ไส้เลื่อนในผู้ใหญ่

โรคไส้เลื่อน (hernia)

ไส้เลื่อน(hernia) คือภาวะที่อวัยวะหรือบางส่วนของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ลำไส้(bowel) หรืแผ่ไขมัน(omentum) ยื่นออกจากช่องท้องผ่านทางกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือมีรูเปิดผิดปกติไปยังตำแหน่งอื่นซึ่งอาจเป็นตำแหน่งใดก็ได้ในส่วนท้องตั้งแต่เหนือสะดือลงมาจนถึงใต้ขาหนีบ โดยผู้ป่วยส่วนใหญจะมีก้อนนูนออกมาสามารถคลำพบได้โดยง่าย


ชนิของไส้เลื่อน

•ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ(inguinal hernia) : เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบมากที่สุด และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

•ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ(femoral hernia) : พบได้ค่อนข้างน้อยและมักพบเฉพาะในผู้หญิง

•ไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัด(incisional hernia) : เป็นไส้เลื่อนที่เกิดกับผู้ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดภายในช่องท้องมาก่อน

•ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ(umbilical hernia) : มักพบในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ชั้นของผิวหนังยังปิดไม่สนิท แต่ไส้เลื่อนสะดือยังสามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้

•ไส้เลื่อนกระบังลม(hiatal hernia) : เกิดจากการที่ผนังกระบังลมหย่อนยานหรือมีช่องเปิดในกระบังลมแต่กำเนิด ทำให้กระเพาะอาหารส่วนบนเคลื่อนขึ้นไปยังบริเวณช่วงอก เป็นภาวะไส้เลื่อนที่พบได้ในผู้สูงวัย

•ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน(obturator hernia) : เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้น้อยมากและมีความรุนแรงค่อนข้างมาก มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะผู้หญิงสูงวัยที่มีรูปร่างผอมบาง


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน

ปัจจัยเสริมที่ทำให้อวัยวะเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมผ่านผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือมีรูเปิดผิดปกติ ได้แก่ แรงดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอ

  • โรคอ้วน และภาวะน้ำหนักเกิน

  • การตั้งครรภ์

  • การยกของหนักเป็นประจำ

  • การเบ่งถ่ายงอุจจาระเป็นประจำเนื่องจากท้องผูก

  • ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ

  • มีของเหลวในช่องท้อง เช่น เกิดจากการที่ตับมีปัญหา


อาการของโรคไส้เลื่อน

อาการหลักของโรคไส้เลื่อนคือคลำพบก้อนนูนในบริเวณที่เกิดโรค เช่น ในกรณีของผู้ป่วยไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบจะมีก้อนนูนด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกเชิงกรานหรือขาหนีบ และถ้านอนลงจะสามารถดันให้กลับเข้าไปในช่องท้องได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกปวดบริเวณก้อนโดยเฉพาะขณะก้มตัว ยกสิ่งของ และไอจาม หรือมีอาการอัณฑะบวมและปวด สำหรับอาการที่ผู้ป่วยไส้เลื่อนต้องมาพบแพทย์ทันที ได้แก่ ปวดบริเวณที่เป็นไส้เลื่อน ไม่สามารถดันก้อนนูนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ ปวดท้อง ท้องอืด ไม่อุจจาระ ไม่ผายลม คลื่นไส้ อาเจียน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไส้เลื่อนติดคาไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จะทำให้ลำไส้ขาดเลือดและเน่าตายจะต้องได้รับการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน


การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน

สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยมักมีก้อนนูนที่คลำพบได้โดยเฉพาะขณะยืน ยกสิ่งของ หรือไอจามซึ่งแพทย์จะคลำพบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น

สำหรับไส้เลื่อนชนิดที่มองเห็นไม่ชัดหรือคลำจากภายนอกไม่พบ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเช่น แพทย์อาจใช้วิธีส่องระบบทางเดินอาหาร อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า( MRI) เป็นต้น


การรักษา

วิธีหลักในการรักษาโรคไส้เลื่อนคือ การผ่าตัด โดยความเร่งด่วนในการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนูนและอาการของผู้ป่วยว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgery) ผู้ป่วยจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบหรือทำให้ชาเฉพาะที่ โดยแพทย์จะทำการผ่าบริเวณที่มีก้อนนูนเพื่อดันส่วนที่เคลื่อนออกมาให้กลับเข้าไปยังตำแหน่งเดิม แล้วเย็บซ่อมจุดที่อ่อนแอพร้อมใส่วัสดุสังเคราะห์ลักษณะคล้ายตาข่าย (surgical mesh) เพื่อเสริมความแข็งแรง แล้วจึงเย็บปิดแผล การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บแผล

2.การผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic surgery)โดยจะทำผ่านรูเล็กๆ ที่เจาะเข้าทางหน้าท้อง และทำการซ่อมแซมไส้เลื่อน ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ให้ผลดีกับผู้ป่วยหลายประการ เช่น รอยแผลเป็นจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยลง ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง และฟื้นตัวเร็วขึ้น


ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (ต้องดมยาสลบ)


ผ่าตัดแบบเปิด (ชนิดผ่าตัดวันเดียวกลับ)


การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ดังนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

  2. รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีเพื่อป้องกันท้องผูกและการเบ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ

  3. หลีกเลี่ยง หรือระมัดระวังเมื่อต้องยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์

  4. หากมีอาการไอเรื้อรัง ต้องรักษาให้หายขาด

  5. งดสูบบุหรี