ดนตรีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาโดยตลอด ดนตรีถูกใช้เป็นช่องทางหนึ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นสื่อกลางรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ช่วยในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและเป็นสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม โดยทั่วไปแล้วความแตกต่างของดนตรีในแต่ละท้องถิ่นมาจากสาเหตุหลัก ๓ ประการ ดังนี้
๑) เครื่องดนตรีหรือลักษณะวิธีการขับร้องที่ต่างกัน ทำให้เกิดความแตกต่างในเรื่องสีสันของเสียงนอกจากนี้ระบบการปรับชุดเสียง (temperament) และการคำานวณระยะห่างระหว่างค่าความถี่ของโน้ตของดนตรีต่างวัฒนธรรมนั้นไม่เหมือนกันเสมอไป ทำาให้เกิดมิติของเสียงที่แตกต่างกัน
๒) ลักษณะการใช้เสียงประสาน (harmony) และบันไดเสียง (scale) ที่แตกต่างกัน ทำให้ดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดนตรีตะวันตกอาจมีพัฒนาการในเรื่องเสียงประสานที่ยาวนานหลายร้อยปี แต่ดนตรีในวัฒนธรรมอื่นมีบันไดเสียงและวิธีใช้เสียงประสานเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ยังพัฒนารูปแบบของจังหวะไปในแนวทางที่ต่างกันออกไป ดนตรีตะวันตกหลังศตวรรษที่ ๑๗ ใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นพื้นฐานของทำานองและเสียงประสาน แต่ดนตรีพื้นบ้านทางตะวันออกใช้บันไดเสียงเพนทาทอนิกที่มีโน้ตเพียง ๕ เสียง
๓) ดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมมักจะมีรูปแบบจังหวะและอัตราจังหวะที่ค่อนข้างเฉพาะ เช่น รูปแบบจังหวะที่เรามักได้ยินในเพลงเต้นรำาจากอเมริกาแตกต่างจากเพลงเต้นรำของอินเดีย
ดนตรีเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีบทบาทในชีวิตมนุษย์อย่างมากและถูกใช้หลากหลายรูปแบบ หน้าที่ของดนตรีเป็นทั้งสื่อกลางในการสื่อสาร ความบันเทิง สิ่งที่ปลอบประโลมจิตใจ ไปจนถึงใช้ในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความจำาเป็นของดนตรีที่มีต่อสังคมอย่างชัดเจน การสร้างสรรค์ทางดนตรีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมีหลายรูปแบบ ดังนี้
๑.๑ ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน (domestic music) เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่น เพลงที่ใช้ในงานประเพณี ไปจนถึงเพลงรักที่มีเนื้อหาในการเกี้ยวพาราสีนอกจากนี้ยังรวมถึงเพลงขับร้องระหว่างการทำางาน หรือสะท้อนวิถีชีวิตของอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงของชาวเรือ ไปจนถึงเพลงล่าสัตว์ในสมัยโบราณ การดีดคันธนูเพื่อล่อกวางเรนเดียร์ให้ออกมา จนวิวัฒนาการกลายมาเป็นเครื่องดนตรี
๑.๒ ดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม (ritualmusic) มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความรู้ร่วมที่มีต่อพิธีและสร้างบรรยากาศที่สงบ เช่น เพลงสวด (Chant) ของศาสนาคริสต์ในยุคกลาง ซึ่งเป็นดนตรีที่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อความบันเทิงและความไพเราะ หากแต่มีไว้เพื่อทำให้คำสวดมีพลังยิ่งขึ้นและทำให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์
เทคโนโลยีมีส่วนสำาคัญอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี ทั้งยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในหลายมิติ ในศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อเทคโนโลยีทางด้านการพิมพ์เริ่มเป็นที่แพร่หลาย สิ่งพิมพ์ทางดนตรีถูกผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำาให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงผลงานทางดนตรีในวงกว้างขึ้นหลังจากที่ถูกจำกัดอยู่ในแวดวงของนักบวชและชนชั้นสูงมาเป็นเวลานาน เพราะก่อนหน้านี้หนังสือที่บันทึกโน้ตเพลงจะมีราคาสูงมากและเป็นงานฝีมือที่ใช้แรงงานคนที่มีความชำนาญในการคัดลอก ตลาดของอุตสาหกรรมการพิมพ์มีขนาดใหญ่และมีความต้องการดนตรีที่เล่นเพื่อความบันเทิงในครัวเรือนอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีงานประพันธ์ที่แต่งและเรียบเรียงให้กับคนกลุ่มนี้อย่างมากมาย ทั้งยังทำาให้ดนตรีเกิดพัฒนาการในหลายด้านอีกด้วย
