การแข่งเรือไม้โตนด


เรือไม้โตนด เป็นเรือที่ชาวบ้านบางน้ำจึดขุดด้วยต้นโตนดไว้สำหรับการประกอบอาชีพประมง เช่น ดูอวน ปักเบ็ด หรือจมตุ้ม ริเริ่มขึ้นโดยบุคคล ๒ คน คือ นายพูนสวัสดิ์ ตังสุรัตน์ (เล็ก) และนายอินทรีย์ เติมนคร (ไข่อารมณ์) เหตุเพราะมีเงินคนละ ๑๐๐ บาท ไม่เพียงพอสำหรับการไปเที่ยวงานลอยกระทงปากน้ำหลังสวนซึ่งจัดแข่งขันเรือยาว จึงคิดจัดแข่งขันเรือไม้โตนดในพื้นที่ ซึ่งได้ไปปรึกษานายสมจิต ไหมเชื้อจีน (คล้อย) นายน้อย ทองสด (เตย) อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ นายเอื้อม ศรีพิน และชาวบ้านในชุมชนปรึกษาหารือกัน ๖ – ๗ คน เพื่อจัดแข่งขันเรือไม้โตนดในชุมชน โดยขอรับบริจาคเงินจากชาวบ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านสะพานบางหยี บ้านดอนโพธิ์ คนละ ๕๐ บาท และมีบางคนให้เพียง ๒๐ บาท เพื่อเป็นทุนซื้อรางวัลให้กับผู้แข่งขัน จำนวน ๔ ลำประเพณีแข่งขันเรือยาวไม้โตนด เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่บ้านสะพานหยี หมู่ ๕ ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
เรือไม้โตนดเป็นการแข่งขันโดยใช้เรือที่ทำจากไม้โตนดที่ชาวบ้านใช้ในการประกอบอาชีพในชุมชน (ปักเบ็ดหรือจมตุ้ม) เรือที่ใช้ในการแข่งขันลำหนึ่งมีผู้แข่งขัน จำนวน ๒ คน (๒ ฝีพาย) นั่งหัว ท้ายของเรือ การแข่งขันโดยการริเริ่มของชาวบ้านหมู่ที่ ๕ บ้านสะพานบางหยี นำมาแข่งในงานประเพณีสวดกลางบ้าน ซึ่งในช่วงกลางคืนนิมนต์พระมาสวดพระพุทธมนต์กลางบ้าน รุ่งเช้าจะมีการแข่งขันเรือไม้โตนด และได้ดำเนินการจัดงานประเพณีนี้โดยการบริจาคเงินของคนในหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นต้นมา ปัจจุบันมีพี่น้องประชาชน ในเขตพื้นที่ตำบลนาขาและตำบลบางน้ำจืดเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถปัจจุบัน ได้จัดแข่งขันนับเป็นปีที่ ๓๗ ที่ชุมชน โดยพี่น้องประชาชน และโรงเรียนในตำบลนาขา และตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้ร่วมกันจัดงานเพื่อรักษาประเพณีของท้องถิ่นที่มีความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นให้คงอยู่สืบไป
เรือไม้โตนดกิจกรรมมี ดังนี้๑. สวดพระพุทธมนต์กลางบ้าน๒. ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์๓. การแข่งขันเรือไม้โตนด (เรือ ๑ ลำมีฝีพาย ๒ คน นายหัว ๑ คน นายท้าย ๑ คน)๔.ประกวดขบวนพาเหรด ๕. ประกวดกองเชียร์อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) เป็นเรือยาวไม้โตนดที่ขุดเรือขึ้นเองโดยจัดการแข่งขันลำละ ๒ คนความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆจัดประเพณีขึ้นเองโดยชุมชน เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง จึงจัดประเพณีนี้ขึ้นเพื่อสืบสาน สืบทอดประเพณีท้องถิ่น และเพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรริมแม่น้ำ พร้อมกับประเพณีลอยกระทงการจัดงานเป็นประจำทุกปีวันตามจันทรคติหรือสุริยคติ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