งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์

Medical Sciences Technical Office

การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32

พิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 7 มิถุนายน 2567

วันนี้ (7 มิถุนายน 2567) ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567“นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากแล็บสู่ชีวิต” พระราชทานพระดำรัสเปิดการประชุม พระราชทานโล่ที่ระลึก นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น นักวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นใหม่ DMSc Award อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ระดับชาติ โดยมีคณะผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหารและบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บุคลากรจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณุสข รวมถึงคณะบุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์  ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็คฟอรั่มเมืองทองธานี ที่มา Link: www3.dmsc.moph.go.th/post-view/2222 

              กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีแนวคิดหลักของการประชุม คือ  “นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากแล็บสู่ชีวิต Medical Sciences Innovations : From Lab to Life”  ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพด้านต่างประเทศ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนรับทราบ ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานวิชาการ ให้มีความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 

              นอกจากนี้ยังมีการบรรยายและนำเสนอผลงานวิชาการของผู้ได้รับรางวัล DMSc Award ประเภทงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ผลงานเรื่องThe Pilot Study of Immunogenicity and Adverse Events of a COVID-19 Vaccine Regimen : Priming with inactivated Whole SARS-CoV-2 Vaccine (CoronaVac)and Boosting with the Adenoviral Vector (ChAdOx1 nCov-19) Vaccine โดย ดร.นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประเภทหนังสือ/ตำราทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง“ประสาทวิทยาคลินิกพื้นฐานและการตรวจร่างกายทางระบบประสาท” (Basic Clinical Neurology and Neurological Examination)โดย รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาวิชาประสาทวิทยาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประเภทการพัฒนาบริการหรือพัฒนาคุณภาพบริการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่เรื่อง การพัฒนาระบบบริการชั้นเลิศการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดแบบเพิ่มจำนวนโรคเครือข่ายโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดย ดร.ทนพ.นพพร สวัสดิ์จุ้ย งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การบรรยายโดยผู้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นใหม่ เรื่องการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพตามมาตรฐานสากล โดย ดร.ศรายุธ ระดาพงษ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  การบรรยายโดยผู้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น เรื่องSuitability of Alternative ATP Assay for Lot Release BCG-172-1 Vaccines in Thailand: from Lab to WHO Network โดย ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการแพทย์แและผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงสู่มาตรฐานสากล โดย ดร.สุภาพร สุภารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การบรรยายโดย ผู้ได้รับรางวัลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนระดับชาติ เรื่อง สานพลังเครือข่าย อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน: บ้านนาม่วงโมเดล โดย นางสาวหนูจันทร์  หินแสงใส อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน จังหวัดอุดรธานี

              การประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดในรูปแบบ Onsite มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน ในงานมีการเปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักวิชาการ ได้มีเวทีนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ โดยเฉพาะในปีนี้นอกจากงานวิชาการในเชิงลึกแล้ว มีการเปิดเวทีให้งานประเภท Routine to Research หรือ R2R ที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในงานประจำมาร่วมนำเสนอผลงานด้วย ซึ่งมีผลงานที่ส่งเข้าร่วม 426 เรื่อง  แบ่งเป็นการนำเสนอผลงานวิชาการด้วยวาจา 47 เรื่อง โปสเตอร์ 211 เรื่อง และ R2R 168 เรื่อง รวมทั้งมีการสัมมนาทางวิชาการการเสวนา โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อาทิ ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม พรมมาส  เรื่อง วิจัยบ้านๆ กับการเปลี่ยนแปลง : R-to-R with the Great Impact โดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ธีระ ทองสง ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดการควบคุมการติดเชื้อ โดย ดร.โยชิฮารุ มัตสึอุระ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เรื่อง ความหลากหลาย ของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในเอเชีย โดย ดร.ยูกิฮิโระ อาเคดะ สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น เรื่อง การใช้ CAR-T Cell ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด โดย ศ.นพ.เจียนเซียง หวาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติโลหิตวิทยา ประเทศจีน, เรื่อง โมโนโคลนอลแอนติบอดีในการรักษาโรคไข้เลือดออก โดย ดร.เพ็ดดี เรดดี้ และ ดร.อนิรุธา โปเตย์ สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย 

เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมวิชาการฯ ครั้งที่ 32

รายชื่อผู้ชนะในการจัดงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผลการตัดสินผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ 36 เรื่อง ดังนี้
- ผลงานวิชาการด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) 

1. สาขาวิจัยและนวัตกรรมด้านโรค
    1.1 นายอภิชัย ประชาสุภาพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ  การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอดัดแปลงที่ทำหน้าที่ในการสร้างแอนติเจนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันวัณโรค
    1.2 นางสาวมธุริน สีเสน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Tetravalent Nanoparticle-Based Dengue Vaccine Activated Strong Cellular Immune Response in Mice 
    1.3 นางสาวชิดกมล ทูลคำรักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาเซนเซอร์เชิงเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจหาสารมัสคารีนในเห็ด เพื่อประกอบการวินิจฉัยภาวะอาหารเป็นพิษ
    1.4 นางสาวสุดารัตน์ วงศ์กิดาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง The First DMSc induced Pluripotent Stem Cells Derived from Blood Stem Cells Using Non-Integrating Episomal Vectors

