โครงการชวนปลูก ชวนทำ น้อมนำหลักพอเพียง

ชื่อโครงการ

โครงการชวนปลูก ชวนทำ น้อมนำหลักพอเพียง


ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/นโยบายรัฐบาล

หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานคระกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้อนุมัติและให้โอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 โครงการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสนองพระราชดำริ แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและส่งเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้กับวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ปัตตานี นั้น

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญในการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวแนวพระราชดำริต่างๆของพระองค์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์โดยเชื่อมโยงกับความรู้จากงานโครงการชวนปลูก ชวนทำ น้อมนำหลักพอเพียง มาบูรณาการสู่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา ต่อไป


วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระบรมราโชบายด้านกาศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวแนวพระราชดำริต่างๆของพระองค์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์โดยเชื่อมโยงกับความรู้จากงานโครงการส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลการทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา ให้ความสำคัญกับการปลุกผัก สร้างอาหารเองได้

2. เพื่อสร้างความตระหนัก รู้และเข้าใจการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ชีวิตประจำวัน

3. เพื่อส่งเสริมให้ ครู และบุคคลการทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา รักและเข้าใจ หลักการในการปลูกผัก ทำปุ๋ยหมักได้ด้วยตัวเอง

4.เพื่อสร้างบรรยากาศพื้นที่สีเขียว ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน ในสถานศึกษา

5. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ ฐานเศรษฐกิจพอเพียง และจุดพักผ่อนหย่อนใจด้วยสวนผักปลอดสาร


กลุ่มเป้าหมาย

ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษาที่มีจิตอาสาร่วมโครงการ จำนวน 50 คน


งบประมาณที่ได้รับ

40,000 บาท

ผลการดำเนินงาน

1. สนองพระบรมราโชบายด้านกาศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวแนวพระราชดำริต่างๆของพระองค์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์โดยเชื่อมโยงกับความรู้จากงานโครงการส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลการทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา ให้ความสำคัญกับการปลุกผัก สร้างอาหารเองได้

2. สร้างความตระหนัก รู้และเข้าใจการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ชีวิตประจำวัน

3. ส่งเสริมให้ ครู และบุคคลการทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา รักและเข้าใจ หลักการในการปลูกผัก ทำปุ๋ยหมักได้ด้วยตัวเอง

4. สร้างบรรยากาศพื้นที่สีเขียว ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน ในสถานศึกษา

5. สร้างแหล่งเรียนรู้ ฐานเศรษฐกิจพอเพียง และจุดพักผ่อนหย่อนใจด้วยสวนผักปลอดสารและสวยงาม


ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