รายงานผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่ง ครูผู้พิเศษสอน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567)
ผู้รายงาน
นางสาวอัญมณี ปิดงาม
ตำแหน่ง ครูพิเศษสอน
สถานศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ภาคเรียนที่ 1/2567
1. ด้านการจัดการเรียนรู้
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ข้าพเจ้ามีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ผลงานที่ภาคภูมิใจในรอบปีที่ผ่านมา
งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
1. ด้านการจัดการเรียนรู้
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะ ที่สูงกว่าได้)
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
เนื่องจากนักเรียนชั้น ปวช. วิทยาลัยการอาชีพหนองคาย ขาดทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งไม่เป็นไปตามตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 หมวดวิชาสมรรถแกนกลาง กลุ่มวิชาภาษาไทย ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ต้องรู้ในด้านการการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ และ อธิบายรายละเอียด ครูผู้สอนจึงได้ใช้วิธีการพัฒนาสมรรถนะการการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ให้นักเรียน ชั้นปวช.โดยใช้เทคนิคบันได6ขั้น เพื่อเพิ่มการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ และ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาไทยให้สูงขึ้น
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
ศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)พุทธศักราช 2562 หมวดสมรรถนะแกนกลาง กลุ่มภาษาไทย เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด
ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ในการอ่านจับใจความสำคัญ
ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
ออกแบบสื่อ ในการพัฒนาสมรรถนะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น
ใบความรู้ แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น
จัดทำสื่อการเรียนรู้พัฒนาสมรรถนะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ตามที่ได้ออกแบบไว้
นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสมรรถนะการ เขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
นำผลสะท้อนในการใช้สื่อ พัฒนาสมรรถนะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ บันทึกข้อมูลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์คาดหวังจากการพัฒนา
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้น ปวช. วิทยาลัยการอาชีพหนองคาย ร้อยละ 80 ที่เรียนใน รายวิชาภาษาไทยทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ มีผลการพัฒนาสมรรถนะการ ตามตัวชี้วัดที่ต้องรู้ ละตัวชี้วัดที่ควรรู้และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นปวช. วิทยาลัยการอาชีพหนองคาย สามารถมีทักษะการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ตรงตามสมรรถนะของผู้เรียนใน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง กลุ่มวิชาภาษาไทย