2. สาขาด้านวิจัยและนวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค
    2.2 นายอคราพิชญ์ ศิริประภารัตน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง Development and validation for analysis of 144 pesticides in vegetables & fruits by high resolution LC-QTOF/MS technique
    2.3 นางสาวอังคนา ณรงค์ฤทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โลหะในน้ำด้วยเทคนิค ICP-MS
    2.4 นายธรณิศวร์ ไชยมงคล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Development and validation of analysis method for ethylene oxide residues in noodle, cereal, grain and products by GC-MS
    2.5 นายวรัญญู นาเชียงใต้ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณคีตามีนในปัสสาวะด้วยเทคนิค Online Solid Phase Extraction/Liquid Chromatography-Mass Spectrometry
    2.6 นางสาวปรียานุช บุตรมี สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Method verification of the modified Lowry assay for determination of protein in medical gloves

3. สาขาการประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ
    3.1 นางพรยุพา เตียงพัฒนะวงษ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงาน แบบบรรยาย เรื่อง การพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ต้นไม้การตัดสินใจเพื่อทำนายการเกิดภาวะนิวโรเล็พติก มาลิกแนนท์ ซินโดรมในผู้ป่วยจิตเวช
    3.2 นางสาวณัฐณิชา วันแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง Bioinformatics workflow for nanopore-based HLA class I analysis
    3.3 นางสาวอรวรรณ เขียวกลม สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การประเมินผลกระทบความเข้มสนามแม่เหล็กของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดชาร์จไร้สายต่อการทำงานเครื่องมือแพทย์ประเภทฝังร่างกาย
    3.4 นางสาวมัสตูรอ อาบู ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สระบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง คุณภาพทางจุลชีววิทยาของขนมกุยช่ายในจังหวัดนครนายก
    3.5 นางสาวพีรารินทร์ ปรางค์สุวรรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Escherichia coli ที่แยกได้จากน้ำและอาหาร

4. สาขาการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางห้องปฏิบัติการด้านระบบคุณภาพและความปลอดภัย
    4.1 นายไพรัตน์ จำบัวขาว โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง ประสิทธิผลของการส่งเสริมการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุสมผลในโรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
    4.2 นางศิริเนตร เรืองหน่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวรอ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง ระบบบริการด้วยการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    4.3 นางสาวปิติกาญจน์ กาญจนาพฤกษ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การสังเคราะห์วัตถุดิบและการผลิตสารมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฮโรอีน
    4.4 นางสาวกมลชนก แผ้วพลสง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาต้นแบบตัวอย่างทดสอบความชำนาญด้านจุลชีววิทยาในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยใช้จุลินทรีย์รูปผงแห้ง
    4.5 นางสาวนาตยา ศรีภัทราพันธุ์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง AI help you การใช้ AI ช่วยพัฒนากระบวนการค่าวิกฤตน้ำตาลปลายนิ้ว

-ผลงานวิชาการด้านพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
1.  สาขาระบบบริการห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
    1.1 นางสาวกัลยาณี ใฝบุญ โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
    1.2 นางสาววรรณวิษา สุกคุ้ม โรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ผลการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
    1.3 นายสุรสิทธิ์ คุ้มสุวรรณ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิท่ามกลางสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน
    2.1 นางสาวพรทิพย์ คล้ายจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาแก้ว ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self Sampling ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับใช้แรงสนับสนุนทางสังคมในตำบลเขาแก้ว
    2.2 นางสาวกาญจนา ศรีไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนา อสม.นักวิทย์ฯ ต้นแบบการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพในชุมชนยุคดิจิทัล
    2.3 นางสาวละไม บุษบรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ไชยาโมเดล จากดินสู่ดาว ความสำเร็จการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอไชยา

3. สาขาการบริการและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
    3.1 นางสาวชฎา ศาสตร์สุข โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่องการให้บริการตรวจ EGFR mutation ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิด NSCLC โรงพยาบาลพระปกเกล้า
    3.3 นางศิโรรัตน์ ชูสกุล โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบการบริการทางเภสัชกรรมเพื่อการใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมในผู้ป่วยในที่มีภาวะไตบกพร่อง โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
    3.4 นางสาววรรธนี สังข์หิรัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ห้องปฏิบัติการ พร้อมรับสถานการณ์ระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่ชายแดนใต้

4. สาขาด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์
    4.1 นายนิพนธ์ คล้ายอ่อน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง เครื่องมือกำหนดระยะการวัดในการทำศัลยกรรมเลื่อนกระดูกขากรรไกร
    4.2 นางพนอจิตต์ สุนทะโร โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบ การเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีเพื่อการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร
    4.3 นายณรงค์ศักดิ์ เชยชิด มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง เว็บแอปพลิเคชันสำหรับคำนวณค่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยและรายงานค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป

5. สาขาด้านบริหารจัดการและสนับสนุนบริการ
    5.1 นางสาวชาลินี รักษาเคน โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบคุณภาพ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วโดยใช้เว็บแอพลิเคชัน
    5.2 นายอิโณทัย ดำรงค์วุฒิ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง นวัตกรรมโปรแกรมการจัดการโครงการลดความแออัดในโรงพยาบาลบ้านหมี่
    5.5 นางสาวอรุโณทัย มนัสธรรมกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง นวัตกรรม “ระบบออกรายงานผลการตรวจคัดกรอง IEM โรคหายากในทารกแรกเกิด เขตสุขภาพที่ 10”

การบรรยายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32/2567

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแซฟไฟร์ 204 ชั้น 2 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี 

Live การบรรยาย สาขาการประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ (Risk Assessment and Health Threat Warning)

หัวข้อ “Academic Challenges on ATMPs: Regulatory Perspective”

• รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• ภก.ปรัชญา เจตินัย ผู้จัดการโรงงาน EC-ATMPs โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

• รศ.นพ.อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์  หัวหน้าศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดหน่วยโลหิตวิทยาและผู้ช่วยอธิการบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• ภก.มรกต ประภัสศิริพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงและชีววัตถุ กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

• ผู้ร่วมอภิปรายโดย ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ)  สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

LINK: https://web.facebook.com/share/v/fbyXLbfjVpG8zeyQ/ 

#ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่32

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแซฟไฟร์ 203 ชั้น 2 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี 

Live สาขาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และองค์กรทั้งภายในและต่างประเทศ (DMSc Collaboration)

หัวข้อ “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างประเทศ”

• ดร.สุวิทย์ มังคละ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

• นสพ.อธิวัฒน์ ปริมสิริคุณาวุฒิ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

• สพญ.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย รักษาการนายสัตวแพทย์ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค

• ผู้ร่วมอภิปรายโดย ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

LINK: https://web.facebook.com/share/v/nAE89J9TsVJX4jVd/

#ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่32

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแซฟไฟร์ 202 ชั้น 2 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี 

Live การบรรยายสาขาวิจัยและนวัตกรรมด้านโรค (Research and Innovation on Diseases) 

หัวข้อ “Congenital Hearing Loss: Multidisciplinary Management”

• Newborn Hearing Screening and Management of Hearing Loss 

โดย พญ.นภัสถ์ ธนะมัย กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้าน โสต ศอ นาสิก 

โรงพยาบาลราชวิถี กระทรวงสาธารณสุข 

• Genetic Aspect of Congenital Hearing Loss 

โดย ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

• Auditory and Speech Rehabilitation

โดย ดร.นิตยา เกษมโกสินทร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

• ผู้ร่วมอภิปรายโดย ดร.นวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

LINK: https://web.facebook.com/share/v/fbyXLbfjVpG8zeyQ/

#ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่32

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ชั้น 2 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี 

Live การบรรยายสาขาวิจัยและนวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค (Research and Innovation on Consumer Protection) 

หัวข้อ “Research & Innovation on Consumer Protection : From Lab to Life”

- เถ้าแก่น้อย "วัยรุ่นพันธุ์แลปสู่นวัตกรรมพันล้าน"

โดย ดร.วิสุทธิ์ วีระกุลพิริยะ ผู้อำนวยการสายงานประกันคุณภาพ บริษัท เถ้าแก่น้อยฟู้ด แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)

- ความท้าทายและโอกาสในการผลิตเครื่องวัดแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ 

โดย นายธนิต วิรัชพันธุ์ CEO, Total Digital Innovation Co., Ltd.

- Cosmetic Testing for Claims and Safety

โดย ผศ.ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

- Empowering Healthcare Through Customised Telehealth Solutions 

โดย นายธีรพงษ์ กงสบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอพาวเวอร์เมด จำกัด 

- ผู้ร่วมอภิปรายโดย ทนพญ.สิริภากร แสงกิจพร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ชีววิทยา) สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

LINK: https://web.facebook.com/share/v/CxjhfhkaKYvJ6VrX/

#ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่32

ภาพกิจกรรมในการจัดงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32/2567

LINK ภาพกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องฯ

ภาพกิจกรรมระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567                       คลิกเพื่อเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

ภาพกิจกรรมในพิธีเปิดการประชุมฯ วันที่ 7 มิถุนายน 2567  (เช้า)                         คลิกเพื่อเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

ภาพกิจกรรมในพิธีปิดการประชุมฯ วันที่ 7 มิถุนายน 2567  (บ่าย)                         คลิกเพื่อเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

ภาพข่าวในการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32/2567

เว็บไซต์การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์

“นายแพทย์ยงยศ” ปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567 มอบรางวัลผลงานวิชาการ R&D และ R2R

ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ธีระ ทองสง รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2567

กรมวิทย์ฯ เปิด 3 ผลงาน คว้ารางวัล DMSc Award

กรมวิทย์ ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวด “รางวัล DMSc Award” ผลงานวิชาการ และ R2R ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567

ข่าวในพระราชสัมนัก วันที่ 7 มิถุนายน 2567 

พิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ ๓๒

ภาพข่าวหน่วยงานอื่นๆ