ภาษีต้องห้าม

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด คงจะคุ้นเคยกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Valu Added Tax : Vat) ที่จะเป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้า บริการและการนำเข้า ในอัตราร้อยละ 7 เปอร์เซ็น สำหรับการส่งออกร้อยละ 0 เปอร์เซ็น ซึ่งผู้ประกอบการรายไหนที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี (บุคคลธรรมดาก็เช่นกัน) ต่อรอบระยะเวลาบัญชีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า แต่มีภาษีอีกประเภทที่เอาไปทำการคืนภาษีไม่ได้นั่นคือ “ภาษีต้องห้าม” บทความนี้จะชวนมาทำความเข้าใจกับภาษีประเภทนี้ให้มากขึ้น 

ความหมายของภาษีต้องห้ามคืออะไร

ภาษีต้องห้าม (Prohibited purchase tax) คือ ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ เรียกแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ นำไปขอคืนภาษีซื้อไม่ได้ ตามกฎหมายก็มีการกำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรเอาไว้แล้ว ซึ่งปกติหากมีภาษีซื้อเราก็เอาไปหักออกจากภาษีขายในมุมผู้ประกอบการ 

ก็เหมือนกับการได้คืนภาษีแต่ถ้าไม่มีภาษีซื้อก็ต้องส่งภาษีขายทั้งหมดให้กับทางกรมสรรพากร แต่มันก็ไม่ใช่ว่าการซื้อสินค้าและบริการเยอะแล้วจะคืนภาษีได้ เพราะว่าในภาษีซื้อบางแบบก็เอามานักภาษีขายไม่ได้ก็จะเรียกว่าเป็นภาษีต้องห้ามอย่างที่ทราบกันนั่นเอง ลักษณะภาษีซื้อต้องห้ามนั้นมีอะไรบ้างมาติดตามกันเลย

ลักษณะภาษีซื้อต้องห้ามที่นำไปขอคืนภาษีไม่ได้

มีหลายกรณีเหมือนกันที่ภาษีซื้อเป็นภาษีต้องห้าม โดยหลัก ๆ แล้วจะมีตาม 6 ข้อด้านล่างนี้ ก่อนจะทำบัญชีภาษียื่นแก่ทางกรมสรรพากรก็อย่าลืมดูว่ามียอดการซื้อไหนบ้างที่เอาไปหักออกจากภาษีขายไม่ได้จะได้แยกออกมาได้ ในแต่ละกรณีมีอะไรบ้างดังนี้

1. กรณีที่ไม่มีใบกำกับภาษี มีแต่สูญหายไปแล้วหรือมีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้

กรณีที่ไม่มีใบกำกับภาษี เพราะผู้ขายนั้นไม่ออกให้หรือออกแต่ว่าระบุชื่อคนอื่น ก็เป็นภาษีต้องห้ามแล้ว หรือจะเป็นในกรณีสูญหายหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ เป็นกรณีที่ซื้อสินค้าหรือบริการจริงแต่ไม่สามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรได้ แก้ไขโดยการร้องขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอคืนภาษีก็ได้

2. ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ในส่วนสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด

ก็หมายความว่าจะต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเท่านั้น และต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรครบถ้วน หากมีไม่ครบสมบูรณ์ก็จะเป็นภาษีต้องห้ามหรือภาษีซื้อต้องห้ามไป ฉะนั้นแล้วผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบรายละเอียดทุกครั้ง

3.  ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม

ต่อให้มีใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง ข้อมูลครบแต่ว่าเป็นการซื้อของหรือจ่ายให้กับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการก็จะเอามาใช้ไม่ได้ เช่น หากคุณทำธุรกิจค้าขายเครื่องสแตนเลสแต่ในใบกำกับภาษีนั้นระบุเป็น ค่านมผง ค่าขนม ค่าอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกันเลยแบบนี้ก็เอามาเป็นภาษีซื้อไม่ได้

