Clip

งานนิทรรศการฯ

สำหรับภาคปฏิบัติ โปรดติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์และช่องทางไลน์ โครงการฯ (https://lin.ee/QkD5IHL ) ต่อไป

Clip Video
ประชาสัมพันธ์โครงการ

จากประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศไทย จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2564 พบว่าทั่วโลกมีผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 1,016 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 13) จากประชากรโลกจำนวน 7,713 ล้านคน องค์กรสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่าปี พ.ศ. 2582 จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลก การเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุ ทำให้มีความจำเป็นในการเรียนรู้เกี่ยวกับ “การดูแลผู้สูงอายุ” เพื่อที่จะดูแลตนเอง และดูแลบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อการประกอบอาชีพ ประกอบกับสังคมในยุคดิจิทัลและฐานวิถีชีวิตใหม่ การเรียนรู้สามารถเรียนผ่านสื่อดิจิทัลหรือออนไลน์ที่เอื้อให้ทุกคนทุกวัย ได้เรียนรู้ ได้ทุกเวลา และสถานที่ที่สะดวก ในรูปแบบของการเรียนรู้อยู่ที่ใดก็เรียนได้

นวัตกรรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ นักศึกษาพยาบาลและนักศึกษาสาธารณสุข และผู้สนใจ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุและสามารถนำความรู้ไปดูแลผู้สูงอายุและดูแลตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวได้

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ (TCU) ได้ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช) จัดทำ “นวัตกรรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุในสังคมจิจิทัล” ขั้นสูง ระดับ 4 จำนวน 420 ชั่วโมง ภายใต้รูปแบบการวิจัย โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญทิพย์ สิริธรังศรี รองศาสตราจารย์ ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี และคณะ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการวิจัย เพื่อให้ผู้สนใจทั้งที่เป็นผู้ดูแลสูงอายุ และผู้สูงอายุได้เรียนรู้เพื่อการดูแลตนเอง เรียนฟรีทั้งภาคทฤษฎีและทดลองปฏิบัติจากบทเรียนออนไลน์แบบเปิด (Massive Open Online Course, MOOC) จำนวน 200 ชั่วโมง แบ่งเป็น 7 หมวดวิชา รวม 14 รายวิชา โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และจากสถาบันอื่นๆ รวมทั้งนักวิชาการอิสระ เป็นต้น

หมายเหตุ: ปัจจุบันผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนภาคทฤษฎีของหลักสูตร ได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้ โดยจะไดัรับประกาศนียบัตรของแต่ละวิชาที่ผ่าน สำหรับภาคปฏิบัติ โปรดติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์และช่องทางไลน์ โครงการฯ (https://lin.ee/QkD5IHL ) ต่อไป

หมวดวิชาต่างๆ ได้แก่

หมวดวิชา 1
ความรู้ทั่วไปสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม (STOU021)

หมวดวิชา 2
ความรู้และทักษะ
ด้านการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ

หมวดวิชา 3
ความรู้และทักษะด้านการประเมิน
การปฐมพยาบาล
และการจัดการผู้สูงอายุในภาวะฉุกเฉิน

หมวดวิชา 5
ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี
เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการติดต่อสื่อสารและการสร้างสรรค์งานฯ (STOU035)

หมวดวิชา 6
บทบาทหน้าที่ กฎหมาย
และการจัดการการเงิน
สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ

หมวดวิชา 7 รายวิชาเลือกเสรีเพื่อการประกอบอาชีพ
จำนวน 3 รายวิชา จาก 3 กลุ่มวิชา ใน ThaiMOOC ดังนี้

1) กลุ่มที่ 1 Start up เลือกเรียน 1 รายวิชา

-รายวิชา stou.ccdkm010 พื้นฐานนักออกแบบแฟชั่นสำหรับชุมชน

-รายวิชา stou.ccdkm008 ธุรกิจบริการสปาและการประยุกต์งานแพทย์แผนไทย

-รายวิชา stou.ccdkm009 ศิลปะการปรุงอาหาร

2) กลุ่มที่ 2 ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร เลือกเรียน 1 รายวิชา

-รายวิชา stou.ccdkm001 สตาร์ทอัพอังกฤษ

-รายวิชา stou.ccdkm011 ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว

-รายวิชา stou.ccdkm012 ภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ

3) กลุ่ม 3 รายวิชาจากไต้หวัน เลือกเรียน 1 รายวิชา ที่เปิดสอนโดย ThaiMOOC ดังนี้

- รายวิชา ncku001 Elderly Care I หัวข้อที่ 1 Elder Spiritual Care (ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิญญาณและความทุกข์ )

- รายวิชา ncku003 Elderly Care III หัวข้อที่ 1 Assessment of Anxiety and Depression และหัวข้อที่ 4 Nutritional Care

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

200 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสูงอายุเพื่อการดูแลผู้สูงอายุและดูแลตนเอง โดยครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การจัดการการเงิน สังคม และสิทธิประโยชน์ รวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม

2. ผู้เรียนสามารถให้การดูแลผู้สูงอายุและดูแลตนเองในขอบเขตที่กำหนด และเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุต่อไป

3. ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตในการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นตามที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนด


คุณสมบัติผู้เรียน

1. นักเรียนและนักศึกษา ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการสถานดูแลผู้สูงอายุ

3. ประชาชนทุกวัยที่สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดผล

การทดสอบก่อนเรียน และกิจกรรมระหว่างเรียน หรือการร่วมอภิปราย (ไม่มีคะแนนให้ แต่กำหนดไว้เพื่อดูความก้าวหน้าของผู้เรียน)

1. การทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียนทุกบท (formative evaluation) คิดเป็นร้อยละ 60

2. การทดสอบหลังเรียนรวมเนื้อหาทุกบท (summative evaluation) คิดเป็นร้อยละ 40

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

เพิ่ม Line OA เป็นเพื่อนเพื่อติดตามข่าวสารต่างๆ

Link Line MOOC Elder Care>> https://lin.ee/QkD5IHL

ประชาสัมพันธ์บอกคนรู้จัก >> https://bit.ly/thaimooceldercare