เทคโนโลยีที่ส่งผลถึงการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีโดยตรงอีกประการหนึ่งคือ เครื่องดนตรีที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมทางดนตรี เช่น เปียโนที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย Bartolomeo Critofori ในต้นศตวรรษที่ ๑๘ โดยเปียโนนั้นแตกต่างจากเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทอื่นตรงที่สามารถกำาหนดความดัง-เบาของโน้ตได้จากนำ้าหนักของนิ้วโดยตรงซึ่งสอดคล้องกับดนตรีสไตล์ใหม่ที่มีมิติของความหลากหลายในจุดนี้มากกว่าเดิม และตอบสนองความคิดสร้างสรรค์ของนักประพันธ์ได้มากขึ้น จึงทำให้ดนตรีสำาหรับคีย์บอร์ดในศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ มีพัฒนาการอย่างมาก
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีการบันทึกเสียงในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกัน เป็นสิ่งที่เปลี่ยนวิธีในการฟังดนตรีของผู้คนอย่างสิ้นเชิงเพราะจากนี้เราสามารถฟังดนตรีได้ทุกรูปแบบในบ้านของตัวเองโดยไม่ต้องไปถึงหอแสดงดนตรีที่สำาคัญคือสามารถฟังซำ้ากี่ครั้งก็ได้ ทำให้การฟังดนตรีซึ่งเคยเป็นประสบการณ์ร่วมกับผู้ชมคนอื่นกลายเป็นสิ่งที่มีความเป็นส่วนตัว การบันทึกเสียงสร้างประโยชน์ให้กับศิลปินจำานวนมาก เพราะพวกเขามีช่องทางเพิ่มขึ้นในการเผยแพร่งานของตัวเอง
ความเชื่อ มีความเชื่อของสังคมอยู่หลายประการที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยที่เห็นได้เด่นชัดก็คือ “ดนตรีไทยถือว่ามีครู” ดังนั้นจึงต้องทาพิธีไหว้ครูก่อนเมื่อจะฝึกหัดเล่นหลังจากพิธีไหว้ครูแล้วจึงจะถึงพิธี “ครอบ” หมายถึง การประสิทธิประสาทวิทยาการหรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาดนตรีนั้นๆ ได้ หากผู้ใดไม่กระทำจะพบกับอุปสรรคหรืออาจถึงแก่ชีวิต หรือในงานพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องการความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ก็จะต้องมีการบรรเลงดนตรีไทยประกอบด้วยหรือมี
ความเชื่อเกี่ยวกับตะโพนว่า “ตะโพนเป็นเครื่องดนตรี ศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์” ดังนั้น ก่อนจะเริ่มการบรรเลงจะต้องนำดอกไม้ และจุดธูปบูชาตะโพนก่อน ทุกครั้ง คนที่ไม่มีครูหรือคนที่มิใช่เป็นนักดนตรีจะมาตีเล่นไม่ได้ และห้ามมิให้ใครเดินข้ามตะโพนเพราะอาจได้รับอันตราย ทั้งนี้ในวันครูตะโพนจะได้รับการเจิมเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีบางอย่างจะเกี่ยวพันกับเทพยดา อาทิเช่น ชาวอีสานบางส่วนถือว่าเสียงแคนสามารถช่วย สื่อสารถึงแถนหรือเทวดาบนท้องฟ้าได้ หรือคนในท้องที่ภาคกลางบางแห่งถือว่า ถ้าจะเชิญเทพผู้ใหญ่หรืออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาในมณฑลพิธีจะต้องบรรเลงด้วยเพลงหน้าพาทย์สิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมยึดมั่นในระบบอาวุโส การมีสัมมาคารวะยึดถือความกตัญญูรู้คุณ ความมีระเบียบแบบแผน และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
นับเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ ซึ่งนอกจากความเชื่อในการนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังมีความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็มีการสร้างสรรค์เพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น ในศาสนาคริสต์ได้นำเพลงสวดมาขับร้องเพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆของพิธีแมส (Mass) หรือพิธีมิสซา (Missa) เป็นต้น ในส่วนศาสนาพุทธก็มีการดนตรีในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานศพ งานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น
การบรรเลงเพลงโหมโรงในพิธีกรรม เพลงโหมโรง คือ เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกหรือเรียกว่า “เบิกโรง” ก่อนการแสดงมหรสพต่าง ๆ เพื่อประกาศให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว นอกจากนั้นการบรรเลงเพลงโหมโรงยังมีประโยชน์ ดังนี้
ชนิดของเพลงโหมโรง