ข้อมูลในเว็ปไซต์นี้ จะถูกย้ายไปยัง www.nextpert.co.th ...สามารถเข้าดูข้อมูล Update ล่าสุดได้ที่เว็ปไซต์
หลายต่อหลายครั้งที่ผู้เขียนแบบมีคำถามเกิดขึ้นว่า เราจะกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ลงในแบบงานอย่างไร
บทความนี้จะนำเราไปทำความรู้จักกับหลักการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ลงในแบบงานกันครับ
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ขนาดและสัญลักษณ์ GD&T จะถูกกำหนดลงไปที่ Feature และ Feature of Size เป็นหลัก โดยจะมีการกำหนดขนาดและสัญลักษณ์ GD&T ดังต่อไปนี้
การควบคุมรูปทรง (Form Control)
การควบคุมการจัดวางทิศทาง (Orientation Control)
การควบคุมการจัดวางตำแหน่ง (Location Control)
การควบคุมขนาด (Size Control)
โดยที่ผู้ออกแบบต้องเลือกลักษณะของการกำหนดสัญลักษณ์มาควบคุม 1 สัญลักษณ์ในแต่ละพื้นผิว Feature หรือ Feature of Size (ถ้าเงื่อนไขการประกอบซับซ้อน อาจจะมีมากกว่า 1 สัญลักษณ์)
การควบคุมรูปทรง (Form) ประกอบด้วย
ความตรง (Straightness)
ความราบ (Flatness)
ความกลม (Circularity / Roundness)
ความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity)
การควบคุมการจัดวางทิศทาง (Orientation) ประกอบด้วย
ความตั้งฉาก (Perpendicularity / Squareness)
ความขนาน (Parallelism)
ความเป็นมุม (Angularity)
การควบคุมการจัดวางตำแหน่ง (Location) ประกอบด้วย
ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position)
ความสมมาตร (Symmetry)
ความร่วมศูนย์ร่วมแกน (Concentricity)
การควบคุมขนาด (Size) ประกอบด้วย
ขนาดกำหนดระยะห่าง (Linear Dimension)
ขนาดกำหนดตำแหน่ง (Location Dimension)
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter)
ขนาดรัศมี (Radius)
ขนาดมุม (Angular Dimension)
โดยที่การกำหนดขนาด (Size Dimension) ในแบบงานจะต้องครบถ้วนทุกพื้นผิว Feature และ Feature of Size ส่วนการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T จะขึ้นอยู่กับลักษณะการประกอบและเงื่อนไขการใช้งาน (Assembly Function) ของชิ้นงานนั้นๆ ซึ่งผู้ออกแบบอาจจะกำหนดไม่ครบทุกประเภท