แหล่งเรียนรู้ การทอผ้าคลุมไหล่จากเส้นด้าย

ประวัติและความเป็นมา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 9 ต.หนองกุง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา : นางศรีไพร เสนคำสอน ที่อยู่ : บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 9 ต.หนองกุง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ อาชีพ : ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 อายุศึกษาภูมิปัญญา 60 ปี

ชื่อภูมิปัญญา : การทอผ้าคลุมไหล่จากเส้นด้าย ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ผ้าพื้นบ้าน ผ้าทอด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวยลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น ผ้าพื้นบ้านของไทยในภาคอีสาน มีกรรมวิธีการย้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น เปลืกต้นประดู่ ลูกมะเกลือ การทอผ้าสอดคล้องกับขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งมีรูปแบบและการใช้สอยต่างๆกัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าเบี่ยง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม เป็นต้น

นางศรีไพร เสนคำสอน ปราชญ์ทอผ้าบ้านโนนดู่ ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านโนนดู่ หมู่ที่ 9 ต.หนองกุง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ เล่าให้ฟังถึงภูมิปัญญาที่นับวันจะสูญหายไป กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านโนนดู่ หมู่ที่ 9 ต.หนองกุง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ การทอผ้าพื้นเมืองของบ้านโนนดู่ เป็นการทอผ้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม มีการทอผ้าคลุมไหล่ การทอผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าถุง โดยทำการทอไว้เพื่อการสวมใส่ และได้มีการสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน และชาวบ้านได้รักษา ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ และได้รับความนิยมมากขึ้น ในปัจจุบันได้นิยมตัดชุดผ้าทอมือใส่กันมากมาย ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบเนื้อผ้าให้มีหลากหลายสีสัน มีความทันสมัย ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก


แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายอรรคชัย ทำคำทอง

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายอรรคชัย ทำคำทอง