การประกอบอาชีพของคนอีสาน

ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ของไทย ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาค เหนือและภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ หนี่งในสาม ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึง เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ

ชาว อีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา เพราะฉะนั้นหลังฤดูการเก็บเกี่ยวชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ ซึ่งพอจะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้ อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า ดังนั้นชุดฟ้อนของภาคอีสานจึงมีชุดฟ้อนศิลปาชีพที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากที่ สุด เช่น รำตำหูกผูกขิด เซิ้งสาวไหม ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนเข็นฝ้าย และฟ้อนแพรวา ฟ้อนอาชีพจึงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสาน และเป็นการเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นอื่นเห็นความสำคัญของหัตถกรรมพื้นบ้านอีก ด้วย ฟ้อนศิลปาชีพอีสานมีหลายชุดด้วยกัน