4. การจ่ายเพื่อรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

ซึ่งจะเป็นค่ารับรอง ค่าบริการ ค่าอำนวยความสะดวกแก่แขกของกิจการ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เอามาขอคืนภาษีไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าของขวัญ เป็นต้น ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลอื่นทั้งหมด เลยกลายเป็นภาษีต้องห้ามไปเช่นกัน

5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออก

แม้ว่าใบกำกับภาษีที่ได้มานั้นจะเป็นแบบเต็มก็ตามแต่ออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิในการออกใบกำกับภาษี ก็นำมาเป็นภาษีซื้อไม่ได้ เอามาหักออกจากภาษีขายเพื่อขอคืนภาษีไม่ได้เหมือนเดิม ซึ่งคนที่ไม่มีสิทธิในการออกใบกำกับภาษีนั้นก็จะเป็น 

นอกจากกรณีของใบกำกับภาษีที่จะต้องเป็นแบบเต็มครบถ้วนหรือตามเงื่อนไขข้างต้นที่กำหนดนี้ ก็ยังมีรายจ่ายอีกหลายอย่างเลยที่กลายเป็นภาษีต้องห้าม มันค่อนข้างจะยิบย่อยพอสมควร คนที่ทำธุรกิจหรือเป็นเจ้าของกิจการนั้นจะต้องใส่ใจในรายละเอียดการทำบัญชีภาษีเหล่านี้ให้ดี ย้ำอีกครั้งว่ามันไม่ใช่การซื้อหรือจ่ายทุกอย่างที่จะนำมาหักภาษีขายได้ หากไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ทางสรรพากรกำหนดก็ต้องยื่นทั้งหมดเช่นเดิม

รายจ่ายต้องห้ามทางภาษีมีอะไรบ้าง

เอาหลัก ๆ เลยการใช้จ่ายอะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการเลยนั่นคือภาษีต้องห้ามแน่นอน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นก็ให้เห็นเป็นประเด็นไปใน 8 ข้อนี้ ลองศึกษาดูจะได้ไม่ทำผิดเงื่อนไขและระเบียบของบริษัทและไม่ผิดเงื่อนไขที่ทางกรมสรรพากรกำหนดด้วย ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายตามนี้

1. เป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

เป็นเรื่องส่วนตัวล้วน ๆ จะเอามาหักภาษีไม่ได้ อย่างค่าน้ำมัน ค่าช่วยเหลืองานบุญต่าง ๆ แก่พนักงาน ก็เอามาไม่ได้ เพราะว่าในระเบียบบริษัทไม่มีบบนี้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นแบบส่วนตัว เกิดขึ้นตามอำเภอใจ หากมีงานบุญ งานศพอะไรเกิดขึ้นก็ควรมีระบุในระเบียบบริษัทให้ชัดเจนว่าจะช่วยเหลือเท่าไหร่

2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าเกินโควตา

จริง ๆ บริษัทก็จะมีงบสำหรับการรับรองลูกค้าอยู่เหมือนกัน อาจจะอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 บาท/หัว หากเกินก็จะเอาไปหักภาษีไม่ได้เรียกว่าเกินโควตาแล้วนั่นเอง ซึ่งรายจ่ายเหล่านี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย เพดานก็จะอยู่ที่สูงสุด 10 ล้านบาท แม้ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าก็จริงกว่าจะปิดดีลได้แต่ว่าก็พยายามอย่าให้เกินเพดาน หากเกินก็เป็นภาษีต้องห้ามแล้ว

3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ

ดูเหมือนจะเป็นรายจ่ายที่งง ๆ สักหน่อยอะไรคือไม่มีผู้รับ ก็คือเป็นรายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเราซื้ออะไรไป เราซื้อกับใคร จ่ายให้ใคร ส่วนมากบริษัทขนาดเล็ก มักจะมีแบบนี้ เช่น การจ้างวินรับจ้างไปส่งเอกสารให้ ซึ่งเขาก็ออกใบเสร็จให้เราไม่ได้นั่นเอง รายจ่ายตรงนี้หรือประมาณนี้เลยเอามาหักภาษีไม่ได้ด้วย

4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

แน่นอนว่าเป็นรายจ่ายของบริษัทที่เราต้องจ่ายแก่ทางสรรพากร แต่ว่าก็ไม่เอามานับ เพราะว่าบริษัทจะต้องมีเงินส่วนที่จะต้องเก็บไว้เพื่อการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ทำกันแบบนี้ ยกตัวอย่าง หากขายสินค้าหรือบริการได้ 100 บาท ก็จะเข้าบริษัทจริง ๆ 93 บาท ส่วนอีก 7 บาท เอาไว้เป็นค่าภาษี รายจ่ายส่วนนี้เลยไม่นับรวมก็เป็นภาษีต้องห้ามไป

5. รายจ่ายที่จ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก

ในหลายที่อาจจะมีการซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทแม่บริษัทลูกของตัวเองไปมา แน่นอนว่ามันคือรายจ่ายออกไปจริง ๆ แต่ว่าในทางกฎหมายแล้วมันก็อยู่ในบริษัทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแม่หรือลูกในทางภาษีมันคือที่เดียวกัน เงินยังไหลเวียนในบริษัทอยู่ดีก็เอาไปหักภาษีไม่ได้ แม้ว่าจะลงเป็นรายจ่ายของบริษัทปกติก็ตาม

6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

หลายองค์กรอาจจะมีทรัพย์สินในรูปแบบของอสังหาริมทรัพย์ แต่ทางบัญชีทั่วไปนั้นจะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหา ฯ นั้นตลอดเพื่อให้เห็นถึงมูลค่าที่เป็นปัจจุบันว่ามากขึ้นหรือลดลง หากลดลงทางบัญชีปกติก็อาจจะถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ 

เพื่อแสดงว่าทรัพย์สินของบริษัทลดลง แต่ว่าในทางภาษีแล้วเป็นภาษีต้องห้าม เพราะว่ายังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นเกิดขึ้นและการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่ตายตัวด้วย เลยเอามาหักภาษีไม่ได้

7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป

สำหรับข้อนี้อาจจะเฉพาะบริษัทที่มีรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ อย่างทำธุรกิจขุดแร่ ตัดไม้ แม้มันจะลดลงปกติอยู่แล้วจากการขุดมาใช้ แต่ว่าในทางบัญชีทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณปกติ แต่ว่าในทางภาษีก็เป็นภาษีต้องห้ามเหมือนเดิม เพราะว่ามันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนว่าการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปนั้นแค่ไหน หากนำไปหักภาษีได้ก็อาจจะมีการประเมินที่เกินจริงไปอีก

8. ค่าปรับ

ในบางครั้งก็จะมีการต้องจ่ายค่าปรับ ไม่ว่าจะผิดน้อยหรือมากค่าปรับก็เกิดขึ้นได้ แต่ว่าเงินที่เสียค่าปรับไปนั้นคิดเป็นรายจ่ายทางบัญชีก็จริง แต่ว่าก็ยังเอามาหักภาษีไม่ได้นะ เพราะว่าสรรพากรมองเป็นภาษีต้องห้ามแล้วเพราะรายจ่ายนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจแต่ว่ามันเกิดจากการทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐนั่นเอง


บทสรุป

ภาษีต้องห้ามนั้นแทบทุกสถานประกอบการทุกบริษัทจะเกิดขึ้นได้ตลอด เพราะว่ารายจ่ายบางอย่างเราก็หาหลักฐานใบกำกับภาษีมาไม่ได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมรายจ่ายได้ก็พยายามซื้อของกับร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและอยู่ลืมตรวจสอบใบกำกับภาษีแบบเต็มอย่างละเอียด พร้อมทั้งพยายามอย่าให้มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก็จะลดการเกิดเป็นภาษีต้องห้ามในทางภาษีได้แล้ว