สลายนิ่วที่ไต

(Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy)

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก


เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูงส่งผ่านผิวหนัง โดยควบคุมให้พุ่งตรงไปยังก้อนนิ่วเพื่อกระแทกให้นิ่วแตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆจนกลายเป็นผงเพื่อให้หลุดไหลออกมากับปัสสาวะ นับเป็นเทคโนโลยีการสลายนิ่วที่ไม่มีการรุกล้ำร่างกายของผู้ป่วย จึงไม่มีบาดแผล ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ มีความปลอดภัยสูงและผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพักค้างรักษาตัวในโรงพยาบาล


ข้อบ่งชี้ในการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก ส่วนใหญ่ใช้รักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะนิ่วในไตและท่อไต แต่มักไม่ใช้รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โดยผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดท้อง ปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต

  • การปัสสาวะผิดปกติคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีเลือดปน

  • ปัสสาวะไม่ออกหรือออกกะปริดกะปรอย คือปัสสาวะไหลๆ หยุดๆ

  • มีเม็ดนิ่วลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ

  • มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้ร่วมด้วย

เมื่อตรวจวินิจฉัยพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยสมควรเข้ารับการรักษาด้วยการสลายนิ่วหรือไม่ โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งและขนาดของนิ่ว ความแข็งของนิ่ว การอักเสบหรือบวมของไต รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยว่าสามารถรับคลื่นกระแทกจากการรักษาได้มากน้อยเพียงใด


การเตรียมตัวก่อนการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก

  • มารับการรักษาตามนัด หากมีความผิดปกติก่อนวันนัด เช่น มีไข้ มีอาการปวดมาก ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ

  • ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานมากจนอิ่มเกินไป

  • ยาประจำตัวทุกชนิด ให้รับประทานยาได้ตามปกติ เว้นแต่ยามีฤทธิ์ห้ามการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน หรือ วาฟาริน ซึ่งต้องงดก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือตามคำสั่งแพทย์

  • ควรนอนพักผ่อนเพียงพอในคืนก่อนมาสลายนิ่ว


ข้อจำกัดการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก

  • นิ่วมีขนาดใหญ่เกินไป กล่าวคือนิ่วในไตมีขนาดเกิน 2 เซนติเมตร และนิ่วในท่อไตมีขนาดเกิน 1-1.5 เซนติเมตร

  • ผู้ป่วยมีภาวะอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาให้หายขาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้การติดเชื้อแย่ลง

  • ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกผิดปกติ

  • ผู้ป่วยมีปัญหาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขก่อนเพื่อให้เศษนิ่วสามารถผ่านออกไปทางปัสสาวะได้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์

  • ปัสสาวะเป็นสีแดง มีเลือดปน แต่จะค่อยๆ จางหายไปได้เองหลังการปัสสาวะ 2-3 ครั้ง

  • มีการอักเสบติดเชื้อเพิ่มขึ้นในรายที่มีการติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

  • มีอาการปวดท้องในกรณีที่มีเศษนิ่วตกมาอุดตันในท่อไต แต่โดยทั่วไปเศษนิ่วเหล่านี้จะหลุดมาได้เอง

  • อวัยวะข้างเคียง เช่น ลำไส้ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำบอบช้ำเล็กน้อย


การปฏิบัติตัวหลังสลายนิ่ว

  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับนิ่วออกมาทางปัสสาวะ

  • รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์

  • มาตรวจตามนัดตามแผนการรักษาของแพทย์มีอาการปวดท้องในกรณีที่มีเศษนิ่วตกมาอุดตันในท่อไต แต่โดยทั่วไปเศษนิ่วเหล่านี้จะหลุดมาได้เอง

  • อวัยวะข้างเคียง เช่น ลำไส้ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำบอบช้ำเล็กน้อย