เนื้อเรื่อง

เครื่องถมในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นผลงานหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เเละมีการสันนิษฐานว่านครศรีธรรมราชน่าจะได้รับความรู้มาจากช่างชาวโปรตุเกส ซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 ชาวบ้านได้นำเครื่องถมมาดัดเเปลงลวดลายเเล้วก็เเก้ไขรูปพรรณต่างๆ ตามเเบบที่นิยมของศิลปกรรมไทยที่ประณีตเเละสวยงามมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเจ้าเมืองทุกพระองค์ได้เอาใจใส่ในการทำเครื่องถมเป็นอย่างดี จึงทำให้เครื่องถมได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะในพระบรมหาราชวังสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงจัดเครื่องถม ไปเป็นเครื่องราชบรรณาการถวายเเด่พระนางวิคตอเรีย เเห่งเมืองอังกฤษ โดย อาจารย์ นิคม นกอักษร ได้บอกกับพวกเราว่าการทำเครื่องถมเป็นการหลอมโลหะ 3 ชนิด คือ ตะกั่ว ทองเเดง เงิน ไปหลอมเเละนำเเผ่นเงินมาเคาะขึ้นรูปตามต้องการ จากนั้นนำไปขัดผิวโลหะให้เกลี้ยง หลังจากนั้นช่างจะเขียนลายเเละเเกะสลักด้วยน้ำหมึก โดยการใส่น้ำยาถมนครลงไปในบริเวณที่สลักเเละนำไปเป่าให้ร้อน เพื่อจะให้น้ำยาติดกับเครื่องถม เเล้วช่างจะนำเครื่องถมไปปรับตกเเต่งโดยเราสามารถใช้ตะไบหรือกระดาษทรายเเต่งผิวให้เรียบ หลังจากนั้นนำไปเพลาลายโดยการใช้สิ่วเล็กๆ สลักลงบนเนื้อของเครื่องถมตามเเนวเส้น เพื่อให้เกิดความโดดเด่น จึงทำให้เครื่องถมมีราคาที่ค่อนข้างสูง เช่น กำไลถมเงินถมทองลายดอกพุตตานจะมีราคาอยู่ประมาณที่ 17,000 บาท เพราะเครื่องถมเมืองนครจะสลักโดยการใช้มือ จึงทำให้ด้านหลังของเครื่องถมมีลวดลาย เเล้วจุดเด่นของเครื่องถมคือจะไม่มีตามด ( ตามด คือ รูเล็กๆที่จะทำให้เครื่องถมนั้นไม่เรียบร้อย เเละสวยงาม ) โดยมักจะผลิตที่สนามหน้าเมือง