหลังสำเร็จการศึกษา

1) ข้าราชการและพนักงานราชการในหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และสถาบันการศึกษา เป็นต้น

2) พนักงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

3) พนักงานบริษัทเอกชน เช่น นักวิชาการสัตวบาลประจำฟาร์ม นักวิชาการสัตวบาลส่งเสริม เจ้าหน้าที่ประสานงานขาย เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ/ควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

4) ผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจฟาร์มสัตว์ ธุรกิจขายอาหารสัตว์ และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางสัตว์ เป็นต้น


ระดับบัณฑิตศึกษา

ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์)

Master of Science Program (Animal Science)

รหัสหลักสูตร 25340101100245

ระยะเวลาของหลักสูตร 2 ปี

ปีที่ปรับปรุงล่าสุด 2565

ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร 2535

แนวทางการจัดการเรียนการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ มีเป้าหมายมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านสัตวศาสตร์ มีทักษะด้านการวิจัย การสื่อสารทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามแนวคิดการเกษตรแบบ Bio-circular-green economy (BCG) และการเกษตรแบบยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านสัตวศาสตร์ การมีความรู้และทักษะการผลิตสัตว์ สามารถบูรณาการความรู้เพื่อแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง รวมถึงมีความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ซื่อสัตย์ มีวินัย มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง และสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต

หลักสูตรใช้กระบวนการจัดกิจกรรม หรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย เน้นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Research-based learning) การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work integrated learning: WIL) การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service learning) และกิจกรรมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาจริงที่มาจากเกษตรกร ชุมชน หรือภาคอุตสาหกรรม การจัดการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 จึงเป็นการจัดการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome based education) โดยการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้เป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการ ที่เป็นกำลังหลักของภาคการเกษตรตามแนวทางการเกษตรแบบยั่งยืน

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

แผน ก 1

- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่าสาขาสัตวศาสตร์ สัตวบาล หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.75 หรือ

- เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ หรือทำวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสัตวศาสตร์ หรือสัตวบาลไม่ต่ำกว่า 1 ปี และ

- ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา

แผน ก 2

- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่าสาขาสัตวศาสตร์ สัตวบาล หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 หรือ

- เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ หรือทำวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสัตวศาสตร์ หรือสัตวบาลไม่ต่ำกว่า 1 ปี และ

- ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา


โครงสร้างหลักสูตร: จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

แผน ก 1 36 หน่วยกิต

- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

แผน ก 2 36 หน่วยกิต

- หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต

- หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต

- วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

อนาคตหลังสำเร็จการศึกษา

(1) อาจารย์สอนทางด้านสัตวศาสตร์หรือ สัตวบาล ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ

(2) นักวิจัย นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ทางด้านสัตวศาสตร์หรือสัตวบาล ในองค์กรของรัฐ สถาบันวิจัยต่างๆ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงการผลิตสัตว์ ระบบการผลิตสัตว์ การคิดค้นและการนำเทคโนโลยีทางด้านการผลิตสัตว์ไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมการพัฒนาพันธุ์สัตว์ เป็นต้น

(3) ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